posttoday

อินโดนีเซียไม่ใช่ประเทศเสรี ดันกม.ห้ามมีเซ็กส์ก่อนแต่ง

23 กันยายน 2562

Nahdlatul Ulama กลุ่มมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ชี้ว่ากฎมายห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและบุคลิกภาพที่แท้จริงของประชาชนและประเทศอินโดนีเซีย

สมาชิกสภานิติบัญญัติสายอนุรักษ์นิยมเคร่งศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียพยายามผลักดันกฎหมายอาญา ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสและห้ามเพศสัมพันธ์ระหว่างคนเพศเดียวกัน ทำให้เกิดความเสียงวิจารณ์หนักหน่วงในประเทศ เพราะบั่นทอนเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม รวมถึงกีดกันกลุ่มความหลากลายทางเพศ

แม้ว่าประธานาธิบดีโจโก วิโดโด จะใช้ชะลอการพิจารณากฎหมายออกไปก่อน แต่กฎหมายยังไม่ถูกปัดตกไป อีกทั้งยังเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ว่าอินโดนีเซียกำลังเปลี่ยนจากประเทศที่เป็นกลางทางศาสนาและมีค่านิยมตะวันตก กลายเป็นประเทศที่มีค่านิยมตามหลักอิสลามและเคร่งครัดตามหลักศาสนามากขึ้น

ทั้งนี้ แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นประเทศมุสลิมที่ใหญ่ทีสุดในโลกในแง่ประชากร แต่มีระบอบการปกครองที่แยกศาสนาออกจากรัฐในระดับหนึ่ง และให้เสรีภาพกับศาสนาอื่นๆ พอสมควร ในช่วงทศวรรษที่ 1960 - 2000 สังคมอินโดนีเซียดำเนินไปตามกระแสนิยมตะวันตก แต่ในระยะหลัง เกิดกระแสนิยมการปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่เคร่งครัดขึ้น หญิงสาวเริ่มหันมาสวมฮิญาบและชายหนุ่มใส่ใจกับการประกอบศาสนกิจมากขึ้น

Nahdlatul Ulama กลุ่มมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ชี้ว่ากฎมายห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะและบุคลิกภาพที่แท้จริงของประชาชนและประเทศอินโดนีเซีย

ยูอีส สุนาร์ตี ศาสตราจารย์แห่งสถาบัน Institut Pertanian Bogor ผู้สนับสนุนค่านิยมของครอบครัวอนุรักษ์นิยม ยังถึงขนาดผลักร่างกฎหมายใหม่โดยห้ามการแสดงออกของกลุ่มรักร่วมเพศเข้าไปด้วย

“อินโดนีเซียไม่ใช่ประเทศที่มีแนวคิดเสรี” นาซิร์ จามิล นักการเมืองจากพรรคความยุติธรรมมั่งคั่ง (PKS) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านสายอิสลามบอกกับผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ส พร้อมกับกล่าวหาว่าประธานาธิบดีอยู่ใต้อิทธิพลของรัฐบาลต่างประเทศ โดยชี้ว่ารัฐบาลออสเตรเลียเตือนประชาชนเรื่องกฎหมายฉบับนี้ และชาวออสเตรเลียเป็นนักท่องเที่ยวที่สำคัญของอินโดนีเซีย

อันเดรียส ฮาร์โซโน แห่งองค์กร Human Rights Watch บอกกับ NYT ว่า นี่คือกระบวนการเปลี่ยนอินโดนีเซียให้เป็นรัฐอิสลามทีละน้อย สำหรับนักเคลื่อนไหวชาวมุสลิมนี่คือเป็นประเด็นสุดยอดของการเคลื่อนไหวเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักสิทธิประชาชนยินดียินดีที่มีการชะลอกฎหมายนี้ออกไป และเรียกร้องให้ประธานาธิบดีสกัดร่างกฎหมายนี้ให้ตกไป โดยนักเคลื่อนไหวร่วมกันลงชื่อถึง 560,000 คน (ตัวเลขเมื่อช่วงเย็นวันศุกร์) เรียกร้องให้ประธานาธิบดีเพื่อยับยั้งกฎหมายที่พวกเขาบอกว่า "ไร้เหตุผล" นี้