posttoday

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

15 พฤษภาคม 2568

ท่ามกลางการตั้งคำถามเรื่อง ‘งบประมาณ’ ของ ‘สัปปายะสภาสถาน’ โพสต์ทูเดย์ขอพาชม ‘รัฐสภา’ เด่นทั่วโลก ทั้งสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณการก่อสร้าง รวมถึงของประเทศไทย!

4 อันดับรัฐสภาใช้งบประมาณก่อสร้างมากที่สุดในโลก

 

1.  Parliament House , Canberra หรือ รัฐสภาของประเทศออสเตรเลีย ออกแบบโดย Richard Johnson และสร้างขึ้นในปี 1988 อาคารรัฐสภาแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของการผสมผสานระหว่างความทันสมัยและความเป็นออสเตรเลีย

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

แนวคิดหลักของรัฐสภาแห่งนี้มาจากประโยคที่ว่า Government by the people คือ รัฐบาลอยู่ใต้ประชชาชน  พูดง่ายๆ คือ ประชาชนต้องอยู่เหนือรัฐสภา จึงทำให้การออกแบบอาคารถูกออกแบบให้ฝังตัวเข้ากับภูเขา Capital Hill ซึ่งมีจุดยุทธศาสตร์อยู่ใจกลางเมือง Canberra นอกจากนี้ยังทำหลังคาให้ประชาชนสามารถเดินขึ้นไปข้างบนได้ เพื่อสื่อให้เห็นว่าประชาชนยืนอยู่บนรัฐสภาตามแนวคิดการก่อสร้างด้วย

รัฐสภาของออสเตรเลียมีพื้นที่ใช้สอย 250,000 ตารางเมตร และใช้งบประมาณมากที่สุดในโลกคือ 1.1 พันล้านดอลลาห์สหรัฐฯ

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

2. Scottish Parliament Building หรือรัฐสภาของสกอตแลนด์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสเปน Enric Miralles และเปิดใช้งานเมื่อ 9 ตุลาคม 2004

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

แนวคิดของการออกแบบเพื่อสะท้อนภูมิประเทศต่างๆ ของสกอตแลนด์ในการออกแบบเช่น  รูปทรงที่ได้แรงบันดาลใจจากใบเรือ, เรือคว่ำ, ใบไม้ และการเคลื่อนไหวของผู้คน โดยได้รับรางวัลด้านสถาปัตยกรรมหลายรางวัล เช่น รางวัล Stirling Prize 2005 จาก Royal Institute of British Architects (RIBA)

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

อย่างไรก็ตาม รัฐสภาแห่งนี้มีเรื่องดราม่าและวิจารณ์จากงบประมาณการก่อสร้างที่เดิมตั้งไว้ที่ 40 ล้านปอนด์แต่ทะลุไปถึง 430 ล้านปอนด์ จนกลายเป็นรัฐสภาที่ใช้งบประมาณก่อสร้างเป็นอันดับ 2 ของโลก อันเกิดจากปัจจัยหลายประการเช่น การประเมินต้นทุนต่ำเกินจริง มีการเปลี่ยนแปลงการออกแบบหลายครั้ง วัสดุที่สั่งทำพิเศษ สถาปนิกเสียชีวิตระหว่างการก่อสร้าง และการเร่งให้สร้างเสร็จโดยเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุน รวมไปถึงการบริหารโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพ

 

3. สัปปายะสภาสถาน หรือ รัฐสภาของไทย ถือเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยพื้นที่ใช้สอยรวม 424,000 ตารางเมตร และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากอาคารเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา โดยมีจำนวนชั้นทั้งหมด 11 ชั้น ใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 2.2 หมื่นล้านบาท  เป็นอันดับที่ 3 ของโลกใช้เวลาก่อสร้างราว 8 ปี ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

แนวคิดการออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากคติไตรภูมิ โดยมีเจดีย์จุฬามณีสูง 46 เมตร ตั้งอยู่กลางอาคาร เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ และประดิษฐานพระสยามเทวาธิราชไว้บนยอดเจดีย์ ภายในอาคารแบ่งออกเป็นห้องประชุมหลัก ที่มีชื่อว่า ห้องสุริยันสำหรับสภาผู้แทนราษฎร และห้องจันทรา สำหรับวุฒิสภา

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

4. New Parliament Building หรือ รัฐสภาอินเดีย เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2023 โดยนายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี

ออกแบบภายใต้แนวคิด Trinity  ซึ่งหมายถึงองค์ประกอบสำคัญสามประการในวัฒนธรรมของอินเดีย ได้แก่ ธรรมะ อารตะ และ กามะ อันเชื่อมโยงกับแนวคิดพลังจักรวาล การก่อสร้างใช้วัสดุจากทั่วประเทศ เช่น หินจากรัฐราชสถาน หรืองานหัตถกรรมจากอุตรประเทศ เป็นต้น และยังเป็นรัฐสภาที่มีระบบการประชุมแบบไม่ใช้กระดาษอีกด้วย

