posttoday

COP26 บรรลุข้อตกลงน่าผิดหวัง UN ชี้ 'ใกล้จะหายนะ'

14 พฤศจิกายน 2564

เกือบ 200 ประเทศที่ข้าร่วมประชุมเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตกลงกันได้ในที่สุดหลังจากสองสัปดาห์ของการเจรจาที่ตกรองกันอย่างหนักหน่วง แต่ขาดประเด็นที่จำเป็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิที่สูงขึ้นที่เป็นอันตราย

ประเทศร่ำรวยถูกกล่าวหาว่าล้มเหลวในการประชุมสุดยอด COP26 ในกลาสโกว์ในการจัดหาเงินทุนที่จำเป็นมากให้กับประเทศซึ่งมีความเสี่ยงต่อภัยแล้ง ทะเลที่เพิ่มขึ้น ไฟไหม้และพายุ จากภาวะโลกร้อน

อาโลก ชาร์มา (Alok Sharma) ประธาน COP26 ของสหราชอาณาจักรสรุปการเจรจาที่ยืดเยื้อเมื่อคืนนี้โดยบอกกับผู้ร่วมประชุมว่า "ถึงเวลาตัดสินใจแล้ว และทางเลือกที่คุณวางแผนไว้มีความสำคัญอย่างยิ่ง"

แต่จีนและอินเดียยืนกรานว่าภาษาที่ใช้ในข้อตกลงโดยแก้ไขเนื้อความจากการหยุดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจมาเป็นการทะยอยลดการใช้เท่านั้น

ในขณะที่ข้อตกลงสุดท้ายจบลง ชาร์มาทั้งน้ำตากล่าวว่า “ผมขอโทษสำหรับกระบวนการที่เกิดขึ้นกลายเป็นแบบนี้ ผมเสียใจอย่างสุดซึ้ง” ก่อนที่จะทุบค้อนของเขา

ข้อตกลงยังคงรักษาเป้าหมายความตกลงปารีสปี 2015 ในการจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นอีก 1.5-2 องศาเซลเซียสให้เป็นเป้าหมายที่ทำได้จริง และยังตกลงจะหาเงินทุนสำหรับประเทศที่เสี่ยงต่อความแห้งแล้ง น้ำท่วม และพายุที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศมากที่สุดโดยน้ำทะเลที่สูงขึ้น

แต่ผู้สังเกตการณ์กล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อความจำเป็นในการหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่เป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ และยังไม่พอที่จะช่วยให้ประเทศต่างๆ ปรับตัวหรือชดใช้ความเสียหายจากภัยพิบัติที่คลี่คลายไปทั่วโลก

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ ยินดีกับข้อตกลงดังกล่าว แต่เน้นว่ายัง "ไม่เพียงพอ"

“เรายังคงใกล้จะเปิดประตูแห่งภัยพิบัติทางสภาพอากาศ” เขากล่าวเสริม

เกรียตา ทืนแบร์ย (Greta Thunberg) นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมชาวสวีเดน กล่าวว่า การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จใดๆ นอกจาก "บลา บลา บลา" ซึ่งสะท้อนความคิดเห็นของเธอก่อนหน้านี้

ลอเรนซ์ ทูเบียนา (Laurence Tubiana) ผู้ออกแบบความตกลงปารีสบอกกับ AFP ว่า "COP ล้มเหลวในการให้ความช่วยเหลือทันทีสำหรับผู้ที่ทุกข์ทรมานในขณะนี้"

แต่คำแถลงจากคณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าว “ทำให้เป้าหมายของปารีสมีชีวิตอยู่ต่อไป”

บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าภาพการเจรจา ยืนยันว่าข้อตกลงนี้เป็น "ก้าวที่ยิ่งใหญ่" แม้ว่าจะจำเป็นต้องดำเนินการอีกมากก็ตาม ข้อความสุดท้ายในข้อตกลงได้เรียกร้องให้นานาประเทศเร่งความพยายามในการ "เลิกใช้" ถ่านหินที่ไม่ผ่านการกรอง และ "เลิกใช้" เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ

