posttoday

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง

16 เมษายน 2562

ชมภาพวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน ส่งท้ายเทศกาลสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ร่วมกันของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เทศกาลสงกรานต์ หรือปีใหม่ลาว ที่เมืองหลวงพระบาง มีประเพณีหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ คือการแห่ปู่เยอ ย่าเยอไปรอบๆ เมืองเพื่อความเป็นสิริมงคล ปู่เยอ ย่าเยอ เป็นตัวแทนบรรพบุรษของชาวลาวหลวงพระบาง มีการทำสัญลักษณ์เป็นหัวโขนใบหน้ากลมใหญ่ หัวโขนทําด้วยไม้ประดู่ทาสีแดง มีสินผมยาวทำจากเชือกฟั่น ปู่เยอ ย่าเยอมีบริวารติดตามมาด้วยคือสิงห์แก้ว มีหัวโขนเป็นรูปสิงห์และมีขนยาวทำจากเชือกฟั่นเช่นกัน

ในสมัยที่ลาวยังอยู่ภายใต้ระบอบกษัตริย์ ซึ่งเจ้ามหาชีวิตเป็นประมุข จะทำพิธีกรรมเลี้ยง ผีปู่เยอ ย่าเยอ ในฐานะที่เป็นผีบรรพบุรุษ เป็นเทวดาหลวง และผีอารักษ์เมือง โดยจะจัดขึ้นเป็นประจําทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณความดีของผีบรรพบุรุษ ผู้ประกอบพิธีคือชาวบ้าน แต่งานพิธีได้รับการอุปถัมภ์จากราชสำนัก

ตามปกติการแห่ปู่เยอ ย่าเยอ จะทำกันในช่วงสงกรานต์เท่านั้น ชุดของขบวนแห่จะเก็บรักษาไว้หอปู่เยอ ย่าเยอที่วัดอาฮาม ในเมืองหลวงพระบาง

ในพงศาวดารล้านช้าง ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การสร้างประเทศลาวยุคโบราณ เล่าว่า ขุนบรมราชาธิราช หรือ ขุนบรม ซึ่งเป็นต้นตระกูลของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในตำนานของชาวลาวปัจจุบัน ประทับอยู่ที่เมืองแถน ยังไม่ทันสร้างบ้านแปงเมืองแล้วเสร็จ ก็เกิดมีเครือเขากาด หรือเถาวัลย์ขนาดใหญ่สูงขึ้นได้หนึ่งโยชน์ มีกิ่งก้านปกคลุมเมืองแถน จนเกิดความหนาวเย็น ไม่เห็นดวงตะวัน ทำนาทำไร่ก็ไม่ได้

ขุนบรมจึงให้คนไปตัดไปฟันเสีย แต่คนเหล่านั้นไม่อาจตัดได้ เวลานั้นยังมีผู้เฒ่าสองคน ผู้หนึ่งชื่อว่าเฒ่าเยอ ผู้หนึ่งชื่อว่าเฒ่ายา อาสาไปฟันเครือเขากาดต้นนั้น ก่อนไปก็สั่งเสียว่า หากทั้ง 2 ตายไป ให้คนทั้งหลายเซ่นสรวงวิญญาณพวกเขา ก่อนจะกินอาหารหรือทำการอะไรให้เซ่นหรือบอกกล่าวก่อน คนทั้งหลายก็รับปาก ผู้เฒ่าทั้ง 2 จึงแบกขวานไปฟันเครือเขากาดนาน 3 เดือน 3 วัน เครือเขากาดก็ล้มลงพร้อมๆ กับที่ผู้เฒ่าทั้งสองสิ้นใจพอดี หลังจากนั้นคนทั้งหลายจึงทำการเซ่นสรวงบูชา ถือเป็นเทวดาอารักษ์หรือผีบรรพบุรุษ และเรียกว่า ปู่เยอ ย่าเยอ จะทำการสิ่งใดหรือกินอาหารจะต้องบอกกล่าวแล้วถวายเครื่องเซ่นก่อน

นอกจากนี้ยังมีอีกตำนานหนึ่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือดุจดวงแก้วแจ่มจรัสวัฒนธรรม ว่า "มีนิทานเกี่ยวกับปู่เยออย่าเยอ เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยก่อนคนกับผีอยู่ปะปนกัน มีเขตแดน 2 เขต คือ เขตบกและเขตน้ำ เขตบกมีสิงคะโลก (สิงโต) มีอิทธิพล เขตน้ำมีช้าง คล้ายๆ กับหมู (ตรงนี้พิกล ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าจะฟังผิดหรือไม่ จริงๆ แล้วช้างกับหมู่ก็ปนๆ กันอยู่ปีนักษัตร ที่เราว่าปีกุนหมูนั้น บางวัฒนธรรมเขาว่าปีช้าง) ร้ายกาจที่สุด กินคน ร้อนถึงพระอินทร์ต้องส่งคนมาปราบ คนนั้นเป็นฤษีชื่อเรียกกันว่าปู่เฒ่าเจ้าหลวง อยู่บริเวณพูซวง แต่มีข้อแม้ว่าถ้าปราบสัตว์ได้ คนปราบก็ต้องตายเหมือนกัน แต่ก่อนจะตายได้อธิษฐานว่าขอให้ประชาชนคิดฮอดคิดถึงจึงได้เกิดเป็นปู่เยออย่าเยอ"

อ้างอิง

  • ความสัมพันธ์ระหว่างล้านนา - ล้านช้าง: การศึกษาเปรียบเทียบประเพณี 12 เดือน. สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2003 หน้า 78
  • เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระ. ดุจดวงแก้วแจ่มจรัสวัฒนธรรม : หนังสืออ่านเพิ่มเติม สังคมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา กรุงเทพฯ : ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ, 2534
  • พงศาวดารล้านช้าง. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2457

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF

แห่ "ปู่เยอ ย่าเยอ" บรรพบุรุษแห่งเมืองหลวงพระบาง Photo by Manan VATSYAYANA / AF