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

อย่างไรก็ตามระหว่างพิธีเปิด ฝ่ายค้านบางพรรคไม่เข้าร่วมพิธีเนื่องจากการก่อสร้างไม่มีการปรึกษาสาธารณะก่อนการก่อสร้าง โดยใช้งบประมาณก่อสร้างทั้งสิ้น 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับที่ 4 ของโลก

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

 

รัฐสภาอื่นๆ ที่น่าสนใจทั้งประวัติความเป็นมาและรูปแบบสถาปัตยกรรม

 

1. Palace of Westminster รัฐสภาของสหราชอาณาจักร  อาคารนี้ตั้งอยู่ในลอนดอนและเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Houses of Parliament ซึ่งเป็นที่ตั้งของทั้ง House of Commons และ House of Lords สถาปัตยกรรมสไตล์โกธิคมีความงดงามและเป็นสัญลักษณ์ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในสหราชอาณาจักร สร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 และผ่านการปรับปรุงหลายครั้ง โดยเฉพาะหลังจากที่อาคารเดิมถูกไฟไหม้ในปี 1834 และสร้างใหม่โดยใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่ ปี 1840 ถึง 1876

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

ส่วนประกอบที่รู้จักกันดีคือ หอนาฬิกา Big Ben หรือ Elizabeth Tower ซึ่งตั้งชื่อใหม่ในปี 2012 เพื่อเฉลิมฉลองพระราชินีเอลิซาเบธที่ 2 ครองราชย์ครบ 60 ปี ยืนเด่นเป็นสง่า โดยอาคารนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก โดยองค์การยูเนสโกในปี 1987

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

2. Reichstag หรือ รัฐสภาเยอรมนี สร้างขึ้นในปี 1894 ออกแบบโดย Paul Wallot ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอเรอเนซองส์ (Neo-Renaissance) อาคารแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองของเยอรมนี  เนื่องจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงท้ายสงครามมีการปะทะกันอย่างดุเดือดระหว่างกองทัพแดงของโซเวียตกับนาซีเยอรมันที่อาคารนี้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การล่มสลายของพรรคนาซี

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

หลังจากนั้นอาคารถูกทิ้งร้าง ในยุคที่เยอรมนีแบ่งออกเป็นตะวันตกและตะวันออก อาคารนี้อยู่ฝั่งตะวันตกและไม่ได้ใช้งานเป็นรัฐสภาแต่งอย่างใด จวบจนการรวมประเทศอีกครั้งในปี 1990 อาคารแห่งนี้จึงได้รับการบูรณะและถูกใช้เป็นรัฐสภาอีกครั้ง

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

การออกแบบมีจุดเด่นที่ หลังคากระจกที่ออกแบบโดย Sir Norman Foster ซึ่งเพิ่มขึ้นมาในช่วงการบูรณะครั้งใหญ่ ซึ่งช่วยให้ผู้คนสามารถมองเห็นการประชุมของรัฐสภาได้จากด้านบน จนได้รับการยกย่องในด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมที่สามารถผสมผสานสัญลักษณ์ของอดีตและความทันสมัย

 

3. Parliament Hill หรือ รัฐสภาแคนาดา  ตั้งอยู่ในออตตาวา อาคารนี้สร้างขึ้นในปี 1859 และเป็นที่ตั้งของรัฐบาลแคนาดา

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

จุดเด่นการออกแบบคือ มียอดหอคอย Peace Tower ตั้งขึ้นเพื่อ รำลึกถึงชาวแคนาดาที่เสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914–1918) ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของแคนาดา อาคารหลังนี้ยังโดดเด่นด้วยงานสถาปัตยกรรมในสไตล์นีโอโกธิค ซึ่งสื่อถึงความมั่นคงและศรัทธาในค่านิยมแบบประชาธิปไตย

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

 

4. United States Capitol หรือ รัฐสภาสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นที่ทำการของ สภาคองเกรสสหรัฐฯ ซึ่งประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) ออกแบบโดย Dr. William Thornton สถาปนิกสมัครเล่นชาวหมู่เกาะเวอร์จิน  ที่ออกแบบตามสไตล์นีโอคลาสสิก ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมกรีกและโรมัน โดยใช้หินอ่อนสีขาวและวัสดุจาหลายรัฐทั่วประเทศ ส่วนสำคัญที่โดดเด่นคือโดมตรงกลาง ซึ่งเป็นการก่อสร้างเพิ่มเติมในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยใช้เหล็กหล่อ เป็นผลงานของ Thomas U. Walter

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ

 

โดยรัฐสภาแห่งนี้จะประกอบพิธีสาบานตนของประธานาธิบดีเสมอ และยังเคยถูกจัดเป็นพิธีการวางร่างของบุคคลสำคัญไว้เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าร่วมแสดงความไว้อาลัยอย่างเป็นทางการก่อนที่จะมีพิธีฌาปนกิจ ซึ่งบุคคลสำคัญเหล่านั้น เช่น อับราฮัม ลินคอล์น ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้  จอห์น เอฟ.เคนเนดี  โรนัลด์ เรแกน  เป็นต้น

 

ท่อง ‘รัฐสภา’ ทั่วโลก จัดเต็มสถาปัตยกรรม อารยธรรม และงบประมาณ