posttoday

บทวิเคราะห์ จับตาเงินดอลลาร์หมดแรง เฟดขึ้นดอกเร็วไปจะทำลายทุน

26 พฤษภาคม 2565

การวิเคราะห์จากสำนักข่าวรอยเตอร์ถึงความเป็นไปของมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก และสกุลเงินอันดับหนึ่งของโลก

สำนักข่าวรอยเตอร์ - หลังจากค่าเงินดอลลาร์ที่พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษตอนนี้ดูเหมือนจะหยุดชะงักลงแล้ว ด้วยความสงสัยที่เพิ่มมากขึ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะพิสูจน์ตัวเองได้หรือไม่ว่ามีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ผันผวน และนโยบายการเงินจะแข็งกร้าวตามที่คาดไว้ก่อนหน้านี้หรือไม่

หลังจากไต่ขึ้น 10% ในรอบสามเดือน ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง 3% ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม บางคนอาจคิดว่าเป็นเพราะหมดกระแสการเข้าหาดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินที่ปลอดภัยซึ่งเกิดขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนได้ลดน้อยลงแล้ว หลายคนกล่าวว่าหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เข้มงวดนโยบายการเงินอย่างมีนัยสำคัญ อาจเสี่ยงที่จะผลักดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย

และสุดท้าย ในขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะยังคงแซงหน้าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศเศรษฐกิจหลักอื่นๆ แต่ก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยูโรโซนและสวิตเซอร์แลนด์กำลังเตรียมแผนการกระชับนโยบายของตนเอง

เมื่อวันจันทร์ คริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB ) ทำให้ภาวะดอลลาร์แข็งค่าต้องเจออุปสรรคเข้าไปอี โดยระบุว่าสถานะยาวนาน 8 ปีของกลุ่มยูโรโซนที่มีอัตราดอกเบี้ยติดลบจะสิ้นสุดในเดือนกันยายนนี้

หลายคนมองว่าผลจากสงครามในยูเครนจะทำให้ ECB ไม่อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อย่างมีนัยสำคัญ และส่งเงินยูโรให้สูงขึ้น 1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์

ริชาร์ด เบนสัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนร่วมของ Millennium Global กล่าวว่า "สิ่งที่สั่งสมขึ้นมาโดยตลอดและถูกตลาดเพิกเฉยคือเรื่องอัตราดอกเบี้ยของยุโรป" ซึ่งเบนสันเปลี่ยนท่าทีจากการเทรดดอลลาร์ "กุลยุทธ์ระยะยาว" มาเป็น "กลยุทธ์สั้น" เมื่อต้นเดือนนี้

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ต้านอานปัจจัยลบได้ด้และการเมืองทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่เอื้ออำนวย กลายเป็นเงื่อนไขให้ดอลลาร์แกร่งขึ้นมา แต่สิ่งเหล่านี้กำลังเปิดทางให้สิ่งที่เบนสันขนานนามว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ "อ่อนแอ" ซึ่งความเสี่ยงของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจกำลังปรากฏชัด

ตลาดเงินยังคงกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 175 จุดพื้นฐานภายในสิ้นปี แต่ตอนนี้พวกเขายังตั้งเป้าว่า ECB จะขึ้น 100 จุดพื้นฐานเทียบกับ 20 จุดพื้นฐานหลังเกิดการโจมตียูเครน

นักวิเคราะห์ของ BNP Paribas กล่าวในหมายเหตุว่า วัฏจักรอัตราดอกเบี้ยของเฟด "ขณะนี้อยู่ในอัตราราคาที่เหมาะสม" และพวกเขาได้เพิ่มสถานะดอลลาร์ "ชอร์ต" เมื่อเทียบกับสกุลเงินออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสวีเดน

เว้นแต่ว่าตลาดจะเห็นการพุ่งขึ้นใหม่ขงอัตราราคาในสหรัฐฯ พวกเขาคาดการณ์ว่า "เงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนกลับมาดำเนินการซื้อขายแบบ carry trades" ซึ่งหมายถึงการซื้อสกุลเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง

