posttoday

MEA AWARDS 2017 สร้างต้นแบบอาคารนวัตกรรมพลังงานดีเด่น "มุ่งมั่นพัฒนาด้านอนุรักษ์พลังงานสู่ความเป็นเลิศ"

24 กรกฎาคม 2561

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดประกวดอาคารประหยัดพลังงาน MEA Energy Saving Building 2017 สนับสนุนอาคารภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัดประกวดอาคารประหยัดพลังงาน MEA Energy Saving Building 2017 สนับสนุนอาคารภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้ได้มอบรางวัลพิเศษ "อาคารนวัตกรรมพลังงานดีเด่น" ให้กับ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาด้านอนุรักษ์พลังงานสู่ความเป็นเลิศมาอย่างต่อเนื่อง

สถาบันฯ มีภารกิจดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กที่มารับบริการปีละกว่า 400,000 ราย ด้วยบุคลากร 1,600 คน ได้รับการจุดประกายเรื่องการประหยัดพลังงานจากการไฟฟ้านครหลวงในปี พ.ศ. 2553 ซึ่งอาคารได้รางวัล"อาคารดีเด่นพิเศษ" หลังจากนั้นจึงพัฒนาทีมงานและเริ่มทำการอนุรักษ์พลังงานอย่างเป็นรูปธรรม เน้นหลักการ 3P (อนุรักษ์พลังงาน) +5R (อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) โดย (P: People) การพัฒนาให้ความรู้ทักษะบุคลากรเปิดโอกาสนำเสนอผลงานหน่วยงานในทุกปี (P: Places) เริ่มด้วยการติดอุปกรณ์ตรวจวัดการใช้ไฟฟ้า Digital metering ในแต่ละอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้าหลัก มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เก่าที่ใช้พลังงานไฟฟ้ามากเป็นชนิดประสิทธิภาพสูง คงทน คืนทุนประมาณ 4-5 ปี เน้นเปลี่ยนที่ระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้า เช่น VSD Chiller, Motor Pumps และการใช้หลอด LED  ติดตั้งระบบตรวจสอบ/ควบคุม/สั่งการทำงาน แบบ Smart Building ด้วยอุปกรณ์ระบบ CPMS ที่ควบคุมการปิดเปิด Chiller ได้ทั้ง 3 อาคาร ระบบการปิดเปิดไฟฟ้ารวม ระบบปิดเปิดประตูที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ และระบบประมวลผลการใช้พลังงานที่เป็น Real time เพื่อนำมาวิเคราะห์ปรับเปลึ่ยนแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว มีการใช้อุปกรณ์ช่วยประหยัดพลังงานที่ใช้ระบบอัตโนมัติอื่นๆที่ควบคุมด้วย sensor เช่น CO2 sensor ร่วมกับระบบการเติมอากาศชนิดแลกเปลี่ยนคืนความเย็น (ERV) ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกอาคารสยามฯ การใช้ Sensor ที่โถปัสสาวะชายเพื่อความสะดวกและประหยัดน้ำ และ Sensor ในการเปิดปิดไฟถนน มีการนำน้ำทิ้งจากระบบปรับอากาศใช้รดน้ำต้นไม้ถึง 150 ต้น ผลิตน้ำดื่ม RO ให้ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ดื่มฟรีวันละ 1.5 ลบ.ม ลดค่าใช้จ่ายการซื้อน้ำขวดได้ปีละกว่า 2 ล้านบาท ลดขยะได้ปีละ 400,000 ขวด นอกจากนี้ได้นำน้ำทิ้งจากระบบผลิตน้ำ RO ไปใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ ล้างขวดยาและซักผ้า และ P สุดท้ายคือ การพัฒนาระบบการทำงาน (P: Process) โดยการคิดวิเคราะห์กระบวนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน/กลุ่มงาน (Process Analysis: PA) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานของหน่วยงานให้ดีขึ้นเรื่อยๆ  

สถาบันฯ ถือว่าการวิเคราะห์กระบวนการทำงานที่มีการใช้พลังงาน เป็นการวิเคราะห์กระบวนการเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Process Analysis: SPA) เป็นต้นกำเนิดนวัตกรรมการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ เช่น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติงานลดการใช้พลังงาน รณณรงค์ใช้ถุงผ้าใส่ยากลับบ้าน นวัตกรรมหมอนโฟมลดแผลกดทับ  หรือ หน่วยงานห้องผ่าตัดและวิสัญญี เรื่องการปรับวิธีการดมยาสลบเพื่อลดการใช้ยาดมสลบชนิดก่อปัญหาก๊าซเรือนกระจก หน่วยงานโภชนาการ เรื่องการหุงข้าวชนิดประหยัดพลังงาน การทำอาหารที่เหมาะกับสุขภาพและประหยัดพลังงาน เป็นต้น แต่ละเรื่องมีการสรุปผลที่ได้ในรูปการประหยัดพลังงาน ประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงการเปรียบเทียบเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ค่าไฟฟ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555-2560 ลดลงมาโดยตลอด มูลค่าการประหยัดสะสมในแต่ละปีรวมกันคือ 7,863,631 kWh (31,022,775 บาท) และยังคงสนับสนุนบุคลากรให้รู้จักและวิเคราะห์กระบวนการทำงานที่ใช้พลังงานของหน่วยงานเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทำให้เกิดผลงานนวัตกรรมการจัดการพลังงาน SPA มากกว่า 50 ผลงาน และพร้อมเป็นต้นแบบอาคาร เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจด้านการอนุรักษ์พลังงานได้เข้าเยี่ยมชมได้ต่อไป สามารถติดตามข้อมูลโรงพยาบาลและข้อมูลโครงการเพิ่มเติมได้ที่ www.meaenergysavingbuilding.net และ www.facebook.com/MEAAward

MEA AWARDS 2017 สร้างต้นแบบอาคารนวัตกรรมพลังงานดีเด่น "มุ่งมั่นพัฒนาด้านอนุรักษ์พลังงานสู่ความเป็นเลิศ"