posttoday

ประชาชนแห่ลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

18 มกราคม 2567

จากปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่หนักทุกปีและยังไม่มีหน่วยงานไหนแก้ไขได้อย่างจริงจัง รวมถึงความปลอดภัยในชีวิตของคนกรุงจากสิ่งก่อสร้าง ทำให้ประชาชนร่วมกันลงชื่อเพื่อตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ “ดร.เอ้” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  กทม. ลงพื้นที่ติดตามปัญหาฝุ่นพิษ และเชิญชวนประชาชนร่วมลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ ณ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ เยาวราช และมีประชาชนสนใจเข้าร่วมลงชื่อเป็นจำนวนมาก
 

ประชาชนแห่ลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

ประเด็นที่ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กทม. เน้นในการลงพื้นที่ครั้งนี้ มี 2 เรื่อง 

1.เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพราะมีข่าวทั้งคานร่วง สะพานถล่ม ถนนยุบ ล้อรถไฟฟ้าร่วงลงมา เป็นปัญหาที่เกิดซ้ำซาก และไม่มีใครคิดแก้ไขหรือป้องกัน 

2.เรื่องปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 ซึ่งพื้นที่เยาวราชถือเป็นใจกลางกรุงเทพมหานครพบค่าฝุ่นพิษเกินกว่าจุดอันตราย เช่นเดียวกับในหลายๆพื้นที่ในเขตกรุงเทพ  

ศ.ดร.สุชัชวีร์ เผยว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเพราะเราไม่มีองค์กรที่เป็นเจ้าภาพ เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนภาคประชาชนอย่างแท้จริง

"วันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ ต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนในพื้นที่เยาวราชและพื้นที่อื่นที่เห็นด้วยว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ เดินทางมาร่วมลงชื่อในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าภายในเดือนมกราคมนี้จะครบ 10,000 รายชื่อ เราจะเสนอพรบ.สำหรับประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชน เรื่องความปลอดภัยเข้าสู่สภา และคาดภายในสิ้นปีนี้หรือต้นปีหน้าเราจะได้กฎหมายเพื่อความปลอดภัย" ศ.ดร.สุชัชวีร์  กล่าว

ประชาชนแห่ลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ
 

“วันนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนประเทศไทย สังคมไทยต้องอยู่บนความปลอดภัย ไม่ใช่หวาดระแวงตลอดเวลา ทั้งเรื่องความปลอดภัย เรื่องฝุ่นพิษ เราจำเป็นต้องมีองค์กรที่เป็นตัวแทนพวกเราอย่างแท้จริง องค์กรเพื่อความปลอดภัยสาธารณะจะรับเรื่องร้องเรียน จะมีคนทำงานเต็มเวลาให้ประชาชน ไปติดตามและแก้ปัญหาให้เกิดความปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์คนกรุงเทพและคนทั่วประเทศไทย” 

ประชาชนแห่ลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ

สำหรับองค์กรเพื่อความปลอดภัยสาธารณะคือตัวแทนประชาชนที่จะลงพื้นที่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกที่เกิดเหตุและถอดบทเรียนเพื่อมาหาผู้กระทำผิดรับผิดชอบเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ และคุ้มครองดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินให้ได้รับการดูแลอย่างเป็นธรรม เพราะจากอดีตที่ผ่านมา เกิดเหตุภัยรุนแรง เช่น เหตุโรงงานระเบิดหลายต่อหลายครั้ง จนถึงล่าสุดเหตุระเบิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงมาก แต่เหตุการณ์ที่ผ่านมาเราไม่เคยได้รับคำตอบเลยเพราะไม่มีใครเข้าไปถอดบทเรียนอย่างจริงจัง
 

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 18 ม.ค.67 เวลา 12.00-14.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด)
    
- ตรวจวัดได้ 35.8-65.0 มคก./ลบ.ม.

 - ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 50.8 มคก./ลบ.ม.    

- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 68 พื้นที่ คือ 1.เขตราชเทวี 2.เขตสัมพันธวงศ์ 3.เขตพญาไท 4.เขตวังทองหลาง 5.เขตปทุมวัน 6.เขตบางรัก 7.เขตบางคอแหลม 8.เขตยานนาวา 9.เขตจตุจักร 10.เขตบางกะปิ 11.เขตลาดกระบัง 12.เขตธนบุรี 13.เขตคลองสาน 14.เขตบางกอกน้อย 15.เขตภาษีเจริญ 16.เขตบางเขน 17.เขตบางพลัด 18.เขตบางขุนเทียน 19.เขตพระนคร 20.เขตสาทร 21.เขตคลองเตย 22.เขตบางซื่อ 23.เขตหลักสี่ 24.เขตบึงกุ่ม 25.เขตสวนหลวง 26.เขตลาดพร้าว 27.เขตคลองสามวา 28.เขตสายไหม 29.เขตห้วยขวาง 30.เขตสะพานสูง 31.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย 32.เขตบางแค 33.เขตจอมทอง 34.เขตดอนเมือง 35.เขตดินแดง 36.เขตพระโขนง 37.เขตราษฎร์บูรณะ 38.เขตบางกอกใหญ่ 39.เขตตลิ่งชัน 40.เขตทวีวัฒนา 41.เขตดุสิต 42.เขตหนองแขม 43.เขตบางบอน 44.เขตทุ่งครุ 45.เขตวัฒนา 46.เขตบางนา 47.เขตคันนายาว 48.เขตมีนบุรี 49.เขตหนองจอก 50.เขตประเวศ 51.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร 52.สวนจตุจักร เขตจตุจักร 53.สวนหลวง ร.9 เขตประเวศ 54.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง 55.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย 56.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง 57.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ 58.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย 59.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร 60.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย 61.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม 62.สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค 63.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา 64.สวนหนองจอก เขตหนองจอก 65.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน 66.สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม 67.สวนสันติภาพ เขตราชเทวี 68.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด

🩺 ข้อแนะนำสุขภาพ:
🟠 คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ประชาชนแห่ลงชื่อจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อความปลอดภัยสาธารณะ