posttoday

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

08 กุมภาพันธ์ 2560

เปิดออฟฟิศใหม่ของ "อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์" ที่มาพร้อมพื้นที่ชวนอิจฉาทั้งห้องพักผ่อน-พื้นที่คาเฟ่ แถมมีอาหารกลางวันกินฟรี

เรื่อง...วรรณโชค ไชยสะอาด ภาพ...วิศิษฐ์ แถมเงิน

"งานคือชีวิต ชีวิตคืองาน บันดาลสุข ทำงานให้สนุก เป็นสุขเมื่อทำงาน" ถ้อยคำที่ดูเหมือนจะสอดคล้องอยู่ไม่น้อยกับบรรยากาศการทำงานภายใน "อนันดา แคมปัส" (Ananda Campus) ออฟฟิศใหม่ของ อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง ที่ใช้งบลงทุนถึง 300 ล้านบาท จนได้ชื่อว่าเป็นออฟฟิศที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย 

ที่นั่น ชานนท์ เรืองกฤตยา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทักทายทีมงานโพสต์ทูเดย์อย่างเป็นกันเอง ก่อนจะเล่าที่มาที่ไปของบ้านหลังใหม่ให้ได้ฟังกัน

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน ชานนท์ เรืองกฤตยา

เขาเริ่มต้นเล่าว่า Ananda Campus ตั้งอยู่ภายในอาคาร FYI ถนนพระราม 4 ติดกับ รถไฟฟ้า MRT สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 8,225 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนสำนักงาน 5,741 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนสันทนาการ 1,100 ตารางเมตร และพื้นที่ห้องประชุม 45 ห้อง 900 ตารางเมตร

ซีอีโอหนุ่ม บอกว่า พยายามสร้างวัฒนธรรมให้องค์กรแห่งนี้เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความรับผิดชอบทั้งต่อตัวเองและสังคม โดยเฉพาะคน Gen-Y ซึ่งมีทัศนคติต่อการใช้ชีวิตและการทำงานที่แตกต่างออกไป มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ไม่ชอบทำอะไรในกรอบ ไม่ชอบงานประจำ เกลียดการถูกบังคับ รักอิสระ เบื่อง่าย สมาธิสั้น และเป็นพวกอยากทำงานน้อยแต่ได้มาก ทั้งหมดเป็นที่มาของ Ananda Campus พื้นที่ซึ่งผสมผสานการเรียนรู้ การทำงานและเล่นไว้ด้วยกันจนเป็นชีวิต

"ชีวิตมันไม่ใช่แค่ทำงานอยู่ไปวันๆ เพื่อเงินเดือน อดทนกับสถานที่หรือเจ้านายที่คุณไม่ชอบ คิดเพียงว่าอย่างน้อยก็มีงานทำ มันไม่ใช่ คนยุคใหม่เขาเชื่อในสิ่งที่ทำ มองหาความหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ไม่มองแค่เงินเดือนเป็นหลัก แต่เริ่มมองไปถึงสังคม สถานที่ทำงาน เเละเลือกทำอะไรที่มีความหมายกับโลกใบนี้มากขึ้น" 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน ทาวน์ ฮอล์ พื้นที่สำหรับประชุมใหญ่ ปาร์ตี้ หรือกิจกรรมอื่นๆ ของบริษัท

วัฒนธรรมและสถานที่ทำงาน เป็นเรื่องที่ ชานนท์ พยายามสร้างให้ตอบโจทย์และเอื้อให้คนยุคใหม่อยากใช้ชีวิตมากที่สุด โดยภายใน Ananda Campus ผู้บริหาร พนักงานทั่วไป ทุกคนต่างใช้พื้นที่ทำงานร่วมกัน ไม่มีห้องส่วนตัว โต๊ะประจำ และลำดับขั้นองค์กรตลอดจนความเจ้ายศเจ้าอย่าง

ขณะที่ในด้านสวัสดิการ พนักงานรวมกว่า 1,000 คนของอนันดา นั่งรถไฟฟ้าและรับประทานอาหารกลางวันฟรี

"เราพยายามสร้างพลังแง่บวกให้พวกเขาตั้งแต่ตื่นนอน สนับสนุนให้ใช้รถไฟฟ้า เพราะอยากให้มีชีวิตการเดินทางที่สะดวก ไม่ใช่ตื่นมาแล้วเครียดว่าจะไปทำงานยังไง รถติด ชีวิตฉันบัดซบ หงุดหงิด และมานอยด์ในที่ทำงานจนเป็นวงจรหมุนไปเรื่อยๆ

