posttoday

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

17 พฤษภาคม 2565

ไบเออร์ แถลงผลการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2564 เป็นอีกหนึ่งปีที่สร้าง การเติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 4.8% และมียอดขายมากกว่า 5.8 พันล้านยูโร ภูมิภาคนี้มีสัดส่วนของยอดขายกว่า 1 ใน 3 ของยอดขายกลุ่มของไบเออร์ทั่วโลก เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565

แม้จะมีความท้าทายจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลไม่รวมประเทศจีนและญี่ปุ่นก็เติบโตที่ 1-2% ในตลาดของประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลี และไต้หวัน นอกจากนั้นประเทศที่มียอดขายเติบโตยังมาจากเอเชียใต้อีกด้วย โดยประเทศอินเดียมีการเติบโต 11% และปากีสถาน 2% ในขณะที่กลุ่มประเทศในอาเซียนมีการเติบโตเฉลี่ย 9% ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

ดร.อิง เฉน หัวหน้ากลุ่มปฏิบัติการการค้ากลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ปี 2564 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จสำหรับไบเออร์ ฟาร์มาซูติคอล เนื่องจากเรามุ่งเน้นและดำเนินการในเรื่องสำคัญๆ นั่นก็คือ การส่งมอบยาทั้งที่เป็นนวัตกรรมใหม่และยาที่จำเป็นแก่ผู้ป่วยในเอเชียแปซิฟิก แม้จะมีความท้าทายจากการระบาดใหญ่ก็ตาม การเติบโตที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของเราเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการส่งมอบคุณค่าของกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมของเราให้กับผู้ป่วยโรคต่างๆ ซึ่งมีความต้องการในระดับสูงแต่ยังไม่ได้รับการตอบสนอง”

ยอดขายที่ไม่รวมประเทศจีนและญี่ปุ่น สำหรับยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดชนิดรับประทาน (oral anticoagulant) ในเอเชียแปซิฟิกมีการเติบโตขึ้นอย่างมากถึง 12% ในปี 2564 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดขายยารักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุและโรคเบาหวาน (anti-VEGF) เพิ่มขึ้น 10% และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจนถึงปัจจุบัน

ในปี 2565 ไบเออร์ตั้งเป้าที่จะเพิ่มอัตราเติบโตยอดขายกลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลทั่วโลกประมาณ 3-4% ตามการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนและพอร์ตโฟลิโอ แนวโน้มตลาดสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเป็นไปในเชิงบวก โดยตามการคาดการณ์ของ IQVIA ตลาดฟาร์มาซูติคอลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ว่านี้จะเติบโตประมาณ เฉลี่ย 4-5% ในช่วงปี 2564 ถึง 2568

โดยปี 2565 กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเปิดตัว 4 นวัตกรรมยาใหม่ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็งในภูมิภาคนี้

โรคเรื้อรังและโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆทุกๆ ปีทั่วโลก มีประชากรถึง 15 ล้านคนเสียชีวิต ก่อนอายุ 70 จากโรคเรื้อรัง ซึ่งรวมถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน (1) นอกจากนี้ภายในปี 2593 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีประชากร 1 ใน 4 มีอายุมากกว่า 60 ปี (2) 

นอกจากนี้  การมีอายุที่มากขึ้นแล้ว ผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพยังมาจากความเสี่ยงด้านเมตาบอลิซึมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ดัชนีมวลกาย (BMI) สูง น้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งคิดเป็นเกือบ 20% ของการสูญเสียสุขภาพทั้งหมดทั่วโลกในปี 2562 (3) ความชุกของโรคเบาหวานมีเพิ่มขึ้นในเอเชียแปซิฟิก โดยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 70 ล้านคนในประเทศอินเดีย นอกจากนี้ทั่วโลก มีจำนวนผู้ใหญ่ 1 ใน 10 คนเป็นเบาหวาน และเกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย (4)

นวัตกรรมยาใหม่ของไบเออร์ เป็นยายับยั้งตัวรับมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoid receptor, MR) แบบเจาะจงที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่แสดงผลลัพธ์ในเชิงบวกต่อไตและหลอดเลือดหัวใจ (CV) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (T2D) ผู้ป่วยโรคเบาหวานถึง 40% มีโรคไตเรื้อรัง (CKD) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของภาวะไตวาย/การฟอกไตและผลลัพธ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด (5)

ภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากกว่า 60 ล้านคนทั่วโลก โดย ผู้ป่วยกว่า 50% เสียชีวิตภายในเวลา 5 ปี และ 1 ใน 5 ของผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 2 ปี (6) มีผู้ป่วยในประเทศออสเตรเลียที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวทุกๆ 8 นาที (7) ผู้ป่วยในเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการอาการแย่ลง ด้วยการที่มีการแสดงอาการที่ช้า และมีช่องว่างในการรักษาในทศวรรษที่ผ่านมาในด้านการจัดการความเสี่ยงที่ไม่ได้รับการตอบสนองนี้ สิ่งสำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่แย่ลงตั้งแต่เนิ่นๆ และป้องกันไม่ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลครั้งต่อไป

ยาสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลวใหม่ของไบเออร์ เป็นวิธีการรักษาที่ใช้การกระตุ้นเอนไซม์ guanylate cyclase ที่ละลายน้ำได้ (sGC) ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่นำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้น

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งมากขึ้นแม้ว่าวงการแพทย์จะมีความก้าวหน้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ภาระโรคโดยรวมจากมะเร็งไม่ได้ลดลง ทว่ากลับเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ป่วยทั่วโลกเกือบ 20 ล้านคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในปี 2563 ภาระโรคจากมะเร็งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ 28.4 ล้านคนในปี 2583 เพิ่มขึ้น 47% จากปี 2563

มะเร็งบางชนิดเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจำเพาะของยีนและเมื่อยีน Neurotrophic tyrosine receptor kinase (NTRK) รวมตัวกับยีนที่ไม่เกี่ยวข้อง ทำให้กลายเป็นมะเร็งที่เรียกว่ามะเร็งที่เกิดจากรวมตัวของ tropomyosin receptor kinase (TRK) มะเร็งชนิดนี้ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อเยื่อบางประเภทหรืออายุของผู้ป่วย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในร่างกายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

สำหรับ ยารักษาแบบแม่นยำชนิดรับประทาน ของไบเออร์ได้แสดงให้เห็นถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพในเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งที่เกิดจากการรวมตัวของ TRK การตรวจผู้ป่วยและค้นหาสิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดมะเร็งจะทำให้แพทย์สามารถมุ่งเป้าการรักษาไปที่ต้นตอของโรคได้ ด้วยการศึกษาวิจัยใหม่ๆ เกี่ยวกับมะเร็งที่เกิดจากการรวมตัวของ TRK ทำให้เราก้าวเข้าใกล้การแพทย์แบบแม่นยำ (precision medicine) อีกหนึ่งขั้น โดยตรวจไปถึงพันธุกรรมของมะเร็ง แทนที่จะตรวจว่ามะเร็งอยู่ที่ส่วนใดของร่างกาย จะช่วยให้แพทย์สามารถเลือกแนวทางการรักษาที่เฉพาะเจาะจงซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากขึ้น

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสองในผู้ชายมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยมากเป็นอันดับสองในผู้ชายทั่วโลก ในปี 2563 ผู้ชายประมาณ 1.4 ล้านคนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และประมาณ 375,000 คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคนี้ (8) ทางเลือกในการรักษามีตั้งแต่การผ่าตัดไปจนถึงการฉายรังสี การรักษาโดยใช้ยายับยั้งตัวรับฮอร์โมน กล่าวคือ สารที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน หรือป้องกันการทำงานของฮอร์โมนที่ตำแหน่งเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้ว ในผู้ป่วยเกือบทั้งหมด มะเร็งจะไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยฮอร์โมนแบบเดิม (9)

ยายับยั้งตัวรับฮอร์โมนแอนโดรเจน ชนิดรับประทาน (androgen receptor inhibitor - ARi) ของไบเออร์ จะจับกับตัวรับที่มีความสามารถในการจับกับฮอร์โมนสูง และมีฤทธิ์แรงในการยับยั้ง ซึ่งขัดขวางการทำงานของตัวรับและการเติบโตของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก

การศึกษาวิจัยทางคลินิกต่างๆ ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกันสำหรับไบเออร์ ได้ดำเนินการด้านการพัฒนายาของไบเออร์อย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการพัฒนาประมาณ 50 โครงการในระยะที่ 1 ถึง 3 ของการพัฒนาทางคลินิก ซึ่งมีหลายโครงการที่มีศักยภาพในการรักษาโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โรคไตจากเบาหวาน และภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่มีความต้องการทางการแพทย์ที่สูงสำหรับประชากรสูงอายุในภูมิภาคนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงกิจกรรมการพัฒนาทางคลินิกของไบเออร์ โดยมีการศึกษาวิจัยทางคลินิกอย่างต่อเนื่อง 46 โครงการที่ดำเนินการในภูมิภาคนี้ตลอดปี 2563 และ 2564 โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นการศึกษาวิจัยด้านมะเร็งวิทยา

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

“สำหรับโครงการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาที่มีความสำคัญระดับโลก 3 โครงการ ได้แก่ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว โรคไตเรื้อรัง (CKD) ที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื้องอกระยะแพร่กระจายที่มีฟิวชั่นของยีน NTRK และมะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่ลุกลามนั้น นอกจากนั้น ด้วยโมเดลดิจิทัลที่ทันสมัย ทำให้การมีส่วนร่วมทำได้มากขึ้นและสะดวกสบายมากขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้เราสามารถสร้างข้อมูลเพื่อติดตามและพัฒนาผลการรักษาของผู้ป่วย” ดร.แคทเธอรีน โดโนแวน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว

