posttoday

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

20 ธันวาคม 2564

โดย...ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร

**************************

นวนิยายเรื่อง “the Quiet American”  (พ.ศ. 2498) ของ เกรแฮม กรีน (Graham Greene) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2498 นั้น ได้รับการอ้างอิงจากนายด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์ (Dag Hammarskjöld) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ยามที่เขาได้สนทนากับนายเฮนรี่ คาบอท ลอดจ์ (Henry Cabot Lodge Jr.) เอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติ โดยนายฮัมมาร์เฮิลด์ได้กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทางการทหารและเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯในลาวกำลังทำการสนับสนุนรัฐประหารในลาว เพราะจากที่นายฮัมมาร์เฮิลด์ได้เดินทางไปเยือนลาวต้นปี พ.ศ. 2502 และต่อมาได้รับทราบปัญหาการเกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังของรัฐบาลลาวที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกากับกองกำลังของกลุ่ม “ประเทศลาว” ที่เป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์  เขาเริ่มคาดการณ์ได้ว่า น่าจะมี “the Quiet American” ปฏิบัติการในลาวไม่ต่างจากตัวละครในนวนิยายของกรีน ที่เล่าเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองในเวียดนาม และกรีนได้ให้ตัวละครในนวนิยายที่ชื่อ “อัลเดน ไพล์ (Alden Pyle)” มีความเชื่อในเรื่อง “กำลังฝ่ายที่สาม” (the Third Force) ในฐานะที่จะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเวียดนามที่ตกอยู่ระหว่างเพียงสองทางเลือก นั่นคือ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส หรือ ตกไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายคอมมิวนิสต์

และที่น่าสนใจคือ  อีก 62 ปีหลังจากนวนิยาย “the Quiet American” ออกสู่สาธารณะในปี พ.ศ. 2498  ได้มีการตีพิมพ์หนังสือวิชาการเรื่อง “The Third Force in the Vietnam War: The Elusive Search for Peace 1954-75” (กำลังฝ่ายที่สามในสงครามเวียดตาม: การแสวงหาสันติที่ยากที่จะเกิดขึ้น พ.ศ. 2497-2518) ในปี พ.ศ. 2560  โดยผู้เขียนคือ โซฟี ควิน-จัดจ์  (Sophie Quinn-Judge)                                                                 

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

โซฟี ควิน-จัดจ์ จบปริญญาตรีเอกภาษารัสเซีย และเคยทำงานเป็นอาสาสมัครในเวียดนามระหว่าง พ.ศ. 2516-2518 ภายใต้โครงการค่าย AFSC (America Friends Service Committee) ที่จัดตั้งขึ้นโดยคนหนุ่มสาวจากสหภาพโซเวียต อังกฤษและสหรัฐอเมริกา และโครงการค่ายดังกล่าวนี้ถูกเรียกว่า ค่ายบทสนทนาสามวัฒนธรรม (Tripartite dialogue)  หลังจากนั้นเธอได้ศึกษาต่อและจบปริญญาเอกจากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน  เธอเคยเป็นนักเขียนให้กับนิตยวาร Far Eastern Economic Review โดยมีฐานจากกรุงเทพฯและต่อมาย้ายไปรัสเซีย นอกจาก The Third Force in the Vietnam War แล้ว เธอยังมีผลงานอื่นๆอีก เช่น  Ho Chi Minh: The Missing Years  และเป็นหนึ่งในบรรณาธิการหนังสือ  The Cambridge History of Communism (Volume 2)

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

                                                      

หนังสือ “The Third Force in the Vietnam War” กล่าวถึงความขัดแย้งในเวียดนามที่สร้างความตกตะลึงให้กับสหรัฐฯและทั่วโลก แต่หัวใจสำคัญของสงครามเวียดนามคือการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อแสวงหาสันติภาพ ตัวผู้เขียนคือ ควิน-จัดจ์จะปฏิเสธความคิดที่ว่า สงครามเวียดนามเป็นการต่อสู้ระหว่างฮานอย หรือเวียดนามเหนือกับสหรัฐฯเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเธอชี้ว่า ตั้งแต่ การเจรจาที่เจนีวาในปี พ.ศ. 2497 จนถึงเวียดนามใต้แตกในปี พ.ศ. 2518 ทางเวียดนามเหนือเองก็มีโครงการและนโยบายต่างๆที่จะนำไปสู่การรวมชาติ นั่นคือ รวมเวียดนามเหนือและใต้เข้าด้วยกัน อีกทั้ง เธอยังได้ตรวจสอบแนวทางต่างๆที่กลุ่มและบุคคลต่างๆในเวียดตามใต้ก็สนองตอบเวียดนามเหนือโดยการพยายามจัดทำข้อเสนอสันติภาพของฝ่ายตนด้วยเช่นกัน โดยมีความมุ่งหวังว่า คนเวียดนามจะสามารถแก้ปัญหาความเห็นต่างผ่านการเจรจาโดยไม่ต้องให้ต่างชาติแทรกแซง

นอกจากข้อเสนอส่วนใหญ่เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพส่วนใหญ่ในช่วงสงครามเวียดจะเป็นเรื่องการเจรจาทางการทูตระหว่างประเทศในระดับสูง  ควิน-จัดจ์ได้ชี้ให้เห็นถึงความพยายามอย่างมุ่งมั่นของประชาชนชาวเวียดนามใต้เองที่จะหลีกเลี่ยงจากความหายนะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจากสงครามที่สหรัฐฯได้ก่อขึ้นกับประชาชนในเวียดนามใต้ด้วย ประชาชนเหล่านี ได้แก่ กลุ่มชาวพุทธ คาธอลิก และนักศึกษาประชาชน   แต่เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามในเวียดนามในปี พ.ศ.2508 และส่งทหารอเมริกันเข้าไปรบในสงครามเวียดนามในปี พ.ศ.2509  สหรัฐฯกลับไม่สนใจความคิดความเห็นของคนเวียดนามใต้เลย

น่าสนใจของหนังสือเล่มนี้คือ การเชื่อมโยงระหว่างพัฒนาการทางการเมืองในเวียดนามใต้กับการเปลี่ยนดุลอำนาจในฮานอยหรือเวียดนามเหนือ นั่นคือ เมื่อสงครามพัฒนาตัวมากขึ้น การต่อสู้กันระหว่างเวียดนามใต้และเวียดนามเหนือก็ยิ่งพัฒนาไปสู่สภาวะที่ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมกันและกันมากขึ้น ในขณะที่หลังจากที่นายริชาร์ด นิกสันได้เป็นประธานาธิบดี รัฐบาลสหรัฐฯก็ยิ่งทุ่มไปกับประธานาธิบดีเหงียน วัน เทียวของเวียดนามใต้มากขึ้นด้วย โดยไม่สนใจข้อตกลงสันติภาพที่ปารีสในปี พ.ศ.2516  รัฐบาลสหรัฐฯสนับสนุนประธานาธิบดีเทียวทั้งๆที่เขาคืออุปสรรคสำคัญต่อกระบวนการสันติภาพในข้อตกลงสันติภาพที่ปารีสในปี พ.ศ.2516

ข้อตกลงสันติภาพปารีสในปี พ.ศ.2516 หรือ  “Agreement on Ending the War and Restoring Peace in Viet Nam”  ที่มีการลงