posttoday

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โรเบิร์ต มูกาเบ" จากวีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชสู่ผู้นำเผด็จการ

06 กันยายน 2562

โรเบิร์ต มูกาเบ อดีตผู้นำเผด็จการซิมบับเว เสียชีวิตด้วยวัย 95 ปี

โรเบิร์ต มูกาเบ อดีตผู้นำเผด็จการซิมบับเว เสียชีวิตด้วยวัย 95 ปี

ประธานาธิบดี เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา ผู้นำซิมบับเว ได้ประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ระบุว่า นายโรเบิร์ต มูกาเบ อดีตผู้นำได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย 95 ปี ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์

รายงานระบุว่า นายมูกาเบเสียชีวิตลงท่ามกลางครอบครัวของเขารวมถึงภรรยาของเขา นางเกรซ มูกาเบ โดยไม่ได้ระบุถึงสาเหตุการเสียชีวิตว่าเขาป่วยเป็นโรคใด แต่เชื่อว่านายมูกาเบเข้ารับการรักษาตัวตั้งแต่เดือนเมษายนของปีที่แล้ว จากนั้นในเดือนพฤศจิกายนมีรายงานว่าเขาไม่สามารถเดินได้อีก

ในปี 2017 นายมูกาเบได้ถูกกองทัพบีบให้ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดี หลังจากที่เขาครองอำนาจมายาวนานถึง 37 ปี นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่ซิมบับเวได้รับอิสรภาพจากสหราชอาณาจักร 

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โรเบิร์ต มูกาเบ" จากวีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชสู่ผู้นำเผด็จการ

นายมูกาเบ นับเป็นเป็นหนึ่งในผู้นำเผด็จการระดับโลกที่มีเรื่องอื้อฉาวมากที่สุดคนหนึ่ง โดยในช่วงแรกเขาได้รับสมญานาม "วีรบุรุษ" จากการที่เป็นแกนนำให้ซิมบับเวได้เอกราช แต่หลังจากนั้นนายมูกาเบไม่ต่างจากผู้นำเผด็จที่ใช้ความกลัวกดขี่ประชาชน โพสต์ทูเดย์ขอนำเสนอ 10 เรื่องราวสุดฉาวของอดีตผู้นำรายนี้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โรเบิร์ต มูกาเบ" จากวีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชสู่ผู้นำเผด็จการ

1. โรเบิร์ต มูกาเบ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1924 ในครอบครัวที่มีบิดาเป็นช่างไม้ เกิดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1924 ในครอบครัวที่มีบิดาเป็นช่างไม้ ซึ่งต่อมาบิดาได้ละทิ้งครอบครัว เช่นเดียวกับแม่ของเขาก็ไปมีครอบครัวใหม่ ต่อมานายมูกาเบถูกรับเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมซึ่งพ่อเลี้ยงของเขาเป็นคนเคร่งศาสนา ส่งผลให้มูกาเบ ถูกส่งไปเรียนยังโรงเรียนคริสต์คณะเยซูอิด

2. ครั้งหนึ่งเขาเคยได้รับการยกย่องว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตยของชาวแอฟริกัน จากการที่เข้าร่วมเป็นหนึ่งในแกนนำปลดแอกโรดีเซีย (ชื่อเดิมของประเทศซิมบับเว) 

3. เขาเคยถูกจำคุกถึง 10 ปี ในปี 1964 จากการที่พยายามต่อต้านรัฐบาลคนผิวขาวที่ปกครองโรดีเซีย รวมถึงใช้การโจมตีแบบกองโจรนายเอียน สมิธ อดีตนายรัฐมนตรีโรดีเซีย

4. ปี 1980 มูกาเบเป็นหนึ่งในแกนนำพรรค ZANU-PF ชนะเลือกตั้งจนกลายเป็นนายกรัฐมนตรีซิมบับเวคนแรกนับตั้งแต่ได้รับการประกาศเอกราช จนต่อมาในปี 1987 เขาชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี จากนั้นก็ได้แก้รัฐธรรมนูญให้ประเทศปกครองด้วยระบอบประธานาธิบดีเต็มอำนาจ

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "โรเบิร์ต มูกาเบ" จากวีรบุรุษผู้กอบกู้เอกราชสู่ผู้นำเผด็จการ

5. มูกาเบเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 1981 แต่ก็ไม่ได้รับรางวัลดังกล่าว

6. ในปี 2000 โรเบิร์ต มูกาเบ ถูกล็อตเตอร์รี่เงินรางวัล 100,000 ดอลลาร์ซิมบับเว หรือราว 76,000 บาท จากล็อตเตอร์รี่ที่ออกโดยธนาคารของรัฐ ซึ่งในเวลานั้นได้สร้างความแปลกใจให้กับคนทั้งประเทศ เนื่องจากคณะกรรมการรางวัลล็อตเตอร์รี่หลายคนมีความสัมพันธ์โดยตรงกับเขา

7. เขาเคยรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นอัศวินจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ในปี 1994 จากการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างซิมบับเวกับสหราชอาณาจักร แต่ภายหลังในปี 2008 ก็ถูกริบเครื่องราชฯดังกล่าว

 8. ช่วงแรกของการครองอำนาจของมูกาเบ เขาได้ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวผิวสีในซิมบับเว อาทิ การเพิ่มค่าจ้าง แจกจ่ายอาหาร วางรากฐานบริการสาธารณะต่างๆ แต่ก็มีเหตุปะทะกันระหว่างชนกลุ่มน้อยผิวขาวอยู่เรื่อยๆ กระทั่งคนผิวขาวพากันอพยพออกจากประเทศ ส่งผลให้ช่วงปลายทศวรรษ 1990 ความไม่สงบแพร่กระจายไปทั้งประเทศ เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ภาวะเงินเฟ้อสูง ครั้งนีงนายมูกาเบประกาศขึ้นเงินเดือนในคณะรัฐบาลของตนเอง ส่งผลให้เริ่มเกิดกระแสความไม่พอใจในรัฐบาลมูกาเบ

9. นายมูกาเบใช้ภรรยาเป็นร่างทรงทางการเมือง จากการที่ช่วงปี 2013 ความนิยมในตัวมูกาเบลดลง ประกอบกับใช้กำลังในการเขาปราบปรามฝ่ายตรงข้าม นางเกรซ มูกาเบ ภรรยาคนที่สองของเขาถูกมองว่าจะเป็นผู้สืบทอดทางการเมืองของเขาที่ขณะนั้นเขาอายุ 89 ปีแล้ว แต่สุดท้ายก็ถูกคณะทหารทำรัฐประหารบีบให้มูกาเบต้องลงจากอำนาจในที่สุด