posttoday

ตั้งรัฐบาล66:พิธามั่นใจ 8พรรคไร้ปัญหา ร่วมลงนามMOU ตั้งรัฐบาลก้าวไกล

22 พฤษภาคม 2566

ชัยธวัช ยันทุกอย่างจบด้วยดี 8พรรคการเมือง 313 เสียงเห็นพ้องร่วมลงนาม MOU ตั้งรัฐบาล มีการปรับเนื้อหาให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ส่วนการแก้ไขมาตรา112 ขอนำไปหารือร่วมกันในสถาเพื่อให้ได้ข้อยุติร่วมกันของหลายฝ่าย

นายพิธา ลิ้มเจริญ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล  เดินทางเข้าที่ทำการพรรคเพื่อร่วมประชุมกับคณะทำงานพรรค ก่อนที่จะมีการลงนามMOU กับบรรดาพรรคการเมืองที่จะร่วมตั้งรัฐบาลในเย็นนี้
 

นายพิธา กล่าวสั้นๆด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า ยังมั่นใจในการเซ็น MOU ว่าไม่มีปัญหา ทั้งนี้ขอหารือกับคณะทำงานของพรรคก่อน

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ในฐานะทีมเจรจาร่วมรัฐบาล บอกถึง ร่างMOU ที่จะมีการลงร่วมกันว่า
ทุกอย่างเรียบร้อยดีหมดแล้ว เหลือเพิ่มเติมนิดหน่อย แต่สาระสำคัญจบหมดแล้ว เข้าใจกันด้วยดีไม่มีปัญหาอะไร
   
ทั้งนี้ มีแค่บางประเด็นที่พรรคร่วมพรรคอื่นๆอยากจะใส่เพิ่มเข้ามาเพียงข้อเดียว จึงได้สื่อสารกับพรรคเพื่อไทยไปว่าเห็นด้วยหรือไม่ และยังยืนยันว่า ณ ขณะนี้ยังเป็น8พรรค 313 เสียงเช่นเดิม 
    
ส่วนกรณีที่พรรคประชาชาติ ที่เป็นกังวลเรื่องสมรสเท่าเทียมและสุราก้าวหน้ามีการปรับข้อความในระดับที่ยอมรับกันได้หมดแล้ว เพราะได้พูดคุยกับ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ด้วยตนเอง
  
ส่วนกรณี พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ออกมาระบุว่า เงื่อนไขของพรรคก้าวไกลผูกมัดเกินไปนั้น นายชัยธวัช ตอบว่า ไม่ได้พูดคุยเรื่องนี้ และพล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็เสนอวาระทิศทางของพรรคเสรีรวมไทยที่อยากให้ใส่เข้าไปในMOUก็ทำให้เรียบร้อยดี
   
ส่วนกรณีปฏิรูปกองทัพที่มองว่ายิบย่อยไป อยากให้เป็นการกฏิรูประบบราชการแทนนั้น ก็ถือว่า เรียบร้อยและปรับทุกความเห็นอย่างลงตัวที่สุดแล้วและมั่นใจว่า เย็นนี้จะเซ็นลงนามได้ไม่มีปัญหาอะไร ราบรื่นแน่นอน จบไปได้ด้วยดี

เมื่อถามถึงกรณีการแก้ไข ม.112 ที่ทางส.ว.ก็ออกมาให้ความเห็นว่าอยากให้พรรคก้าวไกลพูดให้ชัดเจนว่าจะนำเรื่องเข้าสภาอย่างไรนั้น นายชัยธวัช ตอบว่า เรื่องนี้ชัดเจนว่า หากเหมาะสมที่สุดคือใช้เวทีในสภาหาข้อยุติ เพราะจะได้เป็นข้อคิดเห็นร่วมกันของหลายๆฝ่าย ส่วนการประชุมของ ส.ว.ในวันพรุ่งนี้ ก็คงต้องให้ ส.ว.หารือกันเองภายในก่อน ยังไม่มีการเข้าไปพูดคุยสร้างความเข้าใจเพื่อให้โหวตนายกรัฐมนตรี

นักข่าวถามว่า หลังจากเซ็นต์MOUไปวันนี้แล้ว จะมีโอกาสปรับแก้หรือเพิ่มเติมภายหลังอีกหรือไม่  นายชัยธวัช ตอบว่าคิดว่าน่าจะนิ่งแล้วที่เหลือก็จะเป็นวาระของแต่ละพรรคที่จะช่วยเหลือกัน แม้จะไม่ได้อยู่ในMOU ก็จะต้องหารือกันหลังจากนี้ 

กรณีกระแสโซเชียลที่กดดันพรรคจะทำให้ทำงานลำบากหรือไม่ มองว่า ไม่น่าทำให้ทำงานลำบาก อยากให้มองแง่ดีว่า ประชาขนไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยความหวัง อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงจริงจัง เพราะฉะนั้นความคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเป็นมิติที่ดี

ส่วนตำแหน่งประธานสภา ขณะนี้ยังไม่ได้พูดคุย เพราะหลักการที่หารือ คือ วาระที่จะผลักดันร่วมกัน แลัวค่อยมาออกแบบ แต่ละกระทรวงแต่ละกรม ว่ามีวาระอะไรที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเหล่านั้น แล้วค่อยมาดูว่าแต่ละพรรคจะรับผิดชอบ บริหารกระทรวงไหน

ทั้งนี้ก่อนการแถลงลงนาม MOU จะมีการประชุมกันในเวลา 15.30น.ก่อนเพื่อมาเช็คความเรียบร้อยอีกครั้ง ส่วนจะเป็นไปตาม23ข้อ ที่สื่อมวลชนนำเสนอหรือไม่ อาจจะปรับเล็กน้อยแต่สาระสำคัญไม่ได้เปลี่ยนแปลง

