posttoday

"กลุ่มคณะประชาชน"รวมตัวจี้นายกฯลาออก"สายหยุด"ถอนชื่อแล้ว

18 ตุลาคม 2563

"สายหยุด เกิดผล"ขอถอนตัวไม่ร่วมลงชื่อกับกลุ่มคณะประชาชนยื่น 3 ข้อเรียกร้องให้"ประยุทธ์"ลาออกจากนายกฯอ้างเห็นด้วยกับข้อเสนอแต่อายุมากขอถอนชื่อ

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.ความคืบหน้ากรณีกลุ่มบุคคลที่อ้างชื่อว่า “กลุ่มคณะประชาชน” เคลื่อนไหวร่วมกันล่ารายชื่อเพื่อแสดงความห่วงใยประเทศ และข้อเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ โดยล่าสุดมีผู้ร่วมลงชื่อมากกว่า 100 คน จากหลากหลายวงการเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสียสะด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ล่าสุด นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ร่วมลงชื่อ "คณะประชาชน" ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า "ขอแจ้งความคืบหน้าและแก้ไขข่าว เกี่ยวกับรายชื่อประชาชนที่เสนอ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ให้พลเอกประยุทธ์ลาออก สอง มี สสร.ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ และ สาม ปล่อยนักเรียนนักศึกษาที่ถูกจับกุม

ประการแรก ไม่มี พลเอกสายหยุด เกิดผล ในรายชื่อดังกล่าว เนื่องจากการประสานงานที่ตัวแทนท่านมาประชุมและสื่อสารว่าท่านเห็นด้วย แต่เมื่อภายหลังท่านให้ความเห็นว่า เห็นด้วยแต่ไม่ขอลงชื่อเนื่องจากอายุมากแล้ว จึงขออนุญาตนำชื่อของท่านออก

ประการที่สอง ขณะนี้ มีผู้ร่วมรายชื่อเข้ามามาก เป็น 157 คนแล้ว โดยผ่านการประสานงานจากฝ่ายต่างๆที่แบ่งกันไปทำหน้าที่ จะพยายาม update ไปเรื่อยๆ แม้ว่าจะมีการประกาศปิดแล้วก็ตาม

ประการที่สาม ในบ่ายวันนี้ จะมีการประชุมกลุ่มผู้ริเริ่มความคิด เพื่อดำเนินการให้ได้ผลในขั้นต่อไปครับ

ความห่วงใยประเทศ และข้อเรียกร้องต่อผู้มีอำนาจ

การชุมนุมของประชาชนในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่า ความรู้สึกไม่พอใจต่อคณะผู้ปกครองประเทศที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ขยายตัวและมีแนวโน้มที่รุนแรงจริงจังมากขึ้น ไม่ว่ารัฐบาลจะใช้กลไกรัฐ มาตรการ หรือ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉินในระดับร้ายแรง การจับกุมแกนนำ หรือ ใช้วิธีการทางกฎหมายใดๆก็ไม่สามารถห้ามปรามการแสดงออกถึงความไม่พอใจของประชาชนได้

ยิ่งการใช้กำลังรุนแรงเพื่อสลายการชุมนุมในคืนวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ไม่เป็นไปตามหลักสากลของสหประชาชาติที่ต้องแยกแยะระหว่างการชุมนุมที่ผิดกฎหมายและการชุมนุมที่ไม่มีความรุนแรง แต่รัฐกลับเลือกใช้วิธีการจัดการสลายฝูงชนโดยใช้น้ำฉีดผสมสารเคมี และกองกำลัง ราวกับการจัดการจลาจลทั้งที่เป็นการชุมนุมโดยสงบ ไม่มีอาวุธ ไม่มีการเข้าทำลายสถานที่ หรือก่ออันตรายต่อชีวิตทรัพย์สิน และกลุ่มผู้ชุมนุมยังประกอบด้วยเด็ก เยาวชน นักเรียน สตรี จำนวนมาก ถือเป็นการขาดความชอบธรรมในการปกครองประเทศ

สาเหตุที่สำคัญที่นำไปสู่การชุมนุม คือ ความไม่พอใจต่อการบริหารประเทศที่ล้มเหลวทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการเห็นว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสำคัญนั้นถูกสร้างขึ้นอย่างไม่เป็นกลาง เจตนาเพื่อการสืบทอดอำนาจในคณะพวกของตัวเอง และ การชุมนุมของประชาชน นักเรียน และนักศึกษากลับถูกคุกคาม จับกุมคุมขังอย่างไม่เป็นธรรม

เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่ตรงกับสาเหตุ คณะประชาชนที่ประกอบด้วยอดีตนักการเมือง นักการทหาร อดีตข้าราชการระดับสูง นักวิชาการ นักธุรกิจ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองและขอแสดงจุดยืนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อประเทศ 3 ข้อดังนี้

