posttoday

ม็อบกับตำรวจรบแบบกองโจร ใครจะเป็นฝ่ายกำชัยชนะ

12 สิงหาคม 2562

ตอนนี้ตำรวจหันมาใช้วิธีเดียวกัน นั่นคือการรบจรยุทธ์ และยังพบจุดอ่อนที่คาดไม่ถึงอีกด้วย บทวิเคราะห์โดยกรกิจ ดิษฐาน

ตอนนี้ตำรวจหันมาใช้วิธีเดียวกัน นั่นคือการรบจรยุทธ์ และยังพบจุดอ่อนที่คาดไม่ถึงอีกด้วย บทวิเคราะห์โดยกรกิจ ดิษฐาน

ช่วงแรกที่มีชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกง คนส่วนใหญ่ยังไม่ทันสังเกตว่าการเคลื่อนไหวไม่มีแกนนำ นั่นเพราะขบวนการนี้นัดแนะกันผ่านฟอรั่มออนไลน์ที่ชื่อ LIHKG ซึ่งเป็นศูนย์รวมของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย-ต่อต้านจีน และจากนั้นจะแพร่ข่าวแผ่นแอพลิเคชั่น Telegram หลัก 8 กลุ่มโดยมีการเสนอยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีกันผ่านฟอรั่มนี้ และแนวทางก็คือ "การรบแบบกองโจรโดยสันติ"

"การรบแบบกองโจรโดยสันติ" คือการปรากฎตัวที่เหมือนจะไม่ได้นัดหมาย แต่มาชุมนุมกันตามจุดที่บอกกล่าวอย่างรวดเร็วเหมือนแฟลชม็อบ ซึ่งเป็นวิธีที่คนรุ่นใหม่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เมื่อมาถึงที่หมายก็จัดการปักหลักนั่งชุมนุมไม่ยอมไปไหนเพื่อให้ตรงกับคอนเซปต์ "โดยสันติ"

เจตนาของผู้ชุมนุมก็คือ ทำให้ภาครัฐเป็นอัมพาตปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ และการขัดขวางภาครัฐโดยไม่ใช้ความรุนแรง และไม่ส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ จะทำให้ชาวฮ่องกงทั่วไปรู้สึกสงสารและเห็นใจ

ช่วงนี้ตำรวจยังไม่ทำอะไรรุนแรง

แต่พอผ่านไป 1 เดือนกองโจรรักสันติก็เริ่มกลายสภาพเป็นการชุมนุมที่รุนแรงขึ้น ความรู้เห็นใจอาจจะเพิ่มขึ้น แต่ความรู้รำคาญและเป็นปฏิปักษ์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

จากการประท้วงที่ทำการรัฐบาล นำไปสู่การขัดขวางการขนส่งสาธารณะ และจากความรู้สึกเกรงใจไม่อยากให้คนอื่นๆ เดือดร้อน กลายเป็นการเรียกร้องให้คนอื่นๆ เห็นใจพวกเขาโดยอ้างว่าพวกเขากำลังสู้เพื่ออนาคตของฮ่องกง

เหตุที่การประท้วงรุนแรง ช่วงนี้ตำรวจจึงใช้กำลังรุนแรงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทำให้รัฐบาลและตำรวจเสียความชอบธรรม หลังจากนั้นตำรวจจึงเริ่มตอบโต้น้อยลง ผู้ประม้วงก็เริ่มเหนื่อยนใจ และหันมาใช้วิธีที่น่ารำคาญมากขึ้น เช่นไปอัดกันอยู่ในสนามบิน

กลยุทธ์ไร้แกนนำยังทำให้การชุมนุมยืดเยื้อต่อไปได้ เพราะในเมื่อแกนนำไม่มี ก็ไม่มีประโยชน์ที่ตำรวจจะไล่จับแกนนำเพื่อสลายการชุมนุม

ตอนนี้ ผู้ประท้วงยังคงเน้นย้ำในยุทธวิธีการรบจรยุทธ์+แฟลชม็อบ คือมาเร็วสลายเร็ว ไปโฟล่ในที่ต่างๆ อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความปั่นป่วนให้ตำรวจ

เหมาเจ๋อตงบอกว่า การรบแบบกองโจรต้องเป็นอิสระจากผู้นำระดับสูง เพื่อที่ะจรับกับสถานการณ์ที่ได้การชี้นำได้ แต่กองโจรจะต้องมีอุดมการณ์นำทาง ผู้ประท้วงฮ่องกงที่ไร้แกนนำ ต่างก็นำด้วยอุดมการณ์เดียวกัน ดังนั้นจึงเคลื่อนที่ด้วยความสามัคคี แต่กับการชุมนุมที่ฮ่องกงมันเป็นอย่างนั้นจริงหรือ?

