posttoday

"ครูพละสวนกุหลาบนนท์" ผู้บุกเบิกการสอนไอซีทีคว้ารางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ

26 เมษายน 2560

เปิดรายชื่อรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี "ครูพละสวนกุหลาบนนท์" ผู้บุกเบิกการสอนไอซีที

เปิดรายชื่อรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี  "ครูพละสวนกุหลาบนนท์" ผู้บุกเบิกการสอนไอซีที 

นายกฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี เปิดเผย ว่า มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้มอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีมหาจักรี รางวัลเกียรติยศแห่งความเป็นครู ที่จัดขึ้นจากความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้านการศึกษาเด็กและเยาวชนไทย

นายกฤษณพงศ์  กล่าวว่า ครูรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ในปีนี้  คือ นายจิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี ผู้ซึ่งจัดการเรียนรู้แนวใหม่บนโลกอินเทอร์เน็ตเพื่อเปิดโลกกว้างแก่ นักเรียนให้เข้าถึงข้อมูลความรู้ ขนาดใหญ่นอกตำราเรียน ตั้งแต่ปี 2528 ผู้บุกเบิกให้มีหลักสูตรการสอนไ อซีทีในโรงเรียน และนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่เข้าม ามีบทบาทสำคัญของโลกอนาคตมาร่วม จัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนพัฒนานวัตกรรมจนชน ะการประกวดทั้งในระดับชาติและนา นาชาติ และเป็นครูผู้มีความรักและเมตตา ต่อศิษย์ ทุ่มเทเวลาและกำลังทรัพย์ส่วนตั วในการส่งเสริมนักเรียนทำกิจกรร มนอกเวลาราชการอย่างสม่ำเสมอ ตลอด 30 ปี

นอกจากนี้ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจั กรี ยังได้พิจารณารางวัล “คุณากร” จำนวน 2 รางวัล ซึ่งเป็นครูที่ผ่านการคัดเลือกร องสุดท้ายเชิงลึก คือ นางนฤมล แก้วสัมฤทธิ์ ครูกศน. ครูเพียงคนเดียวของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขาบ้านกรูโบ อ.อุ้มผาง จ.ตาก พื้นที่ทุรกันดารบนดอยสูงที่สอน ทุกชั้นทุกวิชาและทำหน้าที่เป็น หมอไปพร้อมๆ กัน รวมทั้งพัฒนาอาชีพแก่ชาวบ้านในชุ มชนให้มีรายได้จากการทอผ้า ธนาคารข้าว เลี้ยงหมู และปลูกผักปลอดสาร และนายศรัณย์ ศรีมะเริง ครูนักพัฒนาดนตรีผู้เปลี่ยนชีวิ ตศิษย์ผ่านนวัตกรรมการสอนวิธีอ่ านตัวโน๊ต นอกจากนี้ยังมีรางวัล “ครูยิ่งคุณ” จำนวน 17 รางวัล ซึ่งผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรม การส่วนกลาง และรางวัล “ครูขวัญศิษย์” จำนวน 136 รางวัล ซึ่งผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการในระดับจังหวัด ครูเหล่านี้ถือเป็นต้นแบบอันทรง คุณค่าที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปล งชีวิตลูกศิษย์และครูรุ่นใหม่

นายจิรัฎฐ์ กล่าวว่า จุดเปลี่ยนจากการสอนพลศึกษามาสอนด้านไอซีทีมาจากการดูงานที่ประ เทศญี่ปุ่น เมื่อ 32 ปีที่แล้ว ซึ่งได้เห็นการใช้ไอซีทีในชีวิต ประจำวันแม้กระทั่งชาวนา จึงมองว่าหากนำไอซีทีมาใช้จัดการเรียนการสอนในประเทศไทยจะกระตุ้นการเรียนรู้ได้มากขึ้น และในอดีตมีคำพูดที่ว่า ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ ถ้าหากเราไม่รู้เทคโนโลยีก็จะตามหลังเขา และเป็นจังหวะที่คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่มาที่โรงเรียนซึ่งไม่มี ใครใช้เป็น จึงหันมาพัฒนาความรู้ทางไอซีทีอย่างต่อเนื่องเพื่อเปิดโลกกว้าง การเรียนรู้ให้กับลูกศิษย์