posttoday

รองผู้บังคับการกองร้องทุกข์ ยื่นหนังสือถึง เศรษฐา เร่งตรวจสอบ บิ๊กโจ๊ก

11 เมษายน 2567

รองผู้บังคับการกองร้องทุกข์ ยื่นหนังสือแนบข้อกล่าวหาถึง เศรษฐา ขอให้ตรวจสอบ บิ๊กโจ๊ก หลังพบข้อสงสัยพัวพันหลายเรื่องในอดีต หวั่นมีภาพลักษณ์ไม่ดีต่อองค์กรตำรวจ วอน นายกรัฐมนตรี เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์

พันตำรวจเอกกฤษณะพงศ์ กัญจน์ชัยกิจ รองผู้บังคับการกองร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ยื่นหนังสือถึง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 

เรื่อง ร้องเรียนขอความเป็นธรรมในคดีที่ ป.ป.ช. ยุติเรื่องโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีกล่าวหา พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับพวก เมื่อปี 2553-2554 เรียกรับส่วยร้านคาราโอเกะในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

ขอความเป็นธรรมในคดีความผิดว่าด้วยการจัดซื้อ จัดจ้างฯครั้งที่ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ช่วงปี 2561 ถึง 2562 กรณีลงนามสัญญา MOU กับบริษัท วีเอฟเอส (ประเทศไทย)จำกัด ให้ดำเนินการเรื่องวีซ่าออน ออริวัล โดยไม่ดำเนินการตามกฎหมายและ ป.ป.ช. น่าจะกระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

ขอรายงานพฤติการณ์อื่นๆอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาลกับพวกและเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนอย่างกว้างขวาง มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่จะต้องรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ในเอกสารดังกล่าวมีความยาวกว่า 35 หน้า และยังมีการแนบเอกสารการถอดคลิปเสียง คลิปวีดิโอ หน่วยงาน บุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละเรื่องร้องเรียนแนบไปด้วย 

เนื้อหาส่วนสำคัญในเอกสารระบุอีกว่า จากปัญหาดังกล่าว ล้วนเป็นปัญญาใหญ่และเป็นเรื่องที่มีการ กล่าวขาน โจทย์จานกันในสังคม ที่มีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ชื่อเสียงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานป.ป.ช. และเป็นเรื่องที่เป็นกรณีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับพวกถูกกล่าวหา เกี่ยวพันกับการทำงานของนางสาวสุภา หรือบุคคลใน ป.ป.ช. ที่คอยช่วยเหลือ และข้อเท็จจริงที่รายงานและร้องเรียนมานั้น ก็เป็นข้อเท็จจริง ที่มีการกล่าวขาน ถกเถียง โต้แย้งของ ประชาชน สังคม และข้าราชการตำรวจอย่างรุนแรง และเป็นพฤติการณ์ของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับพวก ที่มีการฝ่าฝืนกฎหมายที่มีการช่วยเหลือจากกรรมการ ป.ป.ช. (ที่ปรากฏตามคลิปเสียง พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กล่าวอ้างว่าสนิทกับนางสาวสุภา ปิยะจิต กรรมการป.ป.ช. รวมทั้งข่าวการช่วยเหลือรายงานทรัพย์สินอันเป็นเท็จ) รวมทั้งเจ้าหน้าที่ อนุกรรมการ ป.ป.ช. และบุคคล ที่มีพฤติการณ์กระทำการบิดเบือน ส่งเสริม ช่วยเหลือสร้างความแตกแยกต่อภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างรุนแรงต่อเนื่องและมีการกระทำความผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา แต่ไม่สามารถดำเนินคดีได้ เป็นการกระทำในลักษณะร่วมกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ในองค์กร หลายองค์กร รวมทั้งพฤติกรรมไม่เหมาะสมของกรรมการก.ร.ตร. ฝ่าฝืนตามประมวลจริยธรรม ระเบียบ คำสั่ง
 

ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหาจากผู้บังคับบัญชาระดับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาเป็นข้าราชการตำรวจยศ พลตำรวจเอก มีความสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ มากมาย มีการกดดันพนักงานสอบสวนไม่สามารถดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมกับตนให้ได้ อีกทั้งพบว่ามีการกระทำความผิดของกรรมการ ป.ป.ช.อนุกรรมการ ป.ป.ช. ร่วมด้วย 

ทราบว่าฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 3 ท่าน ขึ้นมาพิจารณาเรื่องพนัน ออนไลน์ คดีฟอกเงินที่เป็นกรณีที่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาลกับพวกถูกกล่าวหา เช่นกัน ปรากฎตาม คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 109/2567 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2567 ประกอบด้วยกรรมการคือ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ นายชาติพงศ์ จีระพันธ์ และพลตำรวจเอกวินัย ทองสอง นั้น 

กระผมจึงขอกราบขอความเมตตาขอให้ท่านสั่งการให้คณะกรรมการตามคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ 109/2567 ทำการสอบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสามเรื่องในพฤติการณ์ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับพวก รวมทั้งพฤติการณ์ของนางสาวสุภา ปิยะจิต กรรมการ ป.ป.ช. (ในช่วงที่ยังไม่พ้นวาระ) และอนุกรรมการประกอบด้วย(1) นายสุรศักดิ์ ศรีวิเชียร กรรมการ ป.ป.ช. และอนุกรรมการ (2) นายยุทธภูมิ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อนุกรรมการและเลขานุการ (3) นาย จรงค์ เกราะเหมาะ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ (4) นายพิพิธ สุขเกษม อนุกรรมการและ เลขานุการ (5) นายนิติ จันทวงศ์ อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องใน การช่วยเหลือยุติการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งตรวจสอบจริยธรรมของ กรรมการก.ร.ตร. ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมขัดหรือฝ่าฝืนต่อประมวลจริยธรรมของข้าราชการ อันเป็นการคอรัปชั่นเวลาราชการ ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่เต็มเวลา บ่อยครั้งจะไลฟ์สดในเวลาราชการ และอยู่ ๓๖ นอกสถานที่(โดยอ้างในคลิปวีดีโอว่าออกไปสืบสวน ซึ่งไม่สามารถทำได้ในฐานะกรรมการที่ได้รับ ค่าตอบแทนต้องทำงานเต็มเวลา) การกระทำดังกล่าวอยู่ ในระยะเวลาช่วง 10 เดือนที่ได้รับการ คัดเลือกเสมอมา การออกสื่อโซเซียล มีพฤติการณ์ก่อให้เกิดความแตกแยกในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติพ.ศ. 2565 มาตรา 43 (4) มาตรา 43 วรรค ท้าย และมาตรา 47 ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการให้ข่าวต่อสื่อโซเซียล สาธารณะ ตามกรอบอำนาจหน้าที่ของกรรมการให้ถึงที่สุดต่อไป