สตาร์ทอัพไทยเสนอรัฐบาลชุดใหม่ดันนโยบายเงินลงทุนเทียบเท่าสิงคโปร์
สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย เสนอรัฐ 7 ข้อ ผ่าน 3 ภารกิจ พัฒนากำลังคนดิจิทัล หนุนเงินลงทุนเทียบเท่าสิงคโปร์ ผลักดันสู่ตลาดต่างประเทศ
นายธนวิชญ์ ต้นกันยา นายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย เปิดตัววิสัยทัศน์เพื่อต่อสู้กับ "สงครามล่าอาณานิคมแบบ ไม่ใช้กําลัง" พร้อมเสนอแนวทางขับเคลื่อนสําคัญให้ภาครัฐ ว่า ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการแข่งขันในสิ่งที่ถูกเรียกว่า"สงครามล่าอาณานิคมแบบไม่ใช้ก่าลัง" เพื่อให้สตาร์ทอัพไทยสามารถ "Pioneers New Economy" นำพาประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่ที่ยั่งยืน
วิสัยทัศน์ของสมาคม มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่แนวคิดว่า ในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน สตาร์ทอัพกำลังต่อสู้เพื่อความอยู่รอดกับบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ซึ่งสงครามนี้ไม่ได้ใช้กำลัง แต่ใช้ พลังทางเศรษฐกิจและอิทธิพลเป็นอาวุธ
ข้อความสำคัญที่สมาคม ต้องการสื่อคือ "ถ้าเงินเท่ากัน Local ชนะ แต่เงินไม่เคยเท่ากัน" สตาร์ทอัพไทยเริ่มต้นด้วยความเสียเปรียบตั้งแต่ตัน สถานการณ์นี้เป็นการ "แพ้ตั้งแต่อยู่ในมุ้ง"
ถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายมากมาย แต่สมาคมเชื่อว่าประเทศไทยสามารถใช้จุดแข็งในด้านสุขภาพ อาหาร และการท่องเที่ยว ในการสร้างความได้เปรียบในตลาดโลกซึ่งเป็นภาคส่วนที่สตาร์ทอัพไทยสามารถสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่งต่างชาติได้
ธนวิชญ์ ต้นกันยา นายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย
สมาคมจึงมีข้อเสนอสำคัญต่อรัฐบาล 7 ข้อ ผ่าน 3 ภารกิจ ของสมาคม ประกอบด้วย
1. Manpower (กำลังคนด้านดิจิทัล) ควรเน้นการพัฒนาทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีสำหรับบุคลากร เพื่อให้เกิดการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในตลาดโลก ทั้งนี้ควรมีการสนับสนุนด้านการศึกษา การฝึกอบรมและการจัดโปรแกรมเร่งรัด ความรู้ด้านดิจิทัลที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
2. Money (การสนับสนุนด้านการเงิน)
เงินลงทุน: ควรจัดสรรเงินทุนให้เทียบเท่ากับประเทศชั้นนำอย่างสิงคโปร์ ซึ่งจัดสรรเงินลงทุนสูงถึง 200 ล้านบาทต่อบริษัทผ่านกองทุน Matching Fund ที่ร่วมลงทุนกับนักลงทุน ทีได้รับการรับรอง
เงินกู้: ควรมีการให้กู้ยืมแบบไม่ต้องมีสินทรัพย์ค้ำประกัน ผ่อนชำระ 5 ปี วงเงินสูงสุด 13 ล้านบาทต่อบริษัท
เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน: ควรบังคับใช้กฎหมาย Credit Term Guideline อย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้บริษัทใหญ่ต้องชำระเงินแก่คู่ค้าไม่เกิน 45 วัน โดยนโยบายนี้ไม่ต้องใช้เงินภาษีประชาชน
PO Financing: ใช้ใบสั่งซื้อเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ธุรกิจ
3. Market (การเข้าถึงตลาด)
ผลักดันสู่ตลาดต่างประเทศ: ควรผลักดันสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ตลาดต่างประเทศผ่าน เครือข่ายทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจไทยเติบโตในตลาดสากล
Thailand First : ควรกำหนดสัดส่วนงบประมาณด้านไอทีที่ต้องใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากสตาร์ทอัพไทย เพื่อส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจภายในประเทศ
ภารกิจของสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยชัดเจน เพื่อปกป้องอนาคตเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยการเสริมสร้างศักยภาพของสตาร์ทอัพไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ใน สงครามล่าอาณานิคมแบบไม่มีการใช้กำลังครั้งนี้ สมาคมมุ่งมั่นที่จะให้สตาร์ทอัพไทยไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง แต่ได้รับการสนับสนุนและทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้เติมโตอย่างยั่งยืน เป็น Pioneers New Economy สำหรับประเทศไทย