posttoday

น้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีจากฟุกุชิมะอาจทำลาย DNA มนุษย์

25 ตุลาคม 2563

กรีนพีซระบุว่าน้ำที่ปนเปื้อนจากโรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่นมีสารกัมมันตภาพรังสีที่มีศักยภาพในการทำลายดีเอ็นเอของมนุษย์

จากกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีแผนที่จะปล่อยน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่มหาสมุทร ทำให้เกดความกังวลในวงกว้างเกี่ยวกับความปลอดภัยจากกัมมันตรังสีที่อาจจะปนเปื้อนอยู่

หลายปีที่ผ่านมามีการถกเถียงกันในญี่ปุ่นว่าจะทำอย่างไรกับน้ำมากกว่าหนึ่งล้านตันที่ใช้ในการหล่อเย็นเต่ปฏิกรณ์โรงไฟนิวเคลียร์ หลังจากที่โรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ฟุกุชิมะได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อปี 2011

ทางการญี่ปุ่นต้องรีบตัดสินใจเพราะพื้นที่สำหรับเก็บของเหลวซึ่งรวมถึงน้ำใต้ดินและฝนที่ซึมเข้าสู่โรงงานทุกๆ วันจะเต็มภายในปี 2022 ดังนั้นจึงมีการประกาศแผนที่จะปล่อยน้ำดังกล่าวลงทะเลในที่สุด ซึ่งคาดว่าอาจเป็นช่วงสิ้นเดือนตุลาคมนี้

นักวิทยาศาสตร์หลายคนกล่าวว่ามีความเสี่ยงต่ำ แต่กลุ่มกรีนพีซอ้างว่าน้ำที่โรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะปนเปื้อนคาร์บอน -14 ระดับอันตราย ซึ่งคาร์บอน -14 เป็นสารกัมมันตภาพรังสีที่มี "ศักยภาพในการทำลายดีเอ็นเอของมนุษย์" และโจมตีรัฐบาลญี่ปุ่นที่บอกว่าน้ำดังกล่าวมีเฉพาะไตรเทียมหรือทริเทียม ซึ่งเป็นธาตุกัมมันภาพรังสีที่ไม่รุนแรง

ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีความเห็นต่อรายงานนี้ แต่ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีโยชิฮิเดะ สุงะของญี่ปุ่นกล่าวว่า “เราไม่สามารถเลื่อนปัญหานี้ไปได้ตลอดกาล เราต้องการตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบโดยเร็วที่สุด”

AFP PHOTO / POOL / FILES / TOSHIFUMI KITAMURA