ข้อที่ 1 ถึงเวลาแล้วที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องเสียสละตนเอง ด้วยการลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อให้บ้านเมืองเดินต่อไปได้ เพราะท่านเป็นศูนย์กลางของความขัดแย้งรังแต่จะนำไปสู่การบานปลายของสถานการณ์ที่ไม่พึงปรารถนา การลาออกนั้นเพื่อให้รัฐสภาได้ใช้กลไกในรัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญ โดยขอให้สมาชิกวุฒิสภาลงคะแนนอย่างเป็นอิสระ หรืองดออกเสียง แต่หากไม่มีผู้ทีอยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่เหมาะสม ก็สามารถใช้วรรคสองของมาตรา 272 เลือกบุคคลที่อยู่ภายนอกบัญชีรายชื่อ ด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ของรัฐสภาได้

ข้อที่ 2 คณะผู้บริหารใหม่ จะอยู่ในวาระเพียงแค่เวลาที่เหลือของรัฐสภาชุดปัจจุบัน โดยมีภารกิจหลัก คือ การส่งเสริมให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในเวลาไม่นาน และหากร่างรัฐธรรมนูญเสร็จและผ่านการลงประชามติจากประชาชนแล้ว ให้มีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ ส่วนการคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงองค์กรอิสระต่างๆรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญใหม่

ข้อที่ 3 รัฐบาลต้องปล่อยตัวนักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่ถูกจับกุมจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมาอย่างไม่มีเงื่อนไข หากจะมีการดำเนินคดีต้องเลือกกรณีที่เป็นความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง ไม่ใช่คดีมโนสาเร่ และไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรู้สึกว่า รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ในขณะเดียวกันหากสามารถใช้หลักรัฐศาสตร์นำหลักนิติศาสตร์ตามสถานการณ์โดยเน้นความสงบของบ้านเมืองเป็นหลัก

ข้อเสนอทั้ง 3 ประการนี้ เป็นข้อเสนอที่ตรงไปตรงมาที่สุดโดยปราศจากความเอนเอียงทางการเมืองใดๆ เพื่อให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าได้ โดยมีผู้เห็นชอบร่วมลงนามข้างท้ายนี้ (เรียงตามตัวอักษร)

1 กมล กมลตระกูล

2 กรฤต แก้วเมือง

3 กรองทอง มณีสิน

4 กฤตสุเมธ ชัยรัตน์

5 กฤษณ์ ขำทวี

6 กฤษณ์ แจ้งจรัส

7 กฤษณา ไวสำรวจ

8 กัญญารัตน์ บุญนอก

9 กันตนา นามสันตผ์

10 กาญจนี วัลยเสวี

11 การุณ ใสงาม

12 กุลชลี งามกาญจนรัตน์

13 เกษม ศุภสิทธิ์

14 เกียรติศักดิ์ แฉ่งสูงเนิน

15 เกียรติศักดิ์ ตันติจริยาพันธ์

16 คงเจตน์ พร้อมนำพล

17 จรณ วันแต่ง

18 จรัญ วงศ์สวัสดิ์

19 จันทนิภา คำจันทร์

20 จำรัส กาสุริยะ

21 จุลภาส เครือโสภณ

22 เฉลิม สารสิงห์

23 ชัชชัย คุ้มทวีพร

24 ชัยภัทร ตรีอุดม

25 ชัยรัตน์ สีบัวขาบ

26 ชื่นใจ วงศ์ฤทธิ์เดชากิจ

27 ชุณห์พิมาน เชษฐ์เมทินี

28 ชูเดช พันทวี

29 ชูศักดิ์ เพรสคอทท์

30 โชตินทร์ อรุโณทัย

31 โชไอซ์ ปาทาน

32 ญาณภัทร หลักเสลา

33 ณธาร ภูมิภาสภาคิน

34 ณัฎฐา มหัทธนา 

35 ณัฐนันท์ แก่นเกษ

36 ณิชชา ธารธาราทอง

37 ดวงเดือน อุทาธรณ์

38 ตรีเนตร สาระพงษ์

39 ตะวัน บุญสงค์

40 ทรรศนี เชี่ยวอาชา

41 ทวีสิทธิ์ วงศ์ฤทธิ์เดชากิจ

42 ทองสืบ ประสาธน์สุวรรณ

43 ไทกร พลสุวรรณ

44 ธนเสฎฐ์ ตุ้มทอง

45 ธเนศ   จิตรธิรา

46 ธรรมชาติ สีหนู

47 ธรรมยุทธ สุทธิวิชา

48 ธีรชา เดชาธีรนัน

49 นงนุช กัณหารัตน์

50 นภา นทีทอง

51 นรพันธ์ จันทร์หอม

52 นันทณัฏฐ์ เขียวสนั่น

53 นันทิชา สุขทวีทรัพย์

54 นิรันศักดิ์ บุญจันทร์

55 เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล

56 เนติหัทยา วิสิฐเนติกานต์

57 บรรพต งามกาญจนรัตน์

58 บุญธร อุปนันท์

59 บุญส่ง ชเลธร

60 บุรี ธรรมรักษ์

61 ประทีป นวลเศรษฐ

62 ประทีป อินแสง

63 ประพจน์ ศรีเทศ

64 ปรีดา วรินทรเวช

65 ปองจิต สร้อยแสง

66 ปัญญมน ชินธมนวัชร

67 ปิติพงศ์ เต็มเจริญ

68 ปิยะภร ไพรสนธิสัญญา

69 พงศ์พล สุขบัญชา

70 พรชัย เทพปัญญา

71 พรทิพย์ สารีโส

72 พรพรหม วิกิตเศรษฐ

73 พลศักดิ์ นนท์พละ

74 พัชรพงษ์ เพ็งอำไพ

75 พัฒนา สุภาวงศ์วณิช

76 พานี แหวนพรม

77 พิกุลทอง ดวงประสิทธิ์

78 พิเชษฐ์ ตรีวัชระชัย

79 พินิจ นิลรัตน์

80 พิมพ์ภินันท์ ไชยทิพย์

81 พูนศักดิ ไวสำรวจ

82 พูลไท ลวากร

83 ภัทชริยา กลางประพันธ์

84 ภัทริกา ปัญญา

85 ภูริวัฒน์ เพ็งอำไพ

86 มานะ มติธรรม

87 รจนา บูระวงษ์

88 รังสรรค์ จันต๊ะ

89 รัชนี ซ่อนนอก

90 รัชพล จูมทอง

91 รัฐกร ใจเย็น

92 ริญญารัตน์ แสงไสย

93 ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์

94 วณิชกานต์ ตันกาศ

95 วรภัทร วีรพัฒนคุปต์

96 วราเทพ ยศวงษ์

97 วราภรณ์ บูระวงษ์

98 วัชระ เพชรทอง

99 วัลลภ แจ้งจิต

100 วิชาญ นายสอง

101 วิเชียร เพ็ญสาริกาญจน์

102 วิทยา ชินบุตร

103 วิทยากร เชียงกูล

104 วิรศักดิ์ สมพันธ์

105 วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร

106 วีนัตย์ แดงด้อมยุทธ

107 วีระยุทธ ลาสงยาง

108 ศรัณย์รัช รัตนพันธ์

109 ศิริพรวันวัก

110 เศวต ทินกูล

111 สมชัย ศรีสุทธิยากร

112 สมบูรณ์ ทองบุราณ

113 สมพงษ์ ดวงเพชรแสง

114 สมพจน์ ปิยะอุย

115 สมรวย สุวรรณภักดีจิต

116 สมศรี หาญอนันทสุข

117 สรนันท์ เสน่ห์

118 สรวิศทชากร สกุลโสภณ

119 สรีน หมายหยะ

120 สวาท ชูช่วยสุวรรณ

121 สันฐิติ เศวตศิลป์

122 สืบพงศ์ หงษ์ภักดี

123 สุทธิศักดิ์ ประศาสน์ครุการ

124 สุทิน เรือนงาม

125 สุนันทา ธรรมธีระ

126 สุริยา วิชัยผิน

127 สุวิชญ์ สุวดินทร์กูร

128 เสรีภาพ ศรีบุรี

129 อธิโรจน์ ธนาชัยอริยรัฐ

130 อนันญา โคกเสนา

131 อนุสรณ์ ธรรมใจ

132 อรวรรณ เชิญรุ่งโรจน์

133 อลงกต ไพโรจน์

134 อัครชัย วิชุวงษ์

135 อังคณา หลักเสลา

136 อุดม ทิพราช

137 อุไรวรรณ์ สิริวัฒนาถาวรชัย

138 เอกธนา บุบผาลิตร

139 เอกรินทร์ บุตรสมศรี

140 เอกศักดิ์ แดงเดช

141 เอกสิทธิ์ กุเวฬรัตน์

142 สัมพันธ์ หุ่นพยนต์

143 สุรัสวดี  หุ่นพยนต์

144 สาวิก  ปาลกะวงศ์

145 เสาวนีย์ มฤคพิทักษ์

146 มาลี  พฤกษ์พงศาวลี

147 สุนทร  ช่วยตระกูล

148 ประพนธ์ กัณฑ์ศรี

149 จิตกร แสงประทีป

150 ชัยวุฒิ อ้อยบำรุง

151 นิพนธ์ ฤทธิชัย

152 สันติชัย  ชายเกตุ

153 ดัสกร  ดวงใจ

154 ขัตติยาพร แซ่ซื่อ

155 ชินวัฒน์  ตั้งสุทธิจิต

156 พลภาขุน เศรษฐญาบดี

157 สุนทร ช่วยตระกูล

158 พงศา ชูแนม