posttoday

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

22 กันยายน 2566

ทำความรู้จัก SAT-1 อาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนทดลองเปิดให้บริการ 28 ก.ย.66 สะท้อนเอกลักษณ์ไทยผสานโครงสร้างทันสมัย-ใช้สอยอย่างเท่าเทียม พร้อมรองรับผู้โดยสารเพิ่ม 15 ล้านคนต่อปี เสริมศักยภาพสุวรรณภูมิในการรองรับผู้โดยสารเป็น 60 ล้านคนต่อปี


          28 ก.ย.2566 นี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT เตรียมเปิดทดลองให้บริการอาคารผู้โดยสารใหม่ สนามบินสุวรรณภูมิ หรือ อาคาร SAT-1 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้อีก 15 ล้านคนต่อปี ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้เป็น 60 ล้านคนต่อปี จากเดิมที่รองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี
ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้
          อาคาร SAT-1 มีพื้นที่กว้างขวางถึง 216,000 ตารางเมตร มีประตูทางออกเชื่อมต่อกับหลุมจอดประชิดอาคาร (Contact Gate) จำนวน 28 หลุมจอดมีพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร 251,400 ตารางเมตร และพื้นที่ลานจอดอากาศยานรวมกว่า 260,000 ตารางเมตร เป็นอาคารสูง 4 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น ประกอบด้วย

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

- ชั้น B 2 สถานีขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (Automated People Mover Station: APM Station) งานระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระ และ APM Station มีชานชาลา จำนวน 4 ชานชาลา โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารขาออก จำนวน 2 ชานชาลา และผู้โดยสารขาเข้า จำนวน 2 ชานชาลา

- ชั้น B 1 พื้นที่ห้องงานระบบ

- ชั้น G ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระและพื้นที่สำนักงาน

- ชั้น 2 ผู้โดยสารขาเข้า (Arrival Level)

- ชั้น 3 ผู้โดยสารขาออก (Departure Level) ซึ่งออกแบบเป็นระบบ Open Gate และ มีพื้นที่ร้านค้าตลอดแนวทางเดิน

- ชั้น 4 พื้นที่ของห้องรับรองพิเศษผู้โดยสาร ห้องรับรองสายการบิน และอื่นๆ

 

***สะท้อนเอกลักษณ์ไทยผสานโครงสร้างทันสมัย

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

          สำหรับงานสถาปัตยกรรมของตัวอาคาร SAT-1 ถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับอาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building)  ซึ่งใช้เป็นระบบ Modular ที่ก่อสร้างได้รวดเร็วและใช้วัสดุที่ดูแลรักษาได้ง่าย อีกทั้งยังคำนึงถึงการออกแบบอาคารที่ยั่งยืน (Sustainable Design) เพื่อช่วยให้อาคารประหยัดพลังงาน เน้นการใช้แสงจากธรรมชาติ ลดการเปิดไฟ ติดอุปกรณ์กันความร้อน ติดตั้งระบบนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

          การออกแบบอาคาร เน้นการผสมผสานความทันสมัยและมีเอกลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นไทยมาติดตั้งและสอดแทรกในบริเวณต่างๆ ของอาคาร ซึ่งมีความสวยงาม ประณีต สะท้อนมรดกวัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวไทยในแต่ละภูมิภาค พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

           ขณะที่ การตกแต่งภายในของอาคาร SAT-1 มีการออกแบบให้เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลักเช่นกัน แต่ได้มีการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรม กับศิลปะที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้กลมกลืนไปกับโครงสร้างอาคารที่ทันสมัย โดยมีผลงานการตกแต่งชิ้นเอกเป็นช้างคชสารตั้งอยู่บริเวณโถงกลางของชั้น 3 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาออก

          ส่วนปลายอาคารทั้ง 2 ด้าน  คือทิศตะวันออกและทิศตะวันตกติดตั้งสุวรรณบุษบก และรัตนบุษบก ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์ พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย และ ปางเปิดโลก โดยถอดแบบมาจากวัดผาซ่อนแก้ว เพื่อความเป็นสิริมงคลต่อสถานที่ เป็นขวัญและกำลังใจต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้เดินทาง 

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

          นอกจากนี้ ภายในชั้น 3 ของอาคาร ได้รับการออกแบบให้เป็นสวนตกแต่งด้วยสัตว์หิมพานต์ ตามคติความเชื่อไทยแต่โบราณ อาทิ กินนร, กินรี, เหมราช และหงส์สา  ส่วนชั้น 2 ซึ่งเป็นพื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้า ได้รับการออกแบบเป็นสวนสัญจรผ่าน  จัดแสดงงานภูมิทัศน์ผสมผสานกับศิลปวัฒนธรรมของไทย เช่น หุ่นละครเล็ก, หนังใหญ่, หัวโขน, ว่าวไทย เป็นต้น 

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

          และอีกหนึ่งงานออกแบบที่โดดเด่นภายในอาคาร SAT-1 คือ ห้องน้ำภายในอาคารที่ได้นำเอกลักษณ์หรือลักษณะเด่นของแต่ละภาคในประเทศไทยทั้ง 4 ภาค รวมถึงประเพณีวัฒนธรรมของไทยมาใช้ออกแบบรูปลักษณ์ภายใน SAT-1 ด้วย

ส่องอาคารผู้โดยสารใหม่สนามบินสุวรรณภูมิ SAT-1 ก่อนทดลองเปิด 28 ก.ย.นี้

          “สิ่งที่สำคัญของอาคาร SAT-1 คือสิ่งอำนายความสะดวกครบครันที่ต้องคำนึงถึงการใช้งานของทุกเพศทุกวัยอย่างเท่าเทียมด้วยการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เช่น ห้องนั่งสมาธิ ห้องละหมาดที่แยกระหว่างหญิง - ชาย ห้องแม่และเด็ก (Babycare Room) รวมทั้งมีห้องและพื้นที่สำหรับเด็กเล่น เก้าอี้พักคอยที่ติดตั้งที่ชาร์จพร้อมอุปกรณ์เสริมเต้ารับไฟฟ้าช่องเสียบ USB แบบ Universal เป็นต้น”

เชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารหลักด้วยรถไฟฟ้า APM

          อาคาร SAT-1 สามารถเดินทางเชื่อมต่ออาคารผู้โดยสารหลัก (Main Terminal Building) ผ่าน รถไฟฟ้าไร้คนขับ APM (Automated People Mover: APM) ในการรับส่งผู้โดยสารระหว่างอาคาร ด้วยอุโมงค์ใต้ดินระยะทาง 1 กิโลเมตร จำนวน 4 ช่อง ใช้ระยะเวลาในการโดยสารรวมถึงระยะเวลาที่ผู้โดยสารรอบริการที่สถานีประมาณ 3 นาที สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 210 คนต่อขบวน 

          โดยอุโมงค์ดังกล่าวมีทั้งสิ้น 8 ช่อง ที่เหลือ 4 ช่อง คือ ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและตรวจจับวัตถุระเบิด(The Baggage Handling System and The Explosive Detection System) ลำเลียงกระเป๋าจาก MTB ไปยังอาคาร SAT-1 จำนวน 2 ช่อง และ ถนนให้บริการเขตการบิน (Service Road) จำนวน 2 ช่อง 

         อย่างไรก็ตาม ในอนาคต AOT จะก่อสร้างอาคารผู้โดยสารส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันออก (East Expansion) ซึ่งจะทำให้เพิ่มพื้นที่อีก 60,000 ตารางเมตร ทำให้ลดความหนาแน่นบริเวณพื้นที่ให้บริการของอาคารผู้โดยสารหลัก ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างปรับปรุงแบบก่อสร้าง เพื่อให้สอดรับกับบริบทการบินที่เปลี่ยนแปลงไป คาดว่าจะดำเนินการปรับปรุงแบบฯ แล้วเสร็จในปี 2567