posttoday

ยกระดับคุณภาพสับปะรดราชบุรี สู่เครือข่าย เน้นพัฒนาแบบองค์รวม

12 มิถุนายน 2562

สสว. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ยกระดับคุณภาพสับปะรด จ.ราชบุรี ในโครงการสนับสนุน SME ปี 2562

 

สสว. ร่วมกับ มทร.ธัญบุรี จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ยกระดับคุณภาพสับปะรด จ.ราชบุรี ในโครงการสนับสนุน SME ปี 2562

ผศ.ดร.มโน สุวรรณคำ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เผยถึงกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์หรือเครือข่าย ว่า มทร.ธัญบุรี ได้รับมอบหมายจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้ดำเนินการกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 มุ่งเน้นให้มีการรวมกลุ่มผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ แบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงอย่างเข้มแข็ง สามารถพึ่งพากันภายในกลุ่ม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในรูปแบบของจัดอบรมพัฒนาศักยภาพสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการในกระบวนการผลิตพืชผลทางการเกษตร เน้นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับการผลิต การให้บริการ การลดต้นทุน การปรับปรุงคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ให้บริการเครือข่าย (Service Provider: SP) และผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent: CDA) และเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานของภาครัฐ เอกชน รวมถึงสถาบันการเงิน ซึ่งจะเป็นช่องทางในการเสริมสร้างให้เกิดความเข้มแข็งอย่างรอบด้านของคลัสเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น

ยกระดับคุณภาพสับปะรดราชบุรี สู่เครือข่าย เน้นพัฒนาแบบองค์รวม

ด้าน ผศ.ดร.วัลลภ พรหมทอง ที่ปรึกษากิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร ภายใต้โครงการสนับสนุน SME ปี 2562 จาก มทร.ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานของคลัสเตอร์ กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ ครั้งนี้ เจาะกลุ่มไปที่สับปะรด จ.ราชบุรี ในหลักสูตรการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการผลิตและการแปรรูปสับปะรด ยุค 4.0 ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์สัมมนาบ้านไร่ในฝัน อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เนื้อหาทั้งหมดจะเน้นเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องคลัสเตอร์ กรณีศึกษาการพัฒนาคลัสเตอร์ต้นแบบ บทบาทหน้าที่ผู้ประสานงาน (CDA) กิจกรรมจิตสัมพันธ์สร้างสรรค์ทีมสู่การบูรณาการพัฒนาเชื่อมโยงคลัสเตอร์ และเนื้อหาสำคัญด้านแนวทางการลดปริมาณขยะจากสับปะรดและการเพิ่มมูลค่า การใช้ Technical Textile ต่อคุณภาพของสับปะรด รวมถึงการทำแผนยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาคลัสเตอร์ในปี 2562

ยกระดับคุณภาพสับปะรดราชบุรี สู่เครือข่าย เน้นพัฒนาแบบองค์รวม

ผศ.ดร.วัลลภ กล่าวอีกด้วยว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับในครั้งนี้ คือการพัฒนาในรูปแบบคลัสเตอร์ ‘สับปะรด’ ที่มีการร่วมกันปรึกษา แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากทีมคณาจารย์ มทร.ธัญบุรี ภายใต้งานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ก่อให้เกิดการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ การขยายตัวของธุรกิจ ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาที่เหมาะสม และผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น.