posttoday

มหา'ลัยน่าห่วงละเมิดทางเพศพุ่ง

15 มกราคม 2556

สถาบันวิจัยสังคมมหิดลเผยแนวโน้มการละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยไทยสูงขึ้น ปี54 พบ27,000ราย ชี้กระบวนการร้องทุกข์ไม่ได้มาตรฐาน

สถาบันวิจัยสังคมมหิดลเผยแนวโน้มการละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยไทยสูงขึ้น ปี54 พบ27,000ราย ชี้กระบวนการร้องทุกข์ไม่ได้มาตรฐาน

รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล กรรมการบริหารสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุสาเหตุการละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยว่า มาจากการที่มหาวิทยาลัยยังมีกระบวนการการร้องทุกข์หรือศูนย์ร้องเรียนที่ยังไม่ได้มาตรฐาน และมีจรรณยาบรรณที่ไม่เด็ดขาดเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศรวมถึงมีการเน้นแค่ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาเท่านั้น ยังไม่รวมถึงกลุ่มบุคคลอื่น

อย่างไรก็ตามกรณีล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยยังเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนแต่เกิดผลกระทบทางลบสูง ซึ่งมักมีการเชื่อมโยงกับบริบททางสังคม ระบบอำนาจ เช่น อาจารย์-นักศึกษา นายจ้าง-ลูกจ้าง ระบบชายเป็นใหญ่ และยังมีข้อจำกัดในทัศนคติของการละเมิดทางเพศ ซึ่งควรมีการให้คำนิยามให้ชัดเจน

นางวิสา เบ็ญจะมโน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ตัวเลขสถิติของการละเมิดทางเพศในมหาวิทยาลัยมีว่าแนวโน้มที่สูงขึ้น ซึ่งล่าสุดเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา ข้อมูลจากศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีตัวเลขสูงถึง 27,000 รายต่อปี จากแนวโน้มที่สูงขึ้นนั้นทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งแต่เดิมนั้นได้มีกฎก.พ.ว่าด้วยการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุมกคามทางเพศ พ.ศ.2553 คุ้มครองเฉพาะข้าราชการพลเรือน แต่เนื่องจากสถานการณ์มีแนวโน้มจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ทางคณะกรรมการฯ ได้นโยบายทั้งเชิงรับและเชิงรุกในการแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ในเชิงรุกจะมียุทธศาสตร์ผลักดันให้คำว่า "การล่วงละเมิดทางเพศ" โดยในเบื้องต้นนั้นให้ให้ใช้นิยามคำว่า "ล่วงละเมิดทางเพศ" ตามกฎก.พ. และจะผลักดันให้ข้อกำหนดการล่วงละเมิดทางเพศเข้าไปอยู่ในพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ต่าง ๆ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน รวมถึงในกฎหมายอาญา ขณะที่ในเชิงตั้งรับทางคณะกรรมการฯ จะเปิดศูนย์เพื่อรับร้องเรียนกรณีล่วงละเมิดทางเพศ โดยจะมีคณะกรรมการทั้ง 7 คนเป็นผู้รับร้อง พิจารณาและให้ความช่วยเหลือ

นอกจากนี้ทางคณะกรรมการฯ ยังผลักดันในเรื่องของการละเมิดทางเพศเป็นประมวลจริยธรรมของสำนักงาน และพร้อมประกาศจะเป็นสำนักงานนำร่องในการปลอดการล่วงละเมิดทางเพศอีกด้วย

ด้านนางสาวคริสติน ฟิโอเล่ จากมหาวิทยาลัยมอนทาน่า สหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศในมหาวิยาลัยมอนทาน่าว่า ในสหรัฐฯ นั้น การที่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะได้งบประมาณมาบริหารงาน จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ และการล่วงละเมิดทางเพศก็ได้เป็นหนึ่งในเงื่อนไขหลักในการพิจารณาของรัฐบาลสหรัฐฯ หากว่าทางรัฐบาลมีการตรวจสอบ สืบสวนสอบสวนว่ามหาวิทยาลัยใด ๆ มีนักศึกษาร้องเรียนหรือถูกตรวจสอบว่าไม่ผ่านเงื่อนไข มหาวิทยาลัยนั้น ๆ ก็จะไม่ได้งบประมาณดังกล่าว

ขณะเดียวกันสิ่งที่สามารถเป็นการป้องกันปัญหาการถูกล่วงละเมิดทางเพศ ทางมหาวิทยาลัยได้มีโปรแกรมหลักสูตรภาคบังคับ PETSA (Personal Empowerment Through Self Awareness) โดยจะเป็นหลักสูตรให้นักศึกษาใหม่ได้ศึกษาเพื่อให้ตระหนักในปัญหาการละเมิดทางเพศ และต้องมีการสอบ หากสอบไม่ผ่านก็จะไม่มีการเลื่อนขั้นต่อไป นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังมีศูนย์รับเรื่องร้องเรียนที่มีมากว่า 20 ปี โดยมีหลักการในการร้องเรียน รวมทั้งมีกลไกที่ได้มาตรฐานของรัฐเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของนักศึกษาอีกด้วย