“นฤตม์ เลขาบีโอไอ” หนุนดันกรุงเทพฯ “ฮับธุรกิจอาเซียน”
บีโอไอ เดินหน้าปั้นไทยเมืองอัจฉริยะ ถก ชัชชาติ ผู้ว่ากทม. ดันกรุงเทพฯ สู่ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ หวังดึงดูดลงทุน Smart city
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวภายในงานสัมมนา “THAILAND SMART CITY 2025” ภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนา Smart city” ซึ่งจัดโดยสำนักข่าวโพสต์ทูเดย์ สปริงนิวส์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ว่า ที่ผ่านมรัฐบาลให้ความสำคัญกับ Smart city รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ไม่ว่าเป็น AI เทคโนโยลี อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ในการทำธุรกิจมากขึ้น เช่นเดียวกับ บีโอไอ ได้ให้ความสำคัญผลักดันให้ Smart city เกิดขึ้นได้จริง
นอกเหนือจากมิติพัฒนา Smart city บีโอไอมีโอกาสหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ถึงการพัฒนากทม.ให้มีความเป็น Smart city เพื่อดึงดูดให้บริษัทชั้นนำในต่างประเทศเข้ามาลงทุน ตั้งกิจการ หรือ สำนักงานในไทย โดยใช้กทม.เป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาหลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ไทยมีบริษัทชั้นนำในต่างประเทศใช้ไทยเป็นฐานในการกำกับดูแลบริษัทลูกในประเทศอื่นๆ อย่างเช่น อโกด้า ที่มีจ้างบุคคลกรมากถึง 3,000 คน ครึ่งหนึ่งเป็นต่างชาติ ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันกับคนไทย มีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังมี บริษัท เอ็กซอนโมบิล และบริษัทหัวเว่ย และบริษัทชั้นนำอีกมาก ที่ใช้ไทยเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจ
ตัวอย่างของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ประเทศไทยโดยกทม.มีความเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงเมืองในภูมิภาคต่างๆของกทม. ที่เป็น Community ในหลายจุดที่เป็น Smart city เช่น โครงการ One Bangkok ซึ่งโครงการเหล่านี้จะช่วยอัพเกรดประเทศ และความเป็นอยู่ของคนไทย โดยบีโอไอยินดีสนับสนุนให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
นายนฤตม์ ยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันบีโอไอมีเครื่องมือในการสนับสนุนการลงทุนแบบครบวงจร ตั้งแต่กำหนดนโยบาย มาตรการ จนไปถึงสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี อาทิ บริการทางการเงิน การให้คำปรึกษา รวมไปถึงจัดหาซัพพรายเออร์ และอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
สำหรับเรื่องภาษี มีการยกเว้นรายได้ให้สำหรับนิติบุคคล ยกเว้นอากรเครื่องจักร วัตถุดิบ สินค้านำเข้า ส่วนมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี เช่น การอนุญาตให้ถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม การอำนวยความสะดวกวีซ่า Work Permit โดยธุรกิจที่อยู่ในขอบข่ายที่ได้รับมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ มีตั้งแต่ภาคการเกตร อาหาร อุตสาหกรรมการผลิต ไปจนถึงภาคบริการ
โดยในส่วนของ Smart city เราจัดอยู่ในหมวดดิจิทัล เนื่องจากอยู่ในหมวดที่ทำงานร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และDepa โดยมาตรการหลักในการส่งเสริม Smart city จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ การพัฒนา developer ในกลุ่ม Smart city หรือระบบที่อยู่ใต้แต่ละเมือง สำหรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ Smart city คือ ต้องเป็นสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน รวมทั้งต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร เพื่อมีความพร้อมรองรับระบบอัจริยะต่างๆ โดยกำหนดให้ต้องมีระบบ Smart city Environment และ ระบบด้านอื่นๆอย่างน้อยอีก 1 ด้าน ที่สำคัญแต่ละมีเมืองต้องมี Open Data Platform เพื่อให้มีฐานข้อมูลในการนำมาพัฒนาเมือง และต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น/แผนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น
ในส่วนสิทธิประโยชน์ ที่บีโอไอให้กับนักลงทุนถือว่าอยู่ในระดับสูง โดยยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 8 ปี โดยต้องอยู่ในพื้นที่อีอีซี จะลดหนอยภาษี 50% เพิ่มอีก 5 ปี รวมทั้งยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร อนุญาตใหนำ Expat เข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมได้
นอกจากนี้บีโอไอยังมีมาตรการส่งเสริม Smart city อีกหลายด้าน ตามที่คณะกรรมการฯ ได้กำหนดความสมาร์ทไว้ใน 7 ด้าน ซึ่งการพัฒนาเมืองต้องอัพเกรดควบคู่ 2 ด้าน คือ สมาร์ท และ ความยั่งยืน ด้านแรกคือ ด้านพลังงาน ซึ่งบีโอไอได้ส่งเสริมทั้งผู้ผลิต และผู้ใช้ การผลิตพลังงานหมุนเวียน พลังงานลม ไบโอแก๊สที่เป็นเชื้อเพลิงทดแทนที่ รวมทั้งการส่งเสิรมกิจการให้ใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ไปจนถึงส่งเสริม SMART LIVING ด้านสุขภาพ เช่น การส่งเสริมศูนย์ทางการแพทย์ ร.พ.ทั่วไป ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ดีขึ้น และ Smart Economy โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในภาคธุรกิจมากขึ้น และ SMART GOVERNANCE เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการของภาครัฐได้โดยสะดวกโดยใช้เทคโลโยเข้ามาใช้ และ Smart People คือการสร้างคนไทยให้มีความพร้อม ขณะเดียวกันสนับสนุนให้มีการนำเข้าบุคลากรเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศ โดยมีการพัฒนาศูนย์การศึกษา การจัดฝึกอบรม การดึงดูให้คนเข้ามาอยู่และทำธุรกิจในประเทศไทย ผ่านมาตรการทางวีซ่าต่างๆ ร่วมทั้งการส่งเสริมติดตั้งแท่นชาร์ทไฟฟ้าให้มีความเพียงพอต่อความต้องการ สุดท้ายคือ SMART ENVIRONMENT คือ การกำจัด หรือบำบัดของเสีย รวมทั้งการนำเชื้อเพลิงจากขยะมาผลิตเป็นไฟฟ้าด้วย
ทั้งหมดจะเห็นว่า บีโอไอมีมาตรการส่งเสริมที่ครอบคลุมในทุกมิติในความเป็นเมืองสมาร์ท เพื่อผลักดันให้ Smart city เกิดขึ้นได้จริง และเป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด