posttoday

"ตำรวจ" ครองแชมป์ถูกประชาชนร้องเรียนมากที่สุด

08 มิถุนายน 2565

"ตำรวจ" ครองแชมป์ถูกประชาชนร้องเรียนมากที่สุด ตามติดทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่พล.อ.ประนยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้รับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564)

1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 17,687 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 15,585 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.12 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,102 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.88

1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

(1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 930 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 734 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 651 เรื่อง กระทรวงการคลัง 586 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 331 เรื่อง

(2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 187 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 122 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 101 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 97 เรื่อง และการประปา นครหลวง 95 เรื่อง

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 950 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 260 เรื่อง สมุทรปราการ 252 เรื่อง ปทุมธานี 202 เรื่อง และชลบุรี 189 เรื่อง

2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้

2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องร้องทุกข์ 34,091 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2,069 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 36,160 เรื่อง)

2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่

(1) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งให้มีมาตรการเข้มงวดในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เทศกาลวันปีใหม่และกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก (1,736 เรื่อง)

(2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน โดยขอให้แก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจากสถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน (921 เรื่อง)

(3) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า (734 เรื่อง)

(4) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (688 เรื่อง)

(5) ค่าครองชีพ เช่น ขอความช่วยเหลือในการพิจารณาสิทธิตามโครงการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (686 เรื่อง)

(6) โทรศัพท์ เช่น ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลขสายด่วน 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานเขตและหน่วยงานอื่น ๆ ในส่วนภูมิภาค และขอชมเชยศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนหมายเลขสายด่วน 1111 กด 2 และกด 0 (673 เรื่อง)

(7) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อนและไม่มีคุณภาพ และขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา (572 เรื่อง)

(8) ถนน เช่น ให้ปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนน พื้นผิวถนน สะพานกลับรถบาทวิถี ตีเส้นแบ่งช่องการจราจร ขยายช่องทางจราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทางและติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต (519 เรื่อง)

(9) อุทกภัย เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้ระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซาก (514 เรื่อง)

(10) การเมือง เช่น ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และขอให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ (478 เรื่อง)

"ตำรวจ" ครองแชมป์ถูกประชาชนร้องเรียนมากที่สุด

"ตำรวจ" ครองแชมป์ถูกประชาชนร้องเรียนมากที่สุด ตามติดทั้งกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง และกระทรวงคมนาคม

คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่พล.อ.ประนยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน ได้รับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564)

1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 17,687 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 15,585 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.12 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,102 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.88

1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

(1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 930 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 734 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 651 เรื่อง กระทรวงการคลัง 586 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 331 เรื่อง

(2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 187 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 122 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 101 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 97 เรื่อง และการประปา นครหลวง 95 เรื่อง

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 950 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 260 เรื่อง สมุทรปราการ 252 เรื่อง ปทุมธานี 202 เรื่อง และชลบุรี 189 เรื่อง

2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้

2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องร้องทุกข์ 34,091 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2,069 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 36,160 เรื่อง)

2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่

(1) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งให้มีมาตรการเข้มงวดในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เทศกาลวันปีใหม่และกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก (1,736 เรื่อง)

(2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน โดยขอให้แก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจากสถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน (921 เรื่อง)

(3) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า (734 เรื่อง)

(4) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (688 เรื่อง)

(5) ค่าครองชีพ เช่น ขอความช่วยเหลือในการพิจารณาสิทธิตามโครงการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (686 เรื่อง)

(6) โทรศัพท์ เช่น ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลขสายด่วน 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานเขตและหน่วยงานอื่น ๆ ในส่วนภูมิภาค และขอชมเชยศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนหมายเลขสายด่วน 1111 กด 2 และกด 0 (673 เรื่อง)

(7) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อนและไม่มีคุณภาพ และขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา (572 เรื่อง)

(8) ถนน เช่น ให้ปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนน พื้นผิวถนน สะพานกลับรถบาทวิถี ตีเส้นแบ่งช่องการจราจร ขยายช่องทางจราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทางและติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต (519 เรื่อง)

(9) อุทกภัย เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้ระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซาก (514 เรื่อง)

(10) การเมือง เช่น ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และขอให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ (478 เรื่อง)