posttoday

ตั้งรัฐบาล66 : พิธา ลิ้มเจริญรัตน์  นายกฯคนที่30 ฝันที่เป็นจริง? 

15 พฤษภาคม 2566

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกฯ ก้าวไกล เปิดใจกับ3บก. เป็นครั้งแรกก่อนการเลือกตั้ง66 มั่นใจพรรคมีเสียงเป็นอันดับ1 ได้สิทธิเป็นแกนนำในการตั้งรัฐบาล

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์กับ3บก.นายสมชาย มีเสน , นายวีระศักดิ์ พงษ์อักษร และ นายบากบั่น บุญเลิศ ผ่านเนชั่นสุดสัปดาห์ เป็นครั้งแรกก่อนการเลือกตั้งทั่วไปว่า พรรคก้าวไกลหวังได้คะแนนเลือกตั้งมีเสียงเป็นพรรคอันดับหนึ่ง ในการจัดตั้งรัฐบาล หรือหากไม่ได้เป็นพรรคอันดับหนึ่งก็ควรให้สิทธิพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยที่มีคะแนนเสียงอันดับหนึ่งได้จัดตั้งรัฐบาล 

นายพิธา วิเคราะห์ว่า การเลือกตั้ง66 มี4ปัจจัยที่พรรคก้าวไกลจะประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะการเลือกตั้ง66ได้จำนวนที่นั่งในสภาเกินกว่า100 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.คะแนน 2.แคนดิเดต 3.คู่แข่ง และ4.คนที่มาโหวตซึ่งแต่ละพื้นที่ก็มีคะแนนเก่ามาตั้งแต่เมื่อปี 2562 ประกอบกับการลงพื้นที่ ทำให้สามารถเคราะห์แยกแยะได้ว่า พรรคจะช่วงชิงคะแนนได้จากคนกลุ่มใด โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่ตั้งความหวังไว้มาก เนื่องจากร้อยละ55ของมีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมีอายุน้อยกว่าตัวเอง นั้นแสดงว่ามีแต่อนาคตมาลงคะแนนไม่มีอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น จากจำนวน 400 ที่นั้งถือเป็นหมากกระดานการเมือง ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าชนะการเลือกตั้งได้ส.ส.ราว 160ที่นั่ง จะแพ้คะแนนให้กับพรรคการเมืองใหญ่ไปเพียงแค่5%เท่านั้น
 

ทั้งนี้ ใน160ที่นั่ง ที่พรรคก้าวไกลมองว่ามีโอกาสชนะการเลือกตั้ง66 ซึ่งมีโอกาสชนะอยู่ที่ 50% 70% หรือ 75%  ซึ่งในพรรคก้าวไกลช่วงเวลานั้นมีความขัดแย้งกันดังที่ทรา ในทุกองค์กรก็ต้องมีความขัดแย้ง อยู่ที่ว่าเราจะสามารถบริหารอย่างไร ให้ทำให้วิกฤตเป็นโอกาส ไม่ได้ให้วิกฤตเป็นหายนะ ตอนนี้ ทุกคนมารวมพลังสปิริตแบบพรรคอนาคตใหม่ มีผู้ช่วยหาเสียงอย่าง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยะบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช ที่กลับมาช่วยพรรคก้าวไกล รวมถึงนายรังสิมันต์ โรม วิโรจน์ลักขณาอดิศร น.ส.อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล นายพริษฐ์ วัชรสินธุ หรือไอติม ทำให้การทำงานเข้าฝักมากขึ้น ดังนั้นจาก 160ที่นั่ง จึงทำให้เปลี่ยนเป็นชัยชนะได้
 
อย่างไรก็ตามเมื่อวิเคราะห์ว่า การที่พรรคก้าวไกล จะได้ที่นั่งในสภา 160ที่นั่งตามที่หวัง คู่แข่งทางการเมืองสำคัญคือพรรคเพื่อไทย นายพิธา มองว่า การแข่งขันเป็นปกติทางการเมือง แต่ความเห็นส่วนตัวการแข่งขันรอบนี้ เป็นการแข่งขันที่ขยายพาย (พิชซ่า) ที่ใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะใน3จังหวัดชายแดนทางการเมือง เพราะมีทั้งผู้เป็นทางการเมือง ผู้ที่ไม่ตัดสินใจทางการเมือง ผู้ที่ไม่สนใจทางการเมือง และผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่