posttoday

ฮ่องกง เผย สตาร์ทอัพไทย ศักยภาพสูง เตรียมดึงเข้าตลาดฮ่องกงภายในปีนี้

03 พฤษภาคม 2567

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง หรือ HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ เผย ประเทศไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง หรือ HKSTP เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีระบบนิเวศด้านการวิจัยและพัฒนาใหญ่ที่สุดของฮ่องกง และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation and Technology: I&T) ในฐานะศูนย์บ่มเพาะบริษัทและ Startup ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงของฮ่องกง HKSTP มุ่งเน้นให้การวิจัยและพัฒนาในฮ่องกงที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรม จัดงานการแข่งขัน Flagship Global Lift Pitch (EPIC 2024) เพื่อให้สตาร์ทอัพจากทั่วโลกได้แสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี และถือเป็นหลักชัยสำคัญในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก โดยให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในหลากหลายสาขาอุตสาหกรรม ตั้งแต่เทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ไปจนถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพ นวัตกรรมด้านพลังงาน นอกจากนี้ยังมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูง พร้อมเตรียมวางแผนขยายตลาดไปยังสตาร์ทอัพไทย เพื่อดึงเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะสตาร์ทอัพหวังเปิดโอกาสให้สามารถสตาร์ทอัพไทยสามารถขยายออกไปในต่างประเทศได้  

นายอัลเบิร์ต หว่อง ผู้บริหารระดับสูงของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฮ่องกง หรือ HKSTP กล่าวว่า การจัดงานนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนและสร้างนวัตกรรมและระบบนิเวศเทคโนโลยีที่สามารถดึงดูดผู้มีความสามารถ และเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ บิ๊กดาต้า และปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ วัสดุใหม่ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การเงิน เทคโนโลยีและความยั่งยืน HKSTP ต้องการให้โลกรู้ว่าฮ่องกงเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาระดับนานาชาติ และสามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกให้เห็นว่ามีโอกาสอะไรในเอเชีย

การแข่งขัน EPIC 2024 ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ และถือเป็นรอบชิงชนะเลิศครั้งแรกที่ปิดฉากการแข่งขันรอบรองชนะเลิศของทั้งสี่เมืองทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย  EPIC 2024 ดึงดูดผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 603 รายจาก 47 ประเทศ ฮ่องกงถือเป็นประเทศศูนย์กลางนวัตกรรมชั้นนำระดับโลก และไอเดียสำหรับสตาร์ทอัพที่มีพันธกิจที่จะเติบโตในเอเชียและก้าวไปสู่ระดับโลก

นอกจากนี้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยยังคงเป็นเป้าหมายต่อไปของ HKSTP  สำหรับการขยายธุรกิจมายังสตาร์ทอัพไทยในด้านการก่อสร้าง ส่วนแผนการเพิ่มศักยภาพสตาร์ทอัพไทยจะเป็นการดึงให้สตาร์ทอัพไทยเข้าร่วมในโครงการบ่อเพาะของฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่กว่าเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ได้ 

เช่นเดียวกับประเทศไทย บริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งในฮ่องกงต้องเผชิญกับความยากลำบากในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเงินทุน การโฆษณา และการขยายธุรกิจในต่างประเทศเพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ โดยโครงการบ่มเพาะของ HKSTP จะช่วยให้สตาร์ทอัพก้าวจากศูนย์ไปสู่การทำธุรกิจได้ สำหรับสตาร์ทอัพที่ยังไม่มีไอเดียจะได้รับการสนับสนุนเพื่อรับแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งการบ่มเพาะนี้จะทำให้สตาร์ทอัพได้รับอนุญาตให้พัฒนาผลิตภัณฑ์และ/หรือนวัตกรรมของตัวเอง นอกจากนี้ ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าและนักลงทุนได้หากการพัฒนาเป็นไปด้วยดี

สำหรับผู้ชนะจากงานการแข่งขัน Flagship Global Lift Pitch (EPIC 2024) ได้แก่ tozero GmbH ผู้ชนะประเภท Mobility Tech จากเยอรมนีเป็นสตาร์ทอัพเศรษฐกิจหมุนเวียนโดยมีแผนจะสร้างโรงงานรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนชั้นนำของยุโรป Bizbaz Pte ผู้ชนะประเภท FinTech. Ltd. และ Roboticplus.Al ผู้ชนะประเภท PropTech บริษัทเหล่านี้ได้รับรางวัลเป็นเงินสด ได้แก่ Tozero มูลค่า 80,000 เหรียญสหรัฐ (2.97 ล้านบาท) และรางวัล Bizbaz และ Roboticplus.AI มูลค่า 20,000 เหรียญสหรัฐ (742,000 บาท) นอกจากนี้ยังได้รับโอกาสในการเข้าถึงเงินทุนของนักลงทุนและการขยายธุรกิจในต่างประเทศด้วยการสนับสนุนจาก HKSTP

Sarah Fleischer ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง tozero GmbH ผู้ชนะประเภท Mobility Tech กล่าวว่า "การชนะ EPIC  นับเป็นความสำเร็จที่น่าอัศจรรย์ ฮ่องกงเป็นสถานที่ดีในการดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูง ขณะนี้ที่  tozero กําลังสร้างเครื่องรีไซเคิลแบตเตอรี่ ซึ่งจำเป็นต้องจ้างเอไอที่เก่งที่สุดและฮ่องกงก็เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการหาบุคลากรที่มีความสามารถ นอกจากนี้เรายังได้ไปเยือนเซินเจินผ่านโครงการ EPIC รวมถึงการพบปะกับบุคคลที่ทรงอิทธิพลและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดของฮ่องกง "

Hong Kong Science and Technology Parks Corporation (HKSTP) ก่อตั้งขึ้นในปี 2544 เพื่อสร้างระบบนิเวศ I&T ที่เจริญรุ่งเรือง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยมากกว่า 14,000 ราย และบริษัทเทคโนโลยีมากกว่า 1,700 แห่งจาก 27 ประเทศ และภูมิภาคที่มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพ, เอไอ และหุ่นยนต์ เทคโนโลยีทางด้านการเงิน  และเทคโนโลยีเมืองอัจฉริยะ ฯลฯ