ผู้ปล่ยก๊าซรายใหญ่อย่างจีนและอินเดียคัดค้านการกล่าวถึงเชื้อเพลิงที่ก่อมลพิษ และภาษาในข้อความสุดท้ายมีลักษณะ "อ่อนลง" ยิ่งขึ้นกว่าฉบับร่างก่อนหน้านี้อย่างมาก

ข้อตกลงดังกล่าวยังเรียกร้องให้ทุกประเทศเร่งลดการปล่อยมลพิษโดยยื่นแผนระดับชาติใหม่ภายในปี 2022 ซึ่งเร็วกว่าที่ตกลงกันในปารีสสามปี

แต่หลังจากการต่อต้านจากประเทศร่ำรวยที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ข้อความดังกล่าวได้ละเว้นการอ้างอิงถึงแหล่งเงินทุนเฉพาะสำหรับความสูญเสียและความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา

แทนที่จะแข็งขันขึ้น ข้อตกลงให้สัญญาเพียงแค่ควารจะมีการ "สนทนาหารือ" (dialogue) ในอนาคตเกี่ยวกับเรื่องนี้

เชานา อมินาถ (Shauna Aminath) รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมมัลดีฟส์กล่าวว่า "สำหรับบางประเทศ การสูญเสียและความเสียหายอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการสนทนาและการเจรจา" "แต่สำหรับเรา เรื่องนี้เป็นเรื่องของการเอาตัวรอด" ทั้งนี้ มัลดีฟส์เป็นหนึ่งในประเทศที่จะจมน้ำจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อน

แม้ว่าเจ้าภาพกล่าวว่าพวกเขาต้องการให้ COP26 ควบคุมไม่ให้อุณหภูมิขึ้นสูงสุดเกิน 1.5 องศาฯ แต่การประเมินทางวิทยาศาสตร์ของสหประชาชาติเมื่อสัปดาห์ที่แล้วกล่าวว่าแผนการรับมือด้านอากาศล่าสุดของประเทศต่างๆ จะทำให้โลกต้องร้อน 2.7 องศาฯ หมายความว่ามันไม่เพียงพอและยังทำร้ายโลกยิ่งขึ้นไปอีก

ดังนั้น ข้อความในข้อตกลงจึงระบุว่า "ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง" ที่ประเทศที่ร่ำรวยยังล้มเหลวในการจัดเงินช่วยเหลือ 100,000 ล้านดอลลาร์ที่พวกเขาสัญญาไว้เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้ว เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ จ่ายเงิน "อย่างเร่งด่วนและภายในปี 2025"

นอกจากนี้ยังสัญญาว่าจะเพิ่มการเงินเป็นสองเท่าเพื่อช่วยให้ประเทศกำลังพัฒนาปรับตัวเข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นภายในวันเดียวกัน

แต่ประเทศกำลังพัฒนากล่าวว่า มันไม่ยุติธรรที่การประชุมสุดครั้งนี้บรรลุข้อตกลงที่ไม่สมดุลต่อประทเศกำลังพัฒนา โดยให้น้ำหนักกับ "การบรรเทา" ด้วยการทิ้งเชื้อเพลิงฟอสซิลและปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ประเทศกำลังพัฒนาต้องการคำแนะนำเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับวิธีที่พวกเขาสามารถรับมือกับการลดคาร์บอน โดยไม่กระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็ปรับตัวให้เข้ากับภัยธรรมชาติที่เกิดจากภาวะโลกร้อนด้วย

"เราได้รับแจ้งว่า COP26 เป็นโอกาสสุดท้ายที่ดีที่สุดที่จะรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาไว้ได้ แต่มัน (การสานต่อเป้าหมาย) อาการหนักเสียแล้ว" Amanda Mukwashi ซีอีโอของ Christian Aid กล่าว

"ประเทศที่ร่ำรวยเตะถ่วงไปพร้อมกับคำมั่นสัญญาในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างเร่งด่วนที่ผู้คนในแนวหน้าของวิกฤตนี้ต้องการ"

เทเรซา แอนเดอร์สัน (Teresa Anderson) ผู้ประสานงานนโยบายสภาพภูมิอากาศของ ActionAid International กล่าวว่า COP26 เป็น "การดูถูกผู้คนนับล้านที่ชีวิตถูกทำลายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ"

Photo by Ben STANSALL / AFP