ร่วมมือกันเพื่อหาวิธีการรักษา“ในขณะที่เริ่มมีการฟื้นตัวจากการระบาดใหญ่ บริษัทกำลังทำงานร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเพื่อนำวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นมาสู่ทุกคน นวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับบริษัทของเรา เช่นเดียวกันกับการเป็นหุ้นส่วนและการดูแลผู้ป่วยอย่างครบวงจร การเพิ่มทรัพยากรให้กับบุคลากรด่านหน้าเพื่อให้ความรู้ ตรวจหา และรักษาภาวะความผิดปกติต่างๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพ” ดร.แคทเธอรีน โดโนแวน กล่าว

มุ่งมั่นเพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนกว่า 50 ปีมาแล้วที่ไบเออร์ให้การสนับสนุนโปรแกรมการศึกษาและการวางแผนครอบครัวโดยคำนึงถึงสิทธิเป็นพื้นฐานในกว่า 130 ประเทศ

ด้วยความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพสตรี บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะให้ผู้หญิง 100 ล้านคนทั่วโลกสามารถเข้าถึงการวางแผนครอบครัวภายในปี 2573 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ตัวอย่างโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการ “Better Life Farming” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย โดยร่วมเป็นพันธมิตรกับองค์กรไม่แสวงหากำไร Mercy Corps มาตั้งแต่ปี 2563 เพื่อให้ความรู้และจัดให้มีการเข้าถึงการคุมกำเนิดที่ทันสมัยแก่สตรีที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรมตามชนบทในเมืองบันดุง ชวาตะวันตก และนูซาเติงการาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

ไบเออร์ดำเนินโครงการสนับสนุนในแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ความรู้และช่วยเหลือสตรีที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis) ซึ่งเป็นความผิดปกติที่สร้างความเจ็บปวดที่พบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ถึง 10% ทั่วโลก ซึ่งมีผู้หญิงเป็นจำนวนมากที่ไม่พยายามเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เนื่องจากมีความเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ ผู้หญิงจำนวนมากยังประสบกับ ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS) ซึ่งเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายของผู้หญิง โดยที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชาย) ในปริมาณมาก ซึ่งปกติแล้ว ฮอร์โมนชนิดนี้มักพบในผู้หญิงในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น

“ด้วยความเป็นผู้นำในด้านการดูแลสุขภาพสตรี กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ ยังคงสนับสนุนผู้หญิงทั่วเอเชียแปซิฟิกในการวางแผนครอบครัว และยังให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนต่างๆ ของวงจรชีวิตการเจริญพันธุ์อีกด้วย เรามุ่งมั่นทุ่มเทในโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยต่างๆ เพื่อเปลี่ยนกระบวนการรักษา จากการดูแลรักษาตามอาการเจ็บป่วยแบบดั้งเดิมและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นหลัก ไปสู่การดูแลเพื่อป้องกันโรคที่ให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางที่มีความยั่งยืนมากขึ้น” ดร.อิง เฉน กล่าว

กลุ่มธุรกิจฟาร์มาซูติคอลของไบเออร์ในเอเชียแปซิฟิกขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจไบเออร์ในปี 2564 พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมยาใหม่ในปี 2565

ที่มา

  1. ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของ WHO ปี 2021 https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases
  2. ข้อมูลการสูงวัยในเอเชียแปซิฟิกของ UNFPA https://asiapacific.unfpa.org/en/topics/ageing-6
  3. The Lancet Commission on Diabetes: การใช้ข้อมูลเพื่อเปลี่ยนการดูแลรักษาโรคเบาหวานและชีวิตของผู้ป่วย https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(20)32374-6/fulltext
  4. International Diabetes Federation Atlas https://diabetesatlas.org/data/en/country/93/in.html
  5. American Kidney Foundation https://www.kidney.org/atoz/content/diabetes
  6. สมาคมแพทย์โรคหัวใจยุโรป: ระบาดวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว มิถุนายน 2020 https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/ejhf.1858#
  7. สถิติสำคัญจาก Australia Heart Foundation: ภาวะหัวใจล้มเหลว https://www.heartfoundation.org.au/activities-finding-or-opinion/key-statistics-heart-failure
  8. สถิติโรคมะเร็งทั่วโลกปี 2020: การประมาณการอุบัติการณ์และการเสียชีวิตทั่วโลกสำหรับมะเร็ง 36 ชนิดใน 185 ประเทศของ GLOBOCAN CA: A Cancer Journal for Clinicians https://acsjournals.onlinelibrary.wiley.com/doi/epdf/10.3322/caac.21660
  9. Nakazawa, Mary; Paller, Channing; Kyprianou, Natasha. Mechanisms of Therapeutic Resistance in Prostate Cancer. Curr Oncol Rep (2017) 19:13 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28229393/

COR-GEN-TH-0001-1 (04/2022)