posttoday

Go Green 2023 “วราวุธย้ำ Go Green ต้องทำทันที”

30 มีนาคม 2566

ภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลกมาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็น ในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว

Go Green 2023 “วราวุธย้ำ Go Green ต้องทำทันที”
 

กรุงเทพธุรกิจ เปิดเวทีสัมมนา Go Green 2023 : Business Goal to the Next Era วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2566 ณ ห้องรอยัลมณียา บอลรูม ชั้น M โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ โดยมีวิทยากรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายระดับโลกมาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็น ในหัวข้อ Go Green : Global Overview, Go Green : นโยบายรัฐ, Carbon Market : New Economy และ Business Big Move ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียว 

 

เริ่มจากปาฐกถาพิเศษ Go Green : Thailand Roadmap จากนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เริ่มต้นจาก การพูดถึงการขับเคลื่อนทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้รับทราบว่า วันนี้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่มีผู้นำคนใดในศตวรรษนี้ไม่พูดถึง รวมถึงปัญหาในระยะสั้น 5 ข้อที่ต้องเร่งแก้ไข

พร้อมยกปัญหาสภาพแวดล้อมจากทั่วโลก ไทยก็เจอปัญหาน้ำท่วม ทั้งแห้งแล้ง สลับน้ำท่วม เรื่อยมาจากปัญหาทั้งเอลนิโญ่และลานีญ่า เตือนรัฐบาลในอีก 2 ปีต่อไปนี้จะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องภัยแล้งล้วนๆ จากนั้นรัฐบาลต่อไปจะไปแก้ปัญหาน้ำท่วมอีก

 

“เรามีความเปราะบาง ไทยเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับ 19 ในโลกแต่ได้รับผลประทบในเรื่องภัยพิบัติติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก”

 

แผนระยะยาวถึงปี 2065  แผนระยะสั้นถึงปี 2030 ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% 

จากนี้ไปอีก 7 ปี ภาคพลังงานและภาคขนส่งจะเจอภาระหนักสุด 

แผนระยะยาวตั้งแต่ปี 2065 กับ 2090 ต่างชาติไม่ยอมเราต้องเร่งเข้ามาเป็น 2050- 2065

 

ในส่วนของภาคพลังงาน เรามีไม่ถึง 10 เจ้า แต่ภาคการเกษตร ประเทศไทยมีที่นา 60 ล้านไร่ ตั้งเป้าลดคาร์บอน 1 ล้านตัน เริ่มจากการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านเปลี่ยนโฉมการทำนา เปลี่ยนเป็นแบบเปียกสลับแห้ง และเล่าถึงโครงการ Thai Rice NAMA และ Thai Rice GCF ที่จะเข้ามาช่วยเสริมส่งภารกิจดังกล่าว

 

ยกตัวอย่างแปลงสาธิตที่อำเภอเดิมบางนางบวชจังหวัดสุพรรณบุรี อยุธยา รวม 6 จังหวัดที่เริ่มไปแล้วโดยตั้งเป้าอนาคตจะเพิ่มขึ้นเป็น 21จังหวัด และตั้งเป้าลดปริมาณคาร์บอนเป็น 2.4 ล้านตัน โดยใช้งบฯ จากต่างประเทศ 

 

Go Green 2023 “วราวุธย้ำ Go Green ต้องทำทันที”


และเล่าถึงภารกิจของกระทรวงทรัพฯ ที่ได้เริ่มทำแล้ว เช่น การจัดทำแนวทางซื้อขายคาร์บอนเครดิต การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย เรามี T-Ver หรือ โครงการลดก๊าซเรือนกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ที่กำลังเริ่มได้รับความสนใจ มีการตั้งแพลตฟอร์ม FTIX กระดานซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่เปิดใช้งานไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้มี 30 บัญชีที่มีการซื้อ-ขาย และมีเป้าหมายตพัฒนา T-Ver เป็น พรีเมียม T-Ver และการทำให้มาตรฐาน T-ver เทียบเท่ากับต่างประเทศ โดยทำงานร่วมกับ Gistda ในการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยใช้ Flux-Tower หรือการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแบบถาวรบนหอคอย ที่สามารถตรวจวัดได้แบบเรียลไทม์