สำหรับร่าง MOU ที่ปรากฎต่อสื่อมวลชนที่มีการนำเสนอดังนี้ 

(ร่าง) บันทึกข้อตกลงร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลบันทึกข้อตกลงร่วมนี้ทำขึ้นเพื่อสร้างพื้นฐานในการจัดตั้งรัฐบาลและทำงานร่วมกันระหว่างพรรคก้วไกล พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคไทยสร้างไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคเพื่อไทรวมพลัง พรรคเป็นธรรม และพรรคพลังสังคมใหม่

ทุกพรรคเห็นร่วมกันว่าภารกิจของรัฐบาลที่ทุกพรรคจะร่วมผลักตันประกอบไปด้วยวาระร่วมดังต่อไปนี้

1. ฟื้นฟูประชาธิปใตย รวมถึงการจัดทำรัฐธรรมนูญบับใหม่ของประชาชนให้เร็วที่สุด โดยมีสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

2. เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในสังคมทุกพรรคจะร่วมผลักตันการอำนวยความยุติธรรมในคดีที่เกี่ยวข้องกับ
การแสดงออกทางการเมืองผ่านกลโกของรัฐสภา

3. ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิสมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับ
ประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการของศาสนาที่ตนเองนับถือ

4. ผลักดันการปฏิรูประบบราชการ ตำรวจ กองทัพ และกระบวนการยุติธรรม ให้สอดคล้องกับหลัก
ประชาธิปไดย โดยยืดหลักความโปร่งใส ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน

5. เปลี่ยนการเกณฑ์ทหารแบบบังคับ เป็นระบบสมัครใจ

6. ร่วมผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคำนึงถึงหลักการ
ด้านสิทธิมนุษยชน การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงทบทวน
ภารกิจของหน่วยงานและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง

7. ผลักดันการกระจายอำนาจทั้งในแง่ภารกิจและงบประมาณ เพื่อให้ท้องถิ่นตอบสนองความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริต

8. แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโดยการสร้างระบบและวัฒนธรรมรัฐโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลรัฐในทุก
หน่วยงาน

9. ร่วมฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน ลดความเหสื่อมล้ำ และสร้างระบบเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างเป็นธรรม

10. ยกเครื่องกฎหมายเกี่ยวกับการทำมาหากิน และการดำรงชีวิตของประชาชน เช่น ตัด ลด หรือพักใช้
ชั่วคราวซึ่งใบอนุมัติ อนุญาตที่ไม่จำเป็นและเป็นอุปสรรคเพื่อปรับปรุงใหม่ ให้ความช่วยเหลือสภาพคล่อง
ทางด้านการเงินและสร้างแต้มต่อให้กับ SME พร้อมกับมุ่งเน้นการเติบโต GDP ของ SME สนับสนุน
อุตสาหกรรม และสินค้าไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้

11. ยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม เช่น เครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์

12. ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ ด้วยการผลักตันกฎหมายปฏิรูปที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
แก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกับที่ดินของประชาชน รวมถึงการทบทวนคดีที่เป็นผล
จากนโยบายทวงคืนผืนป่า

13. ปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพ
ประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน

14. จัดทำงบประมาณแบบใหม่ โดยเน้นใช้วิธีการจัดงบประมาณฐานศูนย์ (zero-based budgeting)

15. สร้างระบบสวัสดิการดูแลประชาชนตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงวัย โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและภาระทางการคลังระยะยาว

16. แก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเร่งด่วน

17. นำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยมีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้ประโยชน์จากกัญชา

18. ส่งเสริมเกษตรและปศุสัตว์ปลอดภัย คุ้มครอง รักษาผลประโยชน์ของเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิตส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยี และแหล่งน้ำ ส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรเพื่อวางแผนการผลิตและรักษาผลประโยชน์กษตรกร ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ

19. แก้ไขกฎหมายประมง ขจัดอุปสรรค เยียวยา ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพประมงให้ยั่งยืน

20. ยกระดับสิทธิแรงงานทุกอาชีพให้มีสภาพการจ้างงานที่เป็นธรรม และได้รับค่แรงที่เป็นธรรมสอดคล้อง
กับคำาครองชีพและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

21. ปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

22. สร้างความร่วมมือและกลไกภายในและระหว่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ รวมถึงการลดการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกสุทธิ์ให้เป็นศูนย์ (Net Zero) โดยเร็วที่สุด

23. ดำเนินการนโยบายการต่างประเทศ โดยการฟื้นฟูบทบาทผู้นำของไทยในอาเชียน และรักษาสมดุล
การเมืองระหว่างประเทศของไทยกับประเทศมหาอำนาจ


ทุกพรรคเห็นพ้องกันว่าจะร่วมกันบริหารประเทศด้วยแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้:
1. ทุกพรรคจะคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประชาชนทุกคน
2. ทุกพรรคจะทำงานโดยซื่อสัตย์สุจริต หากมีบุคคลของพรรคใดมีพฤติกรรมทุจริต คอร์รัปชัน ทุกพรรคจะ
ยุติการดำรงตำแหน่งของบุคคลนั้นๆ ทันที
3. ทุกพรรคจะทำงานโดยให้เกียรติซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน โดยยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง มากกว่าผลประโยชน์ของพรรคใดพรรคหนึ่ง
4. ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้โดยอาศัยอำนาจฝ่ายบริหารของรัฐมนตรีที่เป็นตัวแทนของแต่ละพรรคการเมือง
5. ทุกพรรคมีสิทธิในการผลักดันนโยบายอื่นเพิ่มเติม แต่ไม่ขัดแย้งจากนโยบายในบันทึกข้อตกลงร่วมฉบับนี้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติของผู้แทนราษฎรที่สังกัดแต่ละพรรคการเมือง