posttoday

ศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ดชี้เอเลี่ยนมาเยือนโลกแล้ว

03 มกราคม 2564

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี 2017 เมื่อวัตถุปริศนาเคลื่อนตัวเข้ามาในระบบสุริยะและสร้างความงุนงงให้กับมนุษยชาติ

เอไว เลิบ (Avi Loeb) หัวหน้าภาควิชาดาราศาสตร์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด Harvard เชื่อว่าเขาพบขยะบางส่วนแล้ว อ้างว่ามุนษย์ต่างดาวได้มาเยือนโลกของเราแล้วตั้งแต่ปี 2017 และยังจะมีมาอีกเรื่อยๆ

ศาสตราจารย์เลิบกำลังจะเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุดของเขาที่มีชื่อว่า “สิ่งมีต่างดาว: สัญญาณแรกของชีวิตที่ชาญฉลาดจากนอกโลก” (Extraterrestrial: The First Sign of Intelligent Life Beyond Earth) ซึ่งจะวางจำหน่ายในวันที่ 26 มกราคม โดยศาสตราจารย์เลิบได้กล่าวถึงกรณีที่น่าสนใจว่วัตถุแปลกปลอมที่เพิ่งหลงเข้ามาในระบบสุริยะของเราไม่ใช่แค่ดาวหางหรืออุกกาบาต แต่จริงๆ แล้วมันเป็นเทคโนโลยีของมนุษย์ต่างดาว

New York Post รายงานว่าวัตถุดังกล่าวเดินทางจากทิศทางของเวก้าซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเราซึ่งอยู่ห่างออกไป 25 ปีแสงและต่อมาเข้าสู่วงโคจรของระบบสุริยะของเราเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2017

วัตถุดังกล่าวถูกค้นพบครั้งแรกโดยหอดูดาวในฮาวายซึ่งมีกล้องโทรทรรศน์ที่มีความละเอียดสูงที่สุดในโลก มันจึงได้รับการขนานนามว่า Oumuamua (โอมูอามูอา) ซึ่งเป็นภาษาฮาวายแปลว่า "ยานลาดตระเวน"

ตอนแรกนักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันเป็นดาวหางธรรมดา แต่ศาสตราจารย์เลิบกล่าวว่าการสันนิษฐานแบบนั้อาจทำให้เราพลาดที่จะพบอะไรที่สำคัญไปก็ได้

เขาบอกว่ามันอาจจะเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึงก็ได้ เหมือนกับที่มนุษย์ถ้ำเห็นโทรศัพท์มือถือครั้งแรก คนเหล่านี้เห็นหินมาตลอดชีวิตและคงคิดว่าโทรศัพท์มือเป็นแค่หินเงาๆ ดังนั้นศาสตราจารย์เลิบจึงตั้งข้อสันนิษฐานว่ามันไม่ใช่ดาวหาง แต่เป็นเทคโนโลยีที่ถูกทิ้งจากอารยธรรมต่างดาวอื่นๆ

ศาสตราจารย์เลิบระบุถึงคุณสมบัติที่ผิดปกติหลายประการเกี่ยวกับ Oumuamua เช่น มันมีความสว่างผิดธรรมดา อย่างน้อยมันมีอัตราการสะท้อนแสงมากกว่าดาวหางหรืออุกกาบาตในระบบสุริยะถึง 10 เท่า ทำให้ศาสตราจารย์เลิบชี้ว่าพื้นผิวของมันอาจเป็นโลหะที่มันวาว

นักดาราศาสตร์คนอื่นๆ ยังพบว่าเมื่อวัตถุนี้สะท้อนแสงอาทิตย์ ความสว่างของมันจะแปรผันเป็นสิบเท่าทุกๆ แปดชั่วโมงซึ่งบ่งบอกว่านั่นคือระยะเวลาที่ใช้ในการหมุนเต็มวงโคจร

นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปว่าวัตถุดังกล่าวมีความยาวมากกว่าความกว้างอย่างน้อยห้าถึงสิบเท่าซึ่งทำให้มันมีลักษณะคล้ายซิการ์ ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีวัตถุในอวกาศชิ่้นไหนที่มีลักษณะคล้ายซิการ์หรือแม้แจะจะมีรูปร่างใกล้เคียง

แต่คุณสมบัติของมันที่ทำให้ศาสตราจารย์เลิบคิดว่ามันเป็นวัตถุจากต่างดาวก็คือลักษณะการโคจรของมัน ตามปกติแล้วเมื่อวัตถุโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มในจะโคจรเร็วขึ้นเพราะแรงดึงจากดวงอาทิตย์ จากนันจะเกิดแรงเหวี่ยงผลักออกไปให้ไกลจากดวงอาทิตย์แล้ววัตถึนั้นจะเคลื่อนที่ช้าลงมากเมื่อห่างจากดวงอาทิตย์

แต่ Oumuamua ไม่ได้เคลื่อนที่ตามหลักการดังกล่าว มันเคลื่อนที่ไวขึ้นเล็กน้อยเมื่อออกจากแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ และยังเคลื่อนที่อย่างเสถียรอย่างมาก โดยสรุปก็คือ มันไม่ได้เคลื่อนที่โดยแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์เท่านั้น แต่ยังมีแรงอื่นผลักดันมันด้วย

อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของศาสตราจารย์เลิบก็ยังมีจุดที่ให้โต้เถียงได้ เช่นการเคลื่อนที่ที่ผิดปกติของ Oumuamua เมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ อาจเกิดจากแรงดันจากไฮโดรเจนแข็งที่ละลายกล่ายเป็นแก๊สขับเคลื่อนมัน

ภาพ ESO/M