 

การเพิ่มแหล่งกักเก็บและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก เพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อเก็บกักคารบอน โดยมีการแบ่งปันกันให้เอกชนได้ 90% ภาครัฐขอเก็บไว้ 10% 

 

ปัจจุบันโครงการ T-Ver ภาคป่าไม้ ที่ผ่านการรับรองคาร์บอนเครดิตแล้ว 6 โครงการ

 

ฟื้นฟูป่าชุมชนกว่าหมื่นแห่งจะกลายเป็นพื้นที่ทำคาร์บอนเครดิต

 

เทคโนโลยี CCS (Carbon Capture Storage) ตั้งเป้าปี 2040 จะนำมาใช้ให้ได้

 

การพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ ข้อ 6.2 ความตกลงปารีส ตอนนี้ไทยกำลังได้ประโยชน์จากข้อตกลงนี้อยู่ จากการซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตระหว่างประเทศ

เช่น ภาคเอกชนของสวิตเซอร์แลนด์กับไทย เช่น Bangkok E-Bus รถโดยสารประจำทางไฟฟ้า หรือ รถเมล์สีน้ำเงิน ความร่วมมือระหว่าง ไทย-สวิส

 

พร้อมย้ำถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีคิด ไม่เปลี่ยนวิธีทำ ต่อให้เลือกตั้งเปลี่ยนผู้นำกี่ครั้งก็จะยังไม่ไปไหน ผลักดันทั้งภาครัฐและเอกชน ประสานงานกับ BOI ในการอำนวยความสะดวกทางภาษี มีกองทุน IKI จากเยอรมนี ThaiCI

 

“การเปลี่ยนผ่านไปสู่ Low Carbon Society ไม่ใช่ภาระ แต่คือโอกาสทางธุรกิจ คือวิธีที่จะทำให้เราอยู่รอดไปถึงศตวรรษต่อไปได้”

 

“อุบัติการณ์ของคาร์บอนเครดิตที่เกิดขึ้น กับคำถามที่ว่าฟอกเขียวหรือเปล่า ฟอกเขียวแล้วไง บริษัทใหญ่ๆ  สร้างขึ้นทั้งนั้น มาถึงวันนี้ก็ต้องจ่าย ต้องมาชดเชยให้เกษตรกร เพราะเขาได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมของพวกคุณจะว่าฟอกเขียวอะไรก็แล้วแต่ แต่ต้องมาช่วยกัน”

 

พันธกิจ green goal carbon credit

 

  • ผลักดันร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กฎหมายเปลี่ยนจากภาคสมัครใจ มาเป็นภาคบังคับ มีกำหนดร่างเสร็จเดือนเมษายน พร้อมเสนอกันยายน ปลายปีนี่

 

  • จัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีเจ้าหน้าที่ทำงาน 545 คน โดยไม่จ้างคนเพิ่ม ไม่ใช้งบเพิ่ม เป็นการจัดสรรภายในกระทรวงทรัพฯเอง

 

ก่อนทิ้งท้ายว่า Sustainability ไม่ใช่ทางเลือกแต่คือทางรอด ถ้าไม่แก้ปัญหาตั้งแต่วันนี้เราไม่รอดแน่ๆ ย้ำต้องเปลี่ยนวิธีคิด ต้องเปลี่ยนวิธีทำ

 

“เชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย ที่จะไปสู่ Net Zero GHG เราต้องเปลี่ยนวิธีคิดวิธีทำ มิฉะนั้นจะเปลี่ยนผู้นำกี่คนก็เหมือนเดิม”