posttoday

นักวิทย์ประสบความสำเร็จปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหัวใจในใบผักโขม

28 มีนาคม 2560

ใบผักโขมสามารถใช้เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหัวใจได้ สร้างความหวังใหม่ให้แก่บรรดาผู้ป่วยที่รอการรักษา

ใบผักโขมสามารถใช้เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหัวใจได้ สร้างความหวังใหม่ให้แก่บรรดาผู้ป่วยที่รอการรักษา 

ในอนาคตข้างหน้ามนุษย์เราอาจไม่ต้องใช้วัสดุแปลกใหม่ในการปลูกถ่ายอวัยวะอีกแล้ว เพราะล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์สาขาโปลีเทคนิค จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล แมดิสัน ได้เปลี่ยนใบผักโขม หนึ่งในเมนูโปรดของใครหลายคนเป็นฟาร์มปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหัวใจได้สำเร็จ

กระบวนการเริ่มต้นที่การนำเซลล์พืชออกจากใบไม้ เหลือไว้แต่โครงสร้างของเซลลูโลสเท่านั้น จากนั้นก็ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของเซลล์หัวใจมนุษย์ลงไป ซึ่งผลที่ได้นั้นพบว่าภายในของใบผักโขมนั้นเป็นสถานที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อหัวใจ และเซลล์สามารถทำงานลำเลียงของเหลวผ่านท่อที่อยู่ภายในใบผักโขมได้

วิธีการใหม่นี้เป็นความหวังให้แก่บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาหัวใจบกพร่องหรือผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในอนาคต แต่เดิมเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติสามารถพิมพ์เนื้อเยื่ออวัยวะขึ้นมาได้แล้ว แต่สำหรับเนื้อเยื่อหัวใจนั้นเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อน การปลูกถ่ายในใบผักโขม และปล่อยให้เซลล์ได้เติบโตจึงเป็นวิธีการที่ดีกว่า ซ้ำยังไม่ต้องกังวลถึงปัญหาความเข้ากันได้ เนื่องจากทั้งคู่ล้วนเป็นเซลล์ตามธรรมชาติเหมือนกัน

ทั้งนี้ทีมนักวิทย์ได้ทำการทดลองการปลูกถ่ายกับพืชหลายชนิดเช่นใบของผักชีฝรั่ง หรือรากของถั่วลิสงเป็นต้น แต่พบว่าใบผักโขมนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไก็ดียังคงต้องศึกษา และทดลองอีกนานกว่าจะเริ่มต้นทดลองใช้กับมนุษย์จริง

นักวิทย์ประสบความสำเร็จปลูกถ่ายเนื้อเยื่อหัวใจในใบผักโขม