posttoday

ทำความรู้จัก ESG เทรนด์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

27 มกราคม 2566

สถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและแนวโน้มในการดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใสและยั่งยืน ทำให้ผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ

ทำความรู้จัก ESG เทรนด์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ESG หรือ Environment Social and Government เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจมากในช่วงปีที่ผ่านมาก และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ ESG ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการประเมินผลการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของผู้ประกอบการเพื่อการตัดสินใจในการลงทุนกับธุรกิจนั้น ๆ โดยคำนึงถึงประเด็นพื้นฐานในด้านมิติ คือ สิ่งแวดล้อม (Environment: E) สังคม (Social: C) และ ธรรมาภิบาล (Governance: G) โดยเฉพาะความรับผิดชอบในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน รวมถึงภาคธุรกิจที่ต้องมีการวางแผนและดำเนินการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างจริงจังและยั่งยืน และยังเอื้อให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของคู่ค้าและแนวโน้มการทำธุรกิจในปัจจุบัน 

นอกจากประเด็นเรื่องการเลือกลงทุนของนักลงทุนแล้ว ในมุมของการผลิตก็เป็นไปตามแนวโน้มนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีบริษัทใหญ่ระดับโลกหลายบริษัทมีการตั้งเป้าหมายในการเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในกรอบเวลาที่ชัดเจน ทำให้บริษัทเหล่านั้นต้องการแหล่งวัตถุดิบและการผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายของตน ทำให้เกิดแรงกดกันไปยังผู้ผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่อง ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องทบทวนการบริหารจัดการของตันเพื่อปรับตัวตามความต้องการของคู่ค้า โดยเฉพาะแนวทางและเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นรูปประธรรมมากขึ้น

ESG จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญของผู้ประกอบการในปัจจุบันที่ใช้เพื่อการสื่อสารกับคู่ค้าและผู้บริโภคให้ทราบถึงหลักการและทิศทางในการดำเนินงานของตน ภายใต้ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ในอีกแง่มุมหนึ่งแรงกดถือว่าเป็นโอกาศอันดีของผู้ประกอบการที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดปัจจุบันโดยเฉพาะการมีเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

ทำความรู้จัก ESG เทรนด์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ในการดำเนินธุรกิจปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่หลาย ๆ บริษัททั้งในและต่างประเทศได้ตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในหลาย ๆ ระดับ เช่น การตั้งเป้าหมายการใช้พลังงานที่มาจากพลังงานหมุนเวียน 100% (RE100)  เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ตามที่ได้แสดงในรูปด้านล่าง 

การไปถึงเป้าหมายในแต่ละระดับนั้นต้องมีมาตรการที่แตกต่างกันไป แต่อย่างไรก็ตาม การที่แต่ละบริษัทจะบรรลุเป้าหมายของต้นนั้น ย่อมหมายรวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตสินค้าทั้งห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นบริษัทใหญ่ ๆ จึงมองหาคู่ค้าที่มีความสามารถที่จะช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายนี้ได้ ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงถือได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการช่วงชิงความได้เปรียบทางด้านธุรกิจ นอกจากนี้ในส่วนของประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคตะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฐานการผลิตให้กับบริษัทใหญ่ ๆ ทั่วโลก มีการปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะการดำเนินมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตของต้น เพี่อให้สอดคล้องกับความต้องการของบริษัทคู่ค้า

ทำความรู้จัก ESG เทรนด์การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างเป้าหมายและกรอบเวลาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทชั้นนำทั่วโลก

ในส่วนของประเทศไทยเอง ได้มีการสร้างความร่วมมือภายใต้เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคท้องถิ่น ในการยกระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน และเพื่อเตรียมเพื่อเตรียมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในตลาดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตอันใกล้ โดยองค์กรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจะต้องแสดงเจตนารมณ์ที่จะมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมมุ่งสู่คาร์บอนนิวทรัล ไม่ว่าในระดับกิจกรรมผลิตภัณฑ์ หรือองค์กร (www.tcnn.tgo.or.th) ดังนั้นการดำเนินการธุรกิจภายใต้หลักการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG จึงไม่ใช่แค่เครื่องมือการดำเนินธุรกิจเพื่อภาพพจน์ของบริษัทต่อสังคมทั่วไป แต่เป็นหลักการณ์ที่ทำให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจอย่างมั่นคง ยั่งยืน และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศอย่างยั่งยืนด้วย

 

ผู้เขียน : ดร. สิทธิศักดิ์ สุขใสสาคร