posttoday

เรืองไกร ข้องใจคำชี้แจง พิธา ท้า เปิดหลักฐาน โอนหุ้นไอทีวี

11 มิถุนายน 2566

กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)เตรียมตรวจสอบคุณสมบัติการลงสมัครส.ส. โยงไปถึงประเด็นการถือครองหุ้นไอทีวี42000 หุ้น ของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ฝ่ายตรวจสอบ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยังคงเกาะติดไม่ลดละ ท่ามกลางกระบวนการตรวจสอบ เริ่มเข้มข้นตามลำดับ

หลังจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 6 เสียง ไม่รับคำร้องกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ มีคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ ในการสมัครรับเลือกตั้ง เหตุการถือหุ้นไอทีวี 42,000 หุ้น

แต่เห็นว่า คำร้องดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์และมีหลักฐานพอสมควร และมีข้อมูลเพียงพอที่จะสืบสวนไต่สวน นายพิธา เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง และรู้อยู่แล้วว่า ไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามแต่ได้สมัครรับเลือกตั้ง อันเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 42(3) และมาตรา 151 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. จึงเห็นควรพิจารณาสั่งให้ดำเนินการไต่สวนเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฏ โดยคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนที่ได้รับแต่งตั้งจะดำเนินการไต่สวนตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบต่อไป

กระบวนการตามช่องทาง กฎหมาย ขยับเดินหน้า ในส่วนของ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ในฐานะผู้เปิดประเด็น ยื่นเรื่องให้กกต.ตรวจสอบ ทำหน้าที่ นักตรวจสอบคู่ขนาน ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม โพสต์ทูเดย์ ในแง่มุมต่างๆ

 

คำชี้แจงของ พิธา ในเฟซบุ๊คเมื่อ6มิ.ย. บอกถึงสาเหตุการโอนหุ้นและเรื่องต่างๆ ถือว่า ฟังขึ้นหรือไม่

จะฟังขึ้นไม่ขึ้น คงไม่ใช่หน้าที่ของผม เมื่อนายพิธา ชี้แจงมา คงต้องนำคำชี้แจงนี้ส่งไปให้กกต. เพื่อให้กกต.ได้เห็นว่า ตามที่นายพิธาได้บอกว่า พร้อมจะไปชี้แจงกับกกต. หากได้รับคำเชิญมา และยังบอก ไม่รู้ว่า นายเรืองไกร ร้องขอให้ตรวจสอบในประเด็นใดบ้าง เมื่อไปชี้แจงกับกกต. คงเป็นผลดีต่อการไต่สวนทั้งจากของ กกต.และของนายพิธา 

สัปดาห์หน้า จะนำคำโพสต์เฟซบุ๊คของนายพิธา และย้อนไปถึง 9พ.ค. ที่บอกว่า เป็นการโอนหุ้น ไม่ได้ขายหุ้นเพื่อให้กกต.พิจารณา เพราะนายพิธาบอกว่า ในวันสมัครส.ส.มีข้อเท็จจริง ปรากฎเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ แต่เมื่อนายพิธา บอกได้โอนหุ้นตามมาตรา 1615 (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)แล้ว ไม่ได้มีชื่อผู้ถือหุ้นแล้ว นับจากบิดา เสียชีวิต ซึ่งกกต.จะได้นำไปประกอบการพิจารณา 

 

คงไปบอกว่า ใช่หรือไม่ใช่ ไม่ได้ แต่ต้องเอามาตรา1613 หรือมาตราอื่นเกี่ยวกับการสละหุ้น นำส่งต่อกกต. มาตรา1613 บอกเกี่ยวกับการสละหุ้น ต้องสละหุ้นทั้งหมด หมายถึง หุ้นไอทีวี 4.2หมื่นหุ้น รวมถึงหุ้นตัวอื่นได้สละหรือไม่ พอโพสต์เฟซบุ๊คมา ทำให้เห็นข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มเติม นายพิธา และเลขาปปช. บอก พิธา ตอนยังไม่สละหุ้น ไปยื่นเพิ่มเติมกับปปช. ที่บอกว่ามี หุ้นตัวอื่น ได้ยื่นด้วยหรือไม่ กองมรดกมีเฉพาะหุ้นไอทีวี หรือมี กองอสังหาริมทรัพย์อื่นอีกหรือไม่ มีหนี้หรือไม่ มีข้อเท็จจริง ได้ยื่นต่อปปช.หรือไม่ การยื่นบัญชีต่อปปช.ต้องยื่นทั้งหมด ถ้ายื่นบางส่วน จะเข้าข่ายปกปิดข้อเท็จจริงหรือไม่ 

เข้าใจว่า นายพิธา ในฐานะผู้ถูกร้อง หากกกต.เชิญ มาให้ถ้อยคำ ไม่ว่าจะเป็นการโพสต์ข้อความ หรือให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ยืนยันตามนั้นหรือไม่ ส่วนจะเข้าข่ายตามกฎหมายอะไรบ้าง เป็นหน้าที่ของกกต. พิจารณา 

 

ในรายละเอียด คำชี้แจงให้ผู้ถือหุ้น นับตั้งแต่ปี2559 มีการระบุชัด ไอทีวี ยังมีแผนการทำสื่ออยู่ นายพิธา พยายามอธิบาย นับแต่สปน.ยกเลิกสัญญาไอทีวี ตั้งแต่2550 จึงไม่ได้ประกอบกิจการสื่อแล้ว 