ผมหวังว่า คนทำงานที่นี่จะเป็นจะเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีพลัง มองโลกในแง่บวก ต้องการคนขั้วบวกมาทำงานในองค์กรและวัฒนธรรมในขั้วบวก เพื่อช่วยกันคิดแก้ปัญหาให้กับสังคม อย่างที่บอกชีวิตมันไม่ใช่แค่งานหรือเล่น แต่มันผสมกันแล้ว คิดและทำ เราสร้างสรรค์ร่วมกัน"

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน รับประทานอาหารกลางวันฟรี

ชานนท์ เชื่อว่า วัฒนธรรมสำคัญกว่าข้อกำหนดหรือกฎระเบียบ ต้องการให้ชีวิตดำเนินไปด้วยความไว้วางใจและรับผิดชอบกับเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยโฟกัสและจัดการกับงานด้วยวิธีการของตัวเอง 

"เราไม่ชอบองค์กรที่มีข้อกำหนดเยอะ แต่ต้องการให้ทุกอย่างมันเป็นวัฒนธรรม ยกตัวอย่างสังคมบางสังคมไม่ต้องมีกฎหมายมากมาย แต่มีวัฒนธรรมจนกลายเป็นระเบียบที่ดี ในที่สุดแล้วสิ่งสำคัญคือวัฒนธรรมหรือนิสัยของหมู่คณะชุมชนนั้น คุณมีกฎหมายเยอะ แต่ไม่ปฎิบัติ ก็ไม่รู้จะมีไปเพื่ออะไร เรารู้ว่าทุกคนโตๆ กันแล้ว ต้องรับผิดชอบ ไม่อย่างนั้นบริษัทเราจะอยู่กันได้อย่างไร"

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน พื้นที่สำหรับพักผ่อนซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกับโต๊ะทำงาน

"เรามีห้องพักผ่อนติดกับโต๊ะทำงาน เพราะเข้าใจว่าเวลาคนมันล้า ถึงเวลาต้องชาร์จแบตก็ต้องชาร์จ วัฒนธรรมเราคือความไว้วางใจและความรับผิดชอบ จะเข้ามาทำงานเวลาไหนก็เรื่องของคุณ แต่ทุกคนมีเป้าหมายของตัวเองที่ต้องเดินไป และหวังว่าจะไม่มีใครมาทำลายระบบความไว้วางใจกัน"ซีอีโอหนุ่มระบุ

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

ชานนท์ ยืนยันว่า สิ่งที่ลงมือทำนั้นให้ผลลัพธ์ที่ประสบความสำเร็จ โดยวัดจากยอดเติบโตในแต่ละปีของบริษัท ขณะเดียวกันยังตั้งเป้าว่าวัฒนธรรมองค์กรรูปแบบใหม่จะทำให้บริษัทเติบโตมากถึง 300% ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มพนักงาน

“เราเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นเจ้าตลาดคอนโดติดรถไฟฟ้า ปีที่แล้วมียอดโอนทั้งสิ้นกว่า 16,000 ล้านบาท ปีนี้เตรียมโอนทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท ขณะที่ปี 2020 จะมียอดโอนอีกกว่า 60,000 ล้านบาท เพราะฉะนั้นถ้าดูตัวเลขการเติบโต สิ่งที่เราจ่ายนั้นใช่อยู่แล้ว เเละผมคิดว่าทุกคนควรกล้าจ่ายเเละสร้างวัฒนธรรมเพื่อชีวิตที่ดีของพนักงาน”

เขาทิ้งท้ายว่า "ไม่ว่าคุณจะออกแบบออฟฟิศหรูหราหรือเอื้อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ขนาดไหนก็ไม่มีความหมาย หากสุดท้ายแล้วไม่มีการสร้างวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร"

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน ในแต่ละวันพนักงานสามารถเลือกที่นั่งได้ตามความต้องการด้วยโต๊ะทำงานแบบ hot-desk ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารเเละประสานงาน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน ที่นี่มีระบบจองโต๊ะทำงาน ห้องประชุมผ่านแอปพลิเคชันเเละระบบอิเล็กทรอนิกสุดล้ำภายในห้องประชุม

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน ในพื้นที่ทำงานยังมีห้องส่วนตัวสำหรับคุยโทรศัพท์ด้วย

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน พื้นที่สำหรับคนที่ต้องการสมาธิหรือความเป็นส่วนตัวในการทำงาน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน พื้นที่คาเฟ่ ซึ่งสามารถเป็น co-working space หรือประชุมงานกันได้ด้วย

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน อีกมุมพักผ่อนเเละทำงานที่ใครก็สามารถมาใช้งานได้

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

 

"อนันดา แคมปัส" ออฟฟิศน่าอิจฉาของมนุษย์เงินเดือน

 

ชมคลิปโพสต์ทูเดย์พาสำรวจบรรยากาศภายในออฟฟิศ "อนันดา แคมปัส"