posttoday

ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพประชุมแสงซินโครตรอนภูมิภาคเอเชีย

06 สิงหาคม 2555

ปลอดโชว์ศักยภาพแสงซินโตรตรอนในไทยพร้อมรับประชุมภูมิภาค พร้อมโชว์ศักยภาพตั้งศูนย์รักษามะเร็ง

ปลอดโชว์ศักยภาพแสงซินโตรตรอนในไทยพร้อมรับประชุมภูมิภาค พร้อมโชว์ศักยภาพตั้งศูนย์รักษามะเร็ง

นายปลอดประสพ สุรัสวดี ได้เป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการ เวทีวิจัยด้านแสงซินโครตรอนภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ครั้งที่ 6 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพ ในวันที่ 8-12 ส.ค.นี้  โดยนายปลอดประสพเปิดเผยว่า เรื่องการใช้แสงซินโครตรอน ถือเป็นประโยชน์กับคนทั้งโลก  เนื่องจากสามารถใชใช้แสงนี้สำหรับแยกสสาร ในระดับโมเลกุล โดยประเทศไทยถือว่ามีความก้าวหน้าทางการวิจัยแสงซินโครตรอนมาก โดยใช้งบประมาณไปกว่า 3,000 ล้านบาทแล้ว โดยมีศูนย์กลางที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.นครราชสีมา และมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเป็นองค์อุปถัมภ์มาตั้งแต่แรก ซึ่งการ ประชุมระดับนานาชาติ ในวันที่ 8-12 ส.ค.นี้ จะมีการจัดการประชุมระดับเอเชียและโอเชียเนียขึ้น โดยประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งแรก และในวันที่ 9 ส.ค.นี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา จะเสด็จเป็นพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุม ที่โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ ปาร์ค กรุงเทพมหานคร

“สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ก้าวหน้ามาก ทั้งในด้านงานวิจัย และการประยุกต์การใช้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ซึ่งขณะนี้ สถาบันวิจัยฯได้เตรียมเครื่องมือดังกล่าว เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์รักษาโรคมะเร็งโดยใช้แสงซินโครตรอนเป็นตัวช่วย ซึ่งในเร็ว ๆ นี้อาจจะได้เห็นการจัดตั้งศูนย์วิจัยและรักษาโรคมะเร็งแห่งแรกที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน จ.นครราชสีมาด้วย” นายปลอดประสพกล่าว

ด้านน.ท.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศไทยประเทศเดียวที่มีเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขนาดใหญ่ และมีศักยภาพกว้างขวาง โดยประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในสมาชิกเวทีวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซินโครตรอนในทวีปเอเชีย ซึ่งสมาชิกในกลุ่มนี้ มีแปดชาติ ประกอบด้วย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ไทย และ ไต้หวัน โดยการประชุมวิชาการในวันที่ 8-12 ส.ค.นี้ จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากทั่วโลก โดยได้เชิญนักวิทยาศาสตร์จากยุโรป และอเมริกาเหนือมาร่วมบรรยายพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยประเทศไทยจะได้ความร่วมมือแน่นแฟ้นในเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน และในอนาคตอาจได้มีโอกาสพัฒนาพัฒนาเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนร่วมกัน