ต้องแยกเป็น2 ส่วน บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) แต่เดิม ไม่ได้ชื่อ ไอทีวี และได้ระบุวัตถุประสงค์ 45 ข้อ โดยมี 4-5ข้อ ในนี้ระบุ ที่เกี่ยวกับสื่อ แต่ในเรื่องสื่อ ไม่ได้เขียน สัญญาร่วมการงาน คำว่า ไอทีวี คนไปเข้าใจ สัญญาร่วมการงาน ระหว่าง สปน. กับ ไอทีวี ซึ่งเป็นที่มาการทำสถานีไอทีวี แล้ววันนี้เป็น จอดำ ก็เฉพาะสัญญาชิ้นนี้ แล้วสัญญาร่วมการงานมีอายุ30ปี ยังเป็นคดีความในชั้นศาลปกครองสูงสุด ในชั้นอนุญาโตตุลาการครั้งที่2 ไอทีวี ชี้ว่า มีการเลิกสัญญาโดยมิชอบ อนุญาโตตุลาการ ชี้ว่า เลิกไม่ชอบ แต่สปน.บอกว่า การไปขออนุญาโตตุลาการครั้งที่2 เป็นการร้องซ้อน ขอให้ศาลปกครอง เพิกถอนคำวินิจฉัยชี้ขาด 


ศาลปกครองกลาง วินิจฉัยออกมาว่า คณะอนุญาโตตุลาการ มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด และชอบแล้ว ศาลปกครองไม่มีอำนาจเพิกถอน จากนั้น สปน.จึงได้รายงานไปยังที่ประชุม ครม. ทำให้หลายคนคาดการณ์ว่า คดีนี้ศาลปกครองสูงสุด อาจจะมีคำพิพากษาลงมา ในเร็วๆวันนี้หรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ ผมไม่ทราบ 


แต่ที่พูด กำลังแยกประเด็น ไอทีวี ไม่ใช่ บริษัทไอทีวี เพียงอย่างเดียว บริษัทไอทีวี ยังมีวัตถุประสงค์ทำสื่อ ประเภทอื่นตามที่ได้จดไว้ ส่วนธุรกิจ ไอทีวี ถูกบังคับใช้หยุดดำเนินกิจการ เพราะมีการตราพระราชบัญญัติเมื่อปี2551 ให้มีการตั้ง สถานีไทยพีบีเอส และให้โอนสัญญาณ UHF ไปให้ ไทยพีบีเอส โดยไอทีวี ขอให้ศาล มีคำคุ้มครอง ตั้งแต่การพิจารณาในชั้นสนช. แต่ศาลปกครองบอก ระงับไม่ได้ เพราะเป็นการพิจารณาของฝ่าย นิติบัญญัติ ทุกวันนี้ สัญญาณจึงเป็นจอดำ แต่การที่สั่งให้ยึดคลื่นไปแล้วเป็นจอดำ อนุญาโตตุลาการชี้ขาดว่า ไม่ชอบ 

เป็นไปไม่ได้ คนเรียนเก่ง จบนอก เรื่องการโอนหุ้น เมื่อเดือนพฤษภาคม2566 บอก จำวันที่โอนไม่ได้ ไม่ได้ถามว่า อาทิตย์ที่แล้ว อาหารเช้าคุณกินอะไรบ้าง แต่นี่เป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง คุณอ้างว่า จำวันที่ไม่ได้ คุณอ้างว่า เป็นการประชุมกับทายาท ประชุมวันไหน โอนวันไหน ทำไมจำไม่ได้ อย่างไรเสียคงไม่เกิน 31พ.ค. น่าจะเกินวันที่ 20 พ.ค. คงอยู่ในช่วง 10 วันนี้ แค่10วันนี้จำไม่ได้ 


นายพิธา อภิปรายเรื่องอื่น จำแม่นนัก ทำไมไม่บอกตรงๆ ง่ายนิดเดียว ผมจำไม่ได้ครับ แต่เดี๋ยวจะแสดงเอกสาร หรือตราสารการโอน ให้ผู้สื่อข่าวดู เหมือนกับที่เคยโชว์รูป มางานศพคุณพ่อมาทันครึ่ง ไม่ทันครึ่ง ภาพ สำเนา สัญญาโอนหุ้นอันนี้อยู่ไหน จะบอกได้เองว่า วันที่เท่าไหร่ 


สัญญาโอนหุ้น รับหุ้น ไม่มีสำเนาหรือ คุณจะเป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทย ทำงานโดยไม่เก็บสำเนาเอกสารหรือ ผมไม่เชื่อ บอกไปเลยวันที่เท่าไหร่ แต่มาบอกว่า จำไม่ได้  ทีวันปฏิวัติวันไหน โอนอายัดเงินตั้งแต่ปี2549 กลับจำได้ แต่เรื่องนี้เพียง1-2อาทิตย์ที่ผ่านมา กลับจำไม่ได้ คุณพิธา กล้าๆหน่อย Fact ก็คือ Fact ซึ่งมันไม่ Fake หรอกถึงอย่างไรก็เป็น Fact อยู่ 

 

การระบุการโอนหุ้น เพื่อป้องกันอนาคต 


ก็ให้เขาไปให้ถ้อยคำกับกกต. ตามที่เขาได้เคยชี้แจงหรือโพสต์เฟซบุ๊คไป เราไม่มีหน้าที่ไป ซักเขา เราเป็นแค่ บุรษไปรษณีย์ เป็น แกร๊ปให้ โดยไม่คิดค่าบริการ ทำให้ฟรี ตอนนี้รวบรวมข้อมูลที่เตรียมยื่นต่อกกต.แล้ว รอแค่ลงวันที่ จะไปยื่นในช่วงอาทิตย์หน้า แน่นอน