posttoday

กกต.ปิดสมัครเลือกสว.67เข้าโหมดเลือกระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ

26 พฤษภาคม 2567

เปิดขั้นตอนวิธีการเลือกสว.67 หลังกกต.ปิดรับสมัคร เตรียมประกาศรายชื่อ-จัดการเลือกระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ปิดรับสมัครเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อวันที่ 24 พ.ค.67 

กกต.เผยว่า มีผู้มาสมัครทั้งสิ้นจำนวน 48,226 คน ในจำนวนนี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม 48,117 คน 

นอกจากนี้มีผู้สมัคร สว.มีคุณสมบัติไม่ครบและมีลักษณะต้องห้าม กกต.ไม่รับสมัครไว้  109 คน

กำหนดวันเลือก สว. 2567 ดังนี้

  • วันเลือกระดับอำเภอ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • วันเลือกระดับจังหวัด วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • วันเลือกระดับประเทศ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567
  • การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ 

(ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด
(ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับอำเภอ)

  • การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด

(ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับจังหวัด) 
กกต. ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

  • การสมัครรับเลือก สว.

ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกสมัครได้ 1 กลุ่มอาชีพ และ 1 อำเภอเท่านั้น
เริ่มรับสมัครไม่เกิน 15 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มี
การเลือก สว. ใช้บังคับ และกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วัน แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน

  • การเลือก สว. ระดับอำเภอ

-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใด เกิน 1 คะแนนไม่ได้
-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน กลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเองไม่ได้

  • การเลือกรอบที่ 1

-เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน เป็นผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1 - 5 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้นและเข้าไปเลือกในรอบที่ 2 ต่อไป  (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

  • การเลือกรอบที่ 2

-เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัด สำหรับกลุ่มนั้น

  • การเลือก สว. ระดับจังหวัด

-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกกันเองในกลุ่ม เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใดเกิน 1 คะแนนไม่ได้
-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน กลุ่มละ 1 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเองไม่ได้

-การเลือกรอบที่ 1

เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1-5 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้น และ เข้าไปเลือกในรอบที่ 2 ต่อไป (เหลือกลุ่มละ 5 คน)

-การเลือกรอบที่ 2

เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน ผู้ได้รับคะแนนสูงสุด 2 ลำดับแรก ของแต่ละกลุ่มเป็นผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัด สำหรับกลุ่มนั้น

  • การเลือก สว.ระดับประเทศ

-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกกันเองในกลุ่มได้ไม่เกิน 10 คน เลือกตนเองก็ได้ แต่จะลงคะแนนให้บุคคลใด เกิน 1 คะแนนไม่ได้

-ผู้สมัครรับเลือกฯ เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน กลุ่มละไม่เกิน 5 คน แต่จะเลือกกลุ่มเดียวกันหรือเลือกตนเองไม่ได้

  • การเลือกรอบที่ 1

-เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน  ผู้ได้คะแนนสูงสุดลำดับที่ 1 - 40 เป็นผู้ได้รับเลือกขั้นต้นของกลุ่มนั้น และเข้าไปเลือกในรอบที่ 2 ต่อไป

  • การเลือกรอบที่ 2

-เลือกผู้สมัครกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน ผู้ได้รับคะแนนลำดับที่ 1-10 และลำดับที่ 11-15 อยู่ในบัญชีสำรองของกลุ่มนั้น
ประกาศผลการเลือก สว.

เมื่อ กกต. ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการการเลือกระดับประเทศแล้ว ให้รอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ถ้า กกต. เห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยถูกต้องสุจริต และเที่ยงธรรมให้ประกาศผลการเลือกในราชกิจจานุเบกษา.

ที่มา: กกต.

กกต.ปิดสมัครเลือกสว.67เข้าโหมดเลือกระดับอำเภอ-จังหวัด-ประเทศ


สำหรับบทบาทหน้าที่คณะกรรมการเลือก สว. แต่ละระดับ รายละเอียดดังนี้

การเลือกสว.67 ระดับอำเภอ
 นายอำเภอ เป็นประธาน
 หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ 3 คน เป็นกรรมการ
 ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตอำเภอ 2 คน เป็นกรรมการ
 เจ้าหน้าที่ สนง. กกต. จว. หรือข้าราชการประจำอำเภอ 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ  
 -กทม.
ผู้อำนวยการเขต เป็นประธาน
ข้าราชการ กทม. ในเขตนั้น 3 คน เป็นกรรมการ
 ผู้ทรงคุณวุฒิในเขต 2 คน เป็นกรรมการ
 เจ้าหน้าที่ สนง. กกต. หรือข้าราชการ กทม. 1 คน เป็นกรรมการและเลขานุการ

การเลือกสว.ระดับจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน
หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด หรือบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขตจังหวัดนั้น 3 คน เป็นกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตจังหวัด จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
ผอ. เลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ    
กทม.
ปลัดกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน
ข้าราชการ กทม. หรือบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในเขต กทม.  3 คน เป็นกรรมการฃผู้ทรงคุณวุฒิในเขต กทม. จำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
ผอ. เลือกตั้งประจำ กทม. เป็นกรรมการและเลขานุการ

การเลือกสว.ระดับประเทศ
ประธาน กกต. เป็นประธาน
กกต. เป็นกรรมการ
เลขาธิการ กกต. เป็นเลขานุการ.