posttoday

เลือกตั้ง66: เปิด300นโยบายก้าวไกลตั้งเป้าเป็นรัฐบาลเปลี่ยนแปลงประเทศ

21 มีนาคม 2566

เปิด 300 นโยบายก้าวไกล ใช้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง66 หวังเป็นรัฐบาลพร้อมทำทันที ร่างรธน.ใหม่ นำทหารออกจากการเมือง โอนที่ดินกองทัพคืนประชาชน ยกเลิกขายเหล้า -ห้ามฆ่าสัตว์วันพระ เพิ่มเบี้ยคนพิการ 3,000 บาท

พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หลังมีพ.ร.ฏ.ยุบสภา เปิดนโยบายที่ใช้สำหรับการหาเสียงเลือกตั้ง66 มีจำนวนทั้งสิ้น 300นโยบาย เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเพราะมีปัญหาหนักเกินกว่าจะแก้ด้วยไม่กี่นโยบาย แต่ต้องแก้ไขทั้งระบบ ทั้งโครงสร้าง ดังนั้น ขอเสนอ 300 นโยบายก้าวไกล ที่พร้อมทำทันที 

พรรคก้าวไกลระบุว่า หากได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้เป็นรัฐบาลก้าวไกล จะสร้างประเทศไทยที่การเมืองดี  ปากท้องดี มีอนาคต สำหรับคนไทยทุกคนและหากประชาชนชื่นชอบนโยบายไหนของพรรคขอให้ช่วยกันแชร์เพื่อร่วมกันรณรงค์หาเสียงกับก้าวไกล

สำหรับ 300นโยบายพรรคก้าวไกล ที่น่าสนใจและเคยมีการนำเสนอออกมาแล้วก่อนนี้ มีทั้งนโยบายด้านการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และสวัสดิการประชาชน อาทิ 

การร่างรธน.ใหม่ทั้งฉบับ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมอย่างน้อย 3 ด้าน ปิดช่องรัฐประหารเพิ่มสิทธิของประชาชนในการต่อต้านรัฐประหาร และกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะรัฐประหาร ห้ามศาลทั้งปวงรับรองรัฐประหาร และกำหนดให้ทุกสถาบันทางการเมืองมีหน้าที่ร่วมกันในการปกป้องประชาธิปไตยห้ามนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร และเปิดช่องให้ประชาชนดำเนินคดีกับผู้ก่อรัฐประหารในความผิดฐานกบฎได้ เป็นต้น 

เอาทหารออกจากการเมือง แจกใบแดงนายพลให้ห้ามดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นเวลา 7 ปี หลังออกจากราชการ เพื่อไม่ให้เกิดการแทรกแซงการเมืองโดยกองทัพ หรือโดยอดีตนายพลที่ยังคงมีสายสัมพันธ์ในกองทัพ (ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่สหรัฐอเมริกาใช้สำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม)

คืนที่ดินกองทัพให้ประชาชน โอนการถือครองที่ดินกองทัพ (โดยเฉพาะค่ายทหารที่มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่น้อยลงจากการลดขนาดกองทัพ) กลับมาเป็นของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เพื่อให้การจัดสรรที่ดินเป็นประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ (เช่น ที่พักอาศัยใจกลางเมือง ที่ดินเพื่อการเกษตร ตลาด สวนสาธารณะ)

ขายเหล้าได้ตลอดวัน ยกเลิกการห้ามขายเหล้า-ฆ่าสัตว์ในวันพระ

- ยกเลิกการกำหนดระยะเวลาห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ประชาชนสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจำกัดสิทธิของประชาชนโดยเหตุผลแห่งศาสนา เช่น การห้ามขายสุราในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และการห้ามฆ่าสัตว์ใหญ่ในวันพระ
- การยกเลิกกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเพียงการยกเลิกกฎหมายที่จำกัดสิทธิของประชาชน ผู้ประกอบการยังมีสิทธิเลือกที่จะไม่ขายสุรา ไม่ฆ่าสัตว์ในวันพระได้ ไม่ได้เป็นการบังคับให้ผู้ประกอบการต้องขายสุราหรือฆ่าสัตว์ในวันพระ ดูน้อยลง

