posttoday

สมุนไพรไทยในตลาดโลก

14 เมษายน 2561

โดย...รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช   ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561 ผมได้รับเชิญจากกระทรวงสาธารณสุขให้ไปบรรยาย เรื่อง "ยุทธศาสตร์สมุนไพรไทยโอกาสการตลาดสมุนไพรไทย" ในงานประชุมวิชาการสมุนไพรแห่งชาติ โดยมีชื่องานประชุมวิชาการว่า "ศักยภาพสมุนไพรษสร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน" โดยร่วมกับวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ กิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ บังอร เกียรติธนากร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกิตติวัฒน์ ได้พูดถึงกิจกรรมของกรมส่งเสริมฯ ที่ได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกบูธและงานแสดงสินค้าในต่างประเทศและมาตรฐานสินค้าที่ไทยต้องทำ เช่น ในตลาดจีนต้องทำมาตรฐาน CFDA (China Food and Drug Administration) และ SFDA (State Food and Drug Administration) ในตลาดสหรัฐต้องทำมาตรฐาน FDA และ USDA Organic ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหากต้องการส่งสินค้าไปตลาดโลกต้องทำมาตรฐาน GMP ฮาลาล และเครื่องหมาย T-Mark ขณะที่ตลาดอาเซียนต้องทำมาตรฐาน ASEAN GMP หรือ  GMP PIC

โดย...รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช   ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2561 ผมได้รับเชิญจากกระทรวงสาธารณสุขให้ไปบรรยาย เรื่อง "ยุทธศาสตร์สมุนไพรไทยโอกาสการตลาดสมุนไพรไทย" ในงานประชุมวิชาการสมุนไพรแห่งชาติ โดยมีชื่องานประชุมวิชาการว่า "ศักยภาพสมุนไพรษสร้างเศรษฐกิจไทยยั่งยืน" โดยร่วมกับวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ กิตติวัฒน์ ปัจฉิมนันท์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และ บังอร เกียรติธนากร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

กิตติวัฒน์ ได้พูดถึงกิจกรรมของกรมส่งเสริมฯ ที่ได้สนับสนุนผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างต่อเนื่อง เช่น การออกบูธและงานแสดงสินค้าในต่างประเทศและมาตรฐานสินค้าที่ไทยต้องทำ เช่น ในตลาดจีนต้องทำมาตรฐาน CFDA (China Food and Drug Administration) และ SFDA (State Food and Drug Administration) ในตลาดสหรัฐต้องทำมาตรฐาน FDA และ USDA Organic ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหากต้องการส่งสินค้าไปตลาดโลกต้องทำมาตรฐาน GMP ฮาลาล และเครื่องหมาย T-Mark ขณะที่ตลาดอาเซียนต้องทำมาตรฐาน ASEAN GMP หรือ  GMP PIC/S (Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme)  เป็นต้น

ส่วน บังอร ได้บรรยายเรื่องตลาดส่งออกสมุนไพรไทยในตลาดโลกและใครเป็นใครในตลาดโลก ก่อนจบการสัมมนามีผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ถามคำถามว่า "ไทยควรวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยในตลาดต่างประเทศอย่างไร" ผมได้ถือโอกาสตอบบนเวทีว่าหากเป็นตลาดจีน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สามารถทำตลาดได้คือ กลุ่มสินค้าสมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับสปาและกลุ่มยาอม ยาลม และยาหม่อง รวมถึงครีมทาหน้าทาผิว เพราะปัจจุบันจีนนำเข้าจากเกาหลีและญี่ปุ่น เป็นต้น และไทยต้องเจรจากับจีนเรื่องการอนุมัติให้หมอนวดแผนโบราณไทยเข้าไปทำงานในจีนได้เกิน 1 เดือน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ตลาดจีนไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะรัฐบาลจีนค่อนข้างจะปกป้องอุตสาหกรรมสมุนไพรของประเทศ สินค้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรของไทยส่วนใหญ่ขายในตลาดออนไลน์และในร้านสปาไม่สามารถหาซื้อได้จากห้างร้านต่างๆ

ส่วนในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะประเทศ CLMV ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเกือบทุกชนิดมีโอกาสทำตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสริมสวยความงาม เพราะ CLMV สามารถดูและติดตามทีวีจากไทย สินค้าสมุนไพรที่โฆษณาจะทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคใน CLMV นอกจากนี้ประเทศ CLMV นิยมการรักษาสุขภาพด้วยยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงเป็นเรื่องไม่ยากนักที่จะทำตลาดสมุนไพร

ส่วนตลาดอินเดีย ผมคิดว่าอาจจะเจาะลำบาก เพราะอินเดียสามารถมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้หลากหลาย และมีราคาถูกด้วย สิ่งที่เราสามารถทำมาค้าขายกับอินเดีย คือ การส่งวัตถุดิบสมุนไพรไปยังตลาดอินเดีย รวมทั้งเชิญชวนนักลงทุนอินเดียมาตั้งโรงงานแปรรูปในไทย แต่ต้องใช้วัตถุดิบสมุนไพรไทย

ผมยังได้บรรยายต่อว่า หากไทยต้องการขยับผลิตภัณฑ์ต้องทำดังต่อไปนี้ 1.ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยควรมีพื้นที่วางขายให้กับท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเที่ยวเมืองไทยได้เห็นและได้ทดลองใช้ตามร้านค้าต่างๆ ในเมืองไทย 2.ไทยควรมีตลาดนัดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อให้เกิดการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายทุกระดับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องสร้างความมั่นใจให้เกิดกับผู้ใช้คนไทยก่อนว่าผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยใช้แล้วดีจริง 3.โรงพยาบาลต้องสนับสนุนให้มีการใช้ยาสมุนไพรให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน เหมือนกับที่ประเทศจีนทำ ในขณะนี้ที่มีโรงพยาบาลรักษาด้วยยาสมุนไพรและโรงพยาบาลที่มีการรักษาทั้งแผนปัจจุบันและสมุนไพร 4.ตั้งมหาวิทยาลัยแพทย์แผนไทยเพื่อผลิตบุคลากรที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมุนไพรไทยเหมือนมหาวิทยาลัย "Guangzhou University of Chinese Medicine" ของจีน 5.ลองดูการพัฒนาสมุนไพรของเมียนมา หรือสร้างอัตลักษณ์ของสมุนไพรไทยกับเมียนมา เช่น "ทานาคา" กับไพลของไทยเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมนวดแบบสเปรย์ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย แพร่ น่าน และพะเยา) น่าจะเป็นอีกโอกาสของสมุนไพรของสองประเทศในตลาดโลก