ขณะที่ JPMorgan แม้วา่จะยังคงหวังกับตลาดกระทิงกับค่าเงินดอลลาร์ แต่ก็กล่าวว่าตลาดสกุลเงินมีปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงจาก "ความแกร่งของสหรัฐฯ มาเป็นการชะลอตัวทั่วโลกซึ่งครอบคลุมสหรัฐฯ"

อันที่จริง ข้อมูลล่าสุดของสหรัฐฯ ตั้งแต่อัตราการว่างงานไปจนถึงสถิติเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและสภาพธุรกิจ ล้วนบ่งบอกถึงโมเมนตัมที่ชะลอตัว

กรณีที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย?

ตามแนวคิดดั้งเดิมต่างมองว่าค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากนั้นก็จะสูญเสียพลังลงไป การวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับข้อมูลของ Refinitiv พบว่าในช่วง 3 รอบจาก 4 รอบล่าสุด ดัชนีค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงโดยเฉลี่ย 1.4% ระหว่างการขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกและครั้งสุดท้าย

บางคนเชื่อว่าดอลลาร์ยังคงมีอยู่ สก็อต เบสเซนต์ ผู้บริหาร Key Square Group กล่าวในจดหมายนักลงทุนที่รอยเตอร์ได้รับมาบอกว่าว่าเงินดอลลาร์อยู่ในช่วงขาขึ้นระยะสุดท้าย และ "เมื่อระยะสุดท้ายนี้จบลง เราคาดว่าค่าเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงในช่วงหลายปี" Key Square ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นในจดหมาย

ค่าเงินดอลลาร์สูงสุดในวันที่ 13 พ.ค. ใกล้เคียงกับการเพิ่มขึ้นในตำแหน่งยาวเก็งกำไรในสกุลเงินที่มีมูลค่ามากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ตั้งแต่นั้นมา ค่าเงินดอลลาร์ก็หมดความร้อนแรงลงด้วยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่ร่วงลงเกือบ 20 จุดพื้นฐาน

นักวิเคราะห์ที่ ING กล่าวว่า "กรณีที่ไม่ร้ายแรง" สำหรับตลาดการเงินจะทำให้เฟดหยุดชั่วคราวหลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 2% ในเดือนกรกฎาคม

คนอื่นๆ มองว่าเฟดมีความเสี่ยงที่เฟดจะปรับขึ้นมากเกินไป แม้ว่าเงินเฟ้อจะได้รับแรงหนุนจากแรงกดดันด้านอุปทานที่จำเป็นต้องแก้ไข

สจววร์ท โคล หัวหน้านักยุทธศาสตร์ระดับมหภาคของบริษัทนายหน้า Equiti Capital กล่าวว่า "การกระชับนโยบายมากเกินไปของเฟดจะทำให้ความเสี่ยง อาจทำลายการลงทุนที่จะบรรเทาสถานการณ์ได้

แม้หลังจากการลดค่าลงเมื่อเร็วๆ นี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ก็เพิ่มขึ้นประมาณ 6.3% ในปี 2022 และสามารถกลับมาขึ้นอีกครั้งได้อย่างรวดเร็วหากภาวะถดถอยในยุโรปมีแนวโน้มหรือหากความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั่วโลกพังทลายอีกครั้ง

เบนสันแห่ง Millennium มองว่าค่าเงินสหรัฐยังอ่อนค่าลงในปัจจุบัน แต่การที่ค่าเงินดอลลาร์พุ่งขึ้นสูงสุดในช่วงที่ผ่านมานั้นถือเป็น "การเพุ่งขึ้นมาครั้งใหญ่มาก"

Source - ANALYSIS-As U.S. economy's exceptionalism fades, so does the dollar/REUTERS

Photo - REUTERS/Dado Ruvic/Illustration/File Photo/File Photo