เงินคนพิการเดือนละ 3,000 บาท

- เพิ่มเบี้ยคนพิการให้เป็นอัตราเดียวถ้วนหน้า เดือนละ 3,000 บาท จากเดิมที่มีการจัดสรรเบี้ยยังชีพคนพิการในอัตราสูงสุดเพียง 1,000 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจน และเป็นรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ดูน้อยลง

ของขวัญแรกเกิด 3,000 บาท ซื้อของเลี้ยงลูก

- แจกคูปองให้พ่อแม่ของเด็กเกิดใหม่ มูลค่า 3,000 บาท เพื่อนำไปแลกซื้อสิ่งของสำหรับพัฒนาการเด็ก จากรายการสินค้าที่มีให้เลือกจำนวนมาก เช่น อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงเด็ก อุปกรณ์พัฒนาทักษะ หนังสือนิทาน ดูน้อยลง

ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกปี เริ่มทันทีวันละ 450 บาท

- ปรับระบบค่าแรงขั้นต่ำให้มีการปรับขึ้นทุกปีตามค่าครองชีพและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อให้แรงงานได้ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมจากการเติบโตของเศรษฐกิจ และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนธุรกิจของตัวเองในแต่ละปีได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
- เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เริ่มต้นที่วันละ 450 บาท เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อและดัชนีค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นทุกปีจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยที่ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ถูกประกาศใช้เมื่อปี 2554
- แบ่งเบาภาระค่าแรงที่สูงขึ้นสำหรับ SME ในช่วง 6 เดือนแรก โดยการที่รัฐช่วยสมทบค่าประกันสังคมในส่วนของผู้ว่าจ้าง สำหรับแรงงานที่ถูกกระทบโดยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ดูน้อยลง

ทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง/สัปดาห์ หากเกิน ต้องได้ OT

- กำหนดให้ต้องมีชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมง สำหรับงานทั่วไป และไม่เกิน 35 ชั่วโมง สำหรับงานอันตราย
- กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ และวันหยุดพักผ่อนประจำปีอย่างน้อย 10 วันทำงานต่อปี ดูน้อยลง

ประกันสังคมถ้วนหน้า เจ็บป่วยได้เงินชดเชย-ค่าเดินทางหาหมอ
- นำประชาชนวัยแรงงานทุกคนที่ยังไม่ได้เข้าระบบประกันสังคม (แรงงานนอกระบบ) เข้ามาสู่ระบบประกันสังคมถ้วนหน้า ด้วยการสมทบวันละ 1 บาท โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการเพิ่มงบประมาณจากการสมทบของภาครัฐ
- หากจำเป็นต้องลาพบแพทย์: ได้รับค่าชดเชยรายได้ 200 บาทต่อวัน และได้ค่าเดินทางพบแพทย์ 100 บาทต่อวัน
-หากลาคลอด: ได้รับเงินชดเชยรายได้ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน
-หากจำเป็นต้องหยุดงาน (เช่น หยุดตามประกาศของรัฐบาล): ได้รับเงินชดเชยรายได้ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 25 วันต่อปี
-หากเสียชีวิต: ได้รับค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ 10,000 บาท
- ยกเว้นเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับประชาชนที่ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ โดยรัฐจะสมทบฝ่ายเดียว ดูน้อยลง

บ้านตั้งตัว 350,000 หลัง รัฐช่วยผ่อน-เช่า

- รัฐบาลช่วยค่าผ่อนบ้าน สำหรับผู้ซื้อบ้าน-ที่พักอาศัยใหม่เป็นหลังแรก จำนวน 100,000 ราย ในอัตรา 2,500 บาท/เดือน เป็นระยะเวลา 30 ปี สำหรับบ้าน-ที่พักอาศัยราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านบาท
- รัฐบาลช่วยค่าเช่าบ้าน-ห้องพัก สำหรับผู้เช่าบ้าน-หอพัก จำนวน 250,000 ราย ในอัตรา 1,000 บาท/เดือน สำหรับบ้านเช่า-ห้องเช่าที่มีราคาไม่เกิน 4,000 บาท/เดือน ดูน้อยลง

คลิ๊กอ่าน300นโยบายก้าวไกล