ปรากฎว่าตำรวจไม่ได้หัวปั่นตามการรบแบบจรยุทธ์ที่อ่อนด้อย แถมตอนนี้ตำรวจหันมาใช้วิธีเดียวกัน นั่นคือการรบจรยุทธ์ และยังพบจุดอ่อนที่คาดไม่ถึงอีกด้วย

มีรายงานว่า ตำรวจหน่วยพิเศษหรือ STS ของฮ่องกง ได้ปลอมตัวเป็นม็อบชุดดำ แทรกซึมเข้าไปในกลุ่มที่เป็นมันสมองของการประม้วง จากนั้นค่อยลากตัวออกมาจับกุม ตอนนี้จับได้หลายรายแล้ว (15 คน เฉพาะวันอาทิตย์) แสดงให้เห็นว่าการรบแบบไม่มีแกนนำ จริงๆ แล้วมีผู้นำ และเมื่อผู้นำถูกพบตัว มันจึงกลายเป็นจุดอ่อนไปในทันที

แกนนำพวกนี้ ไม่เชิงเป็นกุนซือหรือแม่ทัพ แต่เป็นหน่วยกล้าตายที่เรียกว่า ผู้สละชีพ (martyrs) หรือทีมชมพู (pink team) มีจำนวนประมาณ 300 คน หลังจากถูกรวบตัวแล้ว ถูกส่งไปยังหน่วยใกล้กับชายแดนจีน เพื่อป้องกันไม่ให้สถานีตำรวจถูกปิดล้อม

การแทรกซึมยังทำได้ง่าย เพราะผู้ประท้วงพร้อมใจกันสวมหน้ากากเพื่อปิดบังตัวตน แต่ทำให้คนนอกเข้าไป "มั่ว" ได้ง่าย นี่เป็นอีกหนึ่งภูมิคุ้มกันที่กำลังทำลายตัวเอง

หัวใจของการรบจรยุทธ์คือกองกำลังต้องเล็ก คล่องตัว เข้าโจมตีเร็ว ถอนตัวเร็ว แต่การประท้วงในฮ่องกงมีคนมากมาย ทั้งยังเริ่มอ่อนล้า และสิ้นหวังเพราะรัฐบาลไม่ยอมทำอะไร ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มกลายเป็นเหยื่อของการรบจรยุทธ์เสียอีก ส่วนตำรวจเคยอุ้ยอ้ายเพราะต้องแบกเครื่องมือปราบจลาจลที่หนักอึ้ง แต่ตอนนี้แค่ส่ง "กองโจร" เข้า แล้วลากตัวทัพหน้าออกมาเชือดทีละคน

อย่าลืมว่า ผู้ประท้วงกำลังรบกับฝ่ายที่มีจีนอยู่เบื้องหลัง โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้นเคยเป็นหนึ่งในด้านการรบจรยุทธ์ และเอาชนะศัตรูมาได้หลายต่อหลายครั้งด้วยวิธีนี้ แม้ทุกวันนี้จะไม่ได้รบด้วยวิธีดังกล่าว แต่ใครจะปฏิเสธเครดิตของจีนได้?

ม็อบไม่มีผู้นำไม่เป็นไร แต่เมื่อไร้คนกล้าเป็นทัพหน้า ผู้ชุมุนมก็อาจใช้วิธีรบแบบนั่งปักหลักอีกครั้ง พวกเขาอาจจะไปต่อไหวเพราะยังหนุ่มสาว แต่คนอายุมากๆ ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องคงจะทนไม่ไหว

สังคมฮ่องกงตอนนี้ไม่ใช่แค่แตกแยกระหว่างกลุ่มต้านจีนกับกลุ่มเอาจีน แต่กลายเป็นความแตกแยนกระหว่างคนหนุ่มสาวกับคนรุ่นอาวุโส เพราะผู้ประม้วงส่วนใหญ่เป็นคนวัยกลัดมัน

จากภาพที่เห็นเราจะพอประเมินด้วยสายตาได้ว่า ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนวัยหนุ่มสาวทั้งนั้น และล่าสุดวันนี้ (12 สิงหาคม) มีผลการสำรวจยืนยันแล้วว่าข้อสังเกตดังกล่าวถูกต้อง โดยการวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Francis Lee Lap-fung และคณะพบว่า 57.7% ของผู้ประท้วงมีอายุต่ำกว่า 30 ปี และ 26% อายุระหว่าง 20 - 24 ปี แค่ 18% ที่อายุมากกว่า 45 ปี

คนหนุ่มสาวอาจจะยังไปต่อไหว แต่ความแตกแยกกับคนสูงสัยกว่าเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อ้างอิง

Hong Kong’s ‘leaderless’ protest movement looks to minimise public’s wrath through peaceful and organised non-cooperation. (23 Jun, 2019). South China Morning Post.

Young, educated and middle class: first field study of Hong Kong protesters reveals demographic trends. (12 Aug, 2019). South China Morning Post.

Elite police ‘raptor’ squad went undercover to target radical Hong Kong protesters, insiders say. (12 Aug, 2019). South China Morning Post.