posttoday

พบค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

13 มกราคม 2559

พบค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ สัตว์อนุรักษ์ใกล้สูญพันธุ์ ที่ขอนแก่น เล็งขยายต่อยอดเป็นพื้นที่คุ้มครองสัวต์ป่าสงวนหายากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

พบค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ สัตว์อนุรักษ์ใกล้สูญพันธุ์  ที่ขอนแก่น เล็งขยายต่อยอดเป็นพื้นที่คุ้มครองสัวต์ป่าสงวนหายากอีกแห่งหนึ่งของประเทศ
 
นายพงศ์เลิศ ศิริบูรณ์ นักวิชาการประจำสวนพฤษศาสตร์ อ.พล จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า พบค้างคาวตัวขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามคล้ายผีเสื้อ บินเข้ามาภายในบ้านพักของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านหัวภู ต.หัวทุ่ง อ.พล จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นค้างคาวสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นในพื้นที่ภาคอีสานมาก่อน หลังรับแจ้งจึงรีบรุดไปตรวจสอบโดยเมื่อไปถึงพบว่าเจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันจับค้างคาวดังกล่าวมาเก็บรักษาไว้ในจุดที่ปลอดภัยและเตรีมประสานไปยังนักวิชาการเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาทำการตรวจสอบอีกครั้ง

จากการตรวจสอบก็พบว่าค้าวคาวตัวนี้มีสีเหลืองทองสะท้อนแสง เมื่ออยู่ใกล้แสงไฟฟ้า และเมื่อวัดขนาดจากปลายปีกด้านซ้ายถึงปีกด้านขวา ยาวเพียง 26 ซม.และจากหัวถึงเท้าประมาณ 6ซม.​ เพศผู้ จากการสอบถามชาวบ้านและตรวจสอบจากฐานข้อมูลชนิดค้างคาวพบว่าจัดอยู่ในกลุ่มค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ ที่มักจะอาศัยอยู่ในยอดของต้นกล้วย แต่ไม่เป็นที่พบเห็นได้บ่อยครั้งนัก คนชุมชนบอกว่าเคยพบเห็นค้างคาวดังกล่าวมาเมื่อกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

ค้างคาวยอดกล้วยปีกผีเสื้อ ​เป็นสัตว์ที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ และเป็นสัตว์ป่าสวงน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 โยค้างคาวชนิดนี้ชอบอยู่โดดเดี่ยว ไม่ชอบอยู่เป็นฝูง จะจับคู่ผสมพันธุ์ในเดือนมิถุนายน และจะออกลูกในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี ซึ่งในการค้นพบที่ขอนแก่นอาจจะบ่งบอกได้ว่าพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ และมีสภาพภูมิศาสตร์ที่ดีตรงกับการรวมตัวกันหรือการเพาะพันธุ์ของค้าวคาวสายพันธุ์ดังกล่าวนี้.​