posttoday

เปิดคำวินิจฉัย "นครินทร์" ตุลาการเสียงข้างน้อย ปมนายก8ปี สกัดผูกขาดอำนาจ

05 ตุลาคม 2565

"ยึดเจตนารมณ์ รัฐธรรมนูญ ป้องกันผูกขาดอำนาจบริหาร" เปิดคำวินิจฉัยส่วนตน "นครินทร์ เมฆไตรรัตน์" ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยให้ประยุทธ์พ้นเก้าอี้นายกฯ ตั้งแต่ 24ส.ค.65 

เปิดคำวินิจฉัยส่วนตนของ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 1 ใน 3 เสียงข้างน้อยที่วินิจฉัยว่าสถานะความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบ 8 ปี มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้

ข้อเท็จจริงตามคำร้อง ฟังได้ว่า พล.อ.ประยุทธ์ (ผู้ถูกร้อง) ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง ให้ดำรงตาแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2547 มาตรา 19 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 จนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 และต่อมาเมื่อมีรัฐสภาชุดแรก ที่ประชุมได้ลงมติ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 เห็นชอบด้วยในการแต่งตั้งผู้ถูกร้องเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9  ๙ มิถุนายน 2562 มาจนถึงปัจจุบัน

 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 วรรคสี่ ได้กำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บัญญัติว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตาแหน่ง”

พิจารณาแล้วเห็นว่า บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มีเจตนารมณ์ในการมุ่งควบคุมอำนาจของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้า ฝ่ายบริหาร อันเป็นคุณค่าของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความสาคัญไม่ต่างจากการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของปวงชนชาวไทยแต่อย่างใด

อำนาจบริหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย อันเป็นอำนาจสูงสุดของปวงชนชาวไทย การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นระยะเวลานาน จนมีลักษณะเป็นการผูกขาดอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือวิกฤต ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์ของประชาชน ประโยชน์สาธารณะ ระบอบการปกครอง และการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ

ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต ความเหลื่อมล้าทางสังคม และการใช้อานาจโดยไร้ธรรมาภิบาล รวมไปถึงปัญหาการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำลายระบบถ่วงดุลอานาจจากฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายตุลาการ หากไม่มีการตรวจสอบ ย่อมส่งผลทำให้การปกครองในระบบรัฐสภา ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทยเสื่อมถอย จนอาจมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 จึงมีเจตนารมณ์ในการป้องกันปัญหาหรือวิกฤต ทางการเมืองดังกล่าว

มาตรา 158 วรรคสี่ ได้กำหนดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้รวมกันแล้วเกินกว่าแปดปีมิได้ ไม่ว่าจะดำรงตาแหน่งติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป หลังพ้นจากตำแหน่ง อันเป็นมาตรการจำกัดการผูกขาดและการใช้อานาจทางการเมืองของฝ่ายบริหาร โดยไม่เป็นไปตามหลักการและเจตนารมณ์ของการตรวจสอบในระบบรัฐสภา ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักการการจำกัดวาระและระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นกลไกของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม

ดังนั้น บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้มีลักษณะเป็นการจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคล หากแต่เป็นการกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการมุ่งควบคุมอำนาจของบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ หากรัฐธรรมนูญไม่ป้องกันการผูกขาดอำนาจอาจก่อให้เกิดปัญหาซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประโยชน์ของประชาชน ประโยชน์สาธารณะ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระบอบการปกครองของประเทศไทย อย่างมีนัยสาคัญ

เมื่อพิจารณาถึงเจตนารมณ์ของการกำหนดระยะเวลาการดำรงตาแหน่ง รวมไปถึงการที่เจตนารมณ์ดังกล่าวผ่านการออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบจากปวงชนชาวไทย และบทบัญญัติมาตรา 264 ย่อมต้องถือเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปว่า แม้บุคคลใดจะเป็นนายกรัฐมนตรีที่มิได้มีที่มาตามวิธีการของรัฐธรรมนูญนี้ หรือไม่ว่าจะมีที่มา จากกระบวนการเข้าสู่อานาจฝ่ายบริหารในลักษณะใด แต่บุคคลนั้นได้ดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงต้องนับรวมเป็นระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 วรรคสี่

ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปมีว่า เมื่อวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๑๕๘ วรรคสี่แล้วจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ หรือไม่ พิจารณาแล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 167 วรรคหนึ่ง เพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม เนื่องจากดำรงตำแหน่งครบกำหนดเวลาและเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่ง ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาแปดปี จึงเป็นกรณีที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบถ้วน ตามกาหนดเวลา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 258 วรรคสี่

ดังนั้น เมื่อความเป็นรัฐมนตรี ของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงไม่อาจอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตาแหน่งได้ นับแต่วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือ วันที่ 24 สิงหาคม 2565 และไม่อาจอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้