posttoday

โลกร้อนทำพิษ! แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ เสียหายไปแล้ว 2 ใน 3

29 พฤศจิกายน 2559

แนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับภาวะฟอกขาวอย่างรุนแรง บางส่วนของแนวปะการังได้ตายลง อันเป็นผลจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

แนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับภาวะฟอกขาวอย่างรุนแรง บางส่วนของแนวปะการังได้ตายลง อันเป็นผลจากน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น

อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบให้แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ ความยาวกว่า 700 กิโลเมตร ในออสเตรเลียได้รับความเสียหายอย่างหนัก และกำลังเผชิญกับภาวะฟอกขาว

ทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา แนวปะการังกว่า 2 ใน 3 ได้ตายลงแล้ว ความเสียหายทางระบบนิเวศวิทยาที่เกิดขึ้นครั้งนี้นับเป็นความเสียหายขั้นรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นมากับแนวปะการังดังกล่าว โดยเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นักวิทยาศาสตร์ออกมายืนยันในวันนี้ (29 พฤศจิกายน) ต่อข่าวความเสียหายที่เกิดขึ้นกับแนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือแนวปะการังทางตอนเหนือเสียหายไปแล้วกว่า 67% ทางตอนกลางอีก 6% และแนวปะการังทางตอนใต้ได้รับผลกระทบเพียง 1%

โลกร้อนทำพิษ! แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ เสียหายไปแล้ว 2 ใน 3

แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของออสเตรเลีย ที่นีมีนักท่องเที่ยวจำนวน 70,000 คนเดินทางมาเยี่ยมชมความสวยงามของธรรมชาติในทุกๆปี สร้างรายได้ให้แก่ประเทศกว่าปีละ 5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

สหประชาชาติเคยยกให้แนวปะการังแห่งนี้เป็นมรดกโลกทางชีววิทยา ที่นี่เป็นบ้านของสิ่งมีชีวิตมากกว่า 1,600 สายพันธุ์

โลกร้อนทำพิษ! แนวปะการังเกรท แบร์ริเออร์ รีฟ เสียหายไปแล้ว 2 ใน 3

ภาวะฟอกขาวของปะการังเกิดจากการที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง และทำหน้าที่สังเคราะห์แสง เพื่อสร้างอาหาร รวมทั้งสร้างสีสันให้แก่ปะการัง เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลงปะการังจึงมีสีซีด ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย เช่นอุณหภูมิของน้ำเป็นสาเหตุของภาวะดังกล่าว

ตั้งแต่ปี 2014 เป็นต้นมามีรายงานพบการเกิดปะการังฟอกขาวในหลายพื้นที่ทั่วโลก เช่นแนวปะการังฮาวาย ไปจนถึงบาฮามัส หรือในมหาสมุทรอินเดีย และอินโดนีเซียเองเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นต่อปะการังเหล่านี้กำลังเป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการกู้คืนปะการังดังกล่าวอาจใช้เวลานาน 10 - 15 ปี