posttoday

เด็กปชป.อัด รัฐบาลไม่รักษาสัญญาประชาคมสุมไฟยื้อแก้รธน.

25 กันยายน 2563

พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล สส.ประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก จี้ ส.ว. รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ตั้งกมธ.ศึกษาญัตติแก้รธน. ชี้สุมไฟให้สถานการณ์การเมืองแรงขึ้น

เมื่อวันที่ 25 ก.ย. น.ส. พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์มีมติโหวตไม่รับ การตั้งกรรมาธิการ?พิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ?ร่วมก้บ สว. และ พรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจาก การแก้รัฐธรรมนูญ?มาตรา 256 เป็นกุญแจดอกแรกที่สามารถนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญได้ ในการขอแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องมีเสียงสว. มากกว่า 84 ท่านซึ่งน่าเสียดายว่า ท้ายสุด สว. และพรรคพลังประชารัฐ ภูมิใจไทย และพรรคร่วมรั.บาล มีมติให้ตั้งกรรมาธิการ ร่วม เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาอีก 30 วัน

การทำสิ่งนี้ เป็นการไม่รักษาสัญญาประชาคม และสัญญาในการร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์?โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนนี้ที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ การกระทำในวันนี้ถือเป็นการสุมฟืนลงไปในกองไฟ อาจทำให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง นอกสภาที่รุนแรงมากขึ้น เป็นการแปลกแยกสังคม แปลกแยกประชาชน ทวีความขัดแย้ง สว. และรัฐบาล ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ กับการตัดสินใจครั้งนี้ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงขอบันทึกไว้ #งานสภาพิมรพี #กระบี่อยู่ที่ใจ #สส พิมพ์รพีพันธุ์วิชาติกุล

ลำดับเหตุการณ์ กรณีการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ นี้

- เริ่มต้นหลังเลือกตั้ง พรรคพลังประชารัฐ เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล การแก้รัฐธรรมนูญ เป็น 1 ใน 3 เงื่อนไข ที่ ประชาชนเสนอและพรรคพลังประชารัฐ ยินยอมโดยบรรจุใว้ในนโยบาย เร่งด่วน ข้อ 12 ในการแถลงนโยบายต่อสภา

-มีการเรียกร้องจากสังคม ให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ จนสภาต้องตั้ง กรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา การแก้รัฐธรรมนูญ โดยมีที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

-มีการชุมนุมของนักศึกษา และตั้งข้อเสนอหลายข้อ แต่หนึ่งในข้อเสนอนั้น คือการแก้รัฐธรรมนูญ ฉบับปี 60 นี้ โดยให้เหตุผลว่า ต้องการ ปิดสวิตซ์ สว. ไม่ให้มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะไม่มีที่มาจากประชาชน

- นายกรัฐมนตรีบอกว่าไม่ขัดข้องเป็นเรื่อง ของสภาที่มีการศึกษาอยู่ ถ้าสรุปผลมาอย่างไร ก็ต้องเป็นไปตามนั้น

- กรรมาธิการศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ ได้ศึกษาเสร็จ รายงานต่อสภาว่ามีมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ใน มาตรา 256 เรื่อง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

- พรรคร่วมรัฐบาลมีมติพรรคร่วมรัฐบาลร่วมกันให้ เสนอร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 256 โดยให้มีการตั้ง สสร ที่มาจากประชาชน เพื่อไปคิดว่าจะแก้ อะไรอย่างไร ไม่แต่ หมวด 1 หมวด 2 เรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์

- ประธานสภาต้องบรรจุญัตติ การขอแก้รัฐธรรมนูญ ทั้งฝ่ายค้าน พรรคร่วมรัฐบาล และ ร่างต่างๆ รวม 6 ฉบับ เพื่อพิจารณา ตามกฎหมายภายใน 15 วัน

-23-24 กันยายน รัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ร่วมกันเนื่องจากกฎหมายกำหนด วิปพรรคร่วมรัฐบาลตกลงกันมาตั้งแต่แรกว่า รับหลักการร่าง ของพรรคร่วมรัฐบาลเอง ส่วนอีก 4 ร่างฟรีโหวต

-24 กย ก่อนลงมติรับหลักการ สว และ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้มีการตั้ง กรรมกาธิการเพื่อศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญ อีกครั้ง เนื่องจาก สว เป็นกังวลว่าไม่มีส่วนร่วมการศึกษา ทั้งที่ สามารถไปดำเนินการได้ในชั้น วาระที่ 2 คือแปรญัตติ

- พรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่าทุกอย่างผ่านการศึกษามาอย่างเป็นระบบแล้ว และเป็นร่างแก้ไข ที่เป็นของพรรคร่วมรัฐบาลเองเห็นชอบร่วมกันที่เสนอเข้ามาสู่สภา และหากลงมติเห็นด้วย จะถูกนำไปสู่ข้อกล่าวหาเตะถ่วง และเพิ่มความขัดแย้งในสถานการณ์ จึงลงมติไม่เห็นด้วยที่จะตั้งกรรมาธิการขึ้นมาศึกษา ของพรรคพลังประชารัฐ และ สว.

พรรคประชาธิป้ตย์มีมติโหวตไม่รับ การตั้งกรรมาธิการ?พิจารณาการแก้รัฐธรรมนูญ?ร่วมก้บ สว. และ พรรคร่วมรัฐบาล เนื่องจาก...

โพสต์โดย ดร. พิมพ์รพี พันธ์ุวิชาติกุล - Pimrapee Phanwichatikul, Ph.D เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2020