posttoday

ธุรกิจ SME ฟังทางนี้! สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีปี 2567 เพื่อยื่นภาษีปี 2568 มีอะไรบ้าง

12 มีนาคม 2568

ธุรกิจ SME มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีหลายด้าน เพื่อยื่นภาษีปี 2568 เสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่าง มั่นคง

ในปี 2567 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีหลายด้าน เพื่อลดภาระทางภาษี และเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนจากการลงทุน การบริจาค การใช้จ่ายในกิจกรรม พัฒนาทักษะบุคลากร หรือการสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม กรมสรรพากรยังคงมีมาตรการช่วยเหลือที่ออกแบบมาเฉพาะสําหรับ ธุรกิจ SME เพื่อให้สามารถยื่นภาษีในปี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นผู้ประกอบการ SME อย่าพลาดโอกาสสําคัญนี้ มาดูกันว่ามาตรการลดหย่อนภาษีปีนี้มีอะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อให้ได้ รับประโยชน์สูงสุดจากสิทธิพิเศษเหล่านี้

ข้อมูลค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว

รายการลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากรกําหนดให้เพื่อลดจํานวนเงินได้สุทธิที่จะต้องนําไปคํานวณ ภาษีประจําปี ซึ่งช่วยลดภาระภาษี โดยค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว จะเกี่ยวข้องกับผู้เสีย ภาษีโดยตรง เช่น

  1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
  2. ค่าลดหย่อนสําหรับคู่สมรส 60,000 บาท (กรณีคู่สมรสไม่มีรายได้)
  3. ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาทต่อคน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

*เป็นบุตรโดยสายเลือดหรือตามกฎหมาย

*อายุไม่เกิน 20 ปี

*บุตรบุญธรรมสามารถใช้ได้ไม่เกิน 3 คน

  1. มีบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน โดยมีเงื่อนไขดังนี้

*เป็นบุตรโดยสายเลือดหรือตามกฎหมาย

*เกิดในปี พ.ศ.2561

*บุตรอายุไม่เกิน 20 ปี

  1. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร หักสูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท ทั้งนี้หากสามีและภรรยายื่น ภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยา โดยสามีจะใช้สิทธิลดหย่อนได้ในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงิน ได้ และต้องมีใบรับรองแพทย์รวมถึงใบเสร็จรับเงินจากสถานพยาบาลนั้นๆ ภายในวันที่1 มกราคม ถึง ธันวาคม 2565
  2. ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดามารดา 30,000 บาทต่อคน (ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และบิดามารดามี รายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี บัตรสามารถใช้สิทธิได้เพียงคนเดียว)
  3. ค่าลดหย่อนอุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ 60,000 บาทต่อคน (ต้องมีบัตรประจําตัวผู้ พิการ และผู้พิการมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท)

ข้อมูลค่าลดหย่อนกลุ่มประกันและการลงทุน

ค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มประกันและการลงทุนในประเทศไทยเป็นสิทธิพิเศษที่กฎหมายกําหนด เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีการวางแผนการเงินระยะยาว โดยค่าลดหย่อนในกลุ่มนี้ประกอบด้วย

1.ประกันชีวิต
- เบี้ยประกันชีวิต สามารถลดหย่อนได้ตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- ประกันสุขภาพตนเอง สามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท หรือถ้ารวมกับ ประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้พึงประเมิน และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

2.กองทุนการออมและการลงทุน
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน และสูงสุด ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ / กบข. / สงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ ไม่เกิน 5oo,ooo บาท
- กองทุนเพื่อการออมแห่งชาติ (กอช.) ลดหย่อนได้ตามจํานวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี
- เงินสมทบประกันสังคม ลดหย่อนได้ตามจํานวนเงินที่จ่ายจริง สูงสุด 9,000 บาทต่อ

หมายเหตุ : ค่าลดหย่อนในกลุ่มประกันและการลงทุนที่รวมกัน เช่น RMF กองทุนสํารอง เลี้ยงชีพ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบํานาญ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี

ข้อมูลค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค

การบริจาคเงินให้กับองค์กรหรือกิจกรรมที่กําหนดไว้ตามกฎหมายสามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขและข้อกําหนดดังนี้

1. ประเภทของเงินบริจาคที่ลดหย่อนได้
- บริจาคให้กับองค์กรการกุศลที่รัฐบาลรับรอง เช่น โรงพยาบาล สถานศึกษา วัด สถานสาธารณ กุศล และองค์กรไม่แสวงหากําไรอื่นๆ
- บริจาคให้กับโครงการของรัฐ เช่น โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัย โครงการสนับสนุนการศึกษา หรือโครงการพัฒนาชุมชน
- บริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา และพัฒนาสังคม เช่น ทุนการศึกษาหรือกิจกรรมพัฒนาสังคม
- บริจาคให้กับพรรคการเมือง ตามข้อกําหนดที่กฎหมายระบุ

2. วงเงินที่สามารถลดหย่อนได้
- กรณีเป็นบุคคลธรรมดา สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหัก ค่าลดหย่อนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ
- กรณีเป็นนิติบุคคล สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของกําไรสุทธิ ก่อนหักรายจ่ายเพื่อการบริจาค

3. การยื่นลดหย่อนภาษี
- รายละเอียดการบริจาคสามารถกรอกในระบบยื่นภาษีออนไลน์ หรือระบุในแบบฟอร์มยื่นภาษี ประจําปี
- เอกสารประกอบ เช่น ใบเสร็จรับเงิน หนังสือรับรองการบริจาค

ข้อมูลค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของทางภาครัฐ

1.ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยได้สูงสุด 100,000 บาท

2.ค่าลดหย่อนโครงการ “Easy E-Receipt”
-ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท
-เงื่อนไข: ใช้ใบเสร็จรับเงินในรูปแบบ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
-ระยะเวลาค่าใช้จ่าย: 1 มกราคม 2567 - 15 กุมภาพันธ์ 2567
-ใช้ลดหย่อนภาษีของปีภาษี 2568

3. ส่งเสริมการท่องเที่ยวใน 55 จังหวัดเมืองรอง
-ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
-ระยะเวลาท่องเที่ยว: 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567
-เงื่อนไขค่าใช้จ่ายที่นํามาลดหย่อนได้ ต้องเป็นค่าบริการท่องเที่ยวที่จ่ายผ่านมัคคุเทศก์ (ค่าแพ็ก เกจทัวร์)และเป็นค่าที่พักในโรงแรม รีสอร์ต หรือโฮมสเตย์

หมายเหตุ ต้องมีเอกสารใบกํากับภาษีแบบเต็มรูป และใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

กล่าวโดยสรุป สําหรับปีภาษี 2567 ที่จะยื่นในปี 2568 รายการลดหย่อนภาษีประกอบไปด้วยรายการที่คงเดิม เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวคู่ สมรส บุตร ค่าประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันสังคม และเงินสะสมในกองทุนต่างๆ รวมถึงรายการใหม่หรือเพิ่มเติมที่เน้นช่วยเหลือผู้ มีรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การใช้จ่ายในโครงการของรัฐ และการบริจาคเพื่อช่วยเหลือสังคม ดังนั นการวางแผนใช้สิทธิลดหย่อน เหล่านี้ อย่างเหมาะสมสามารถช่วยลดภาระภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่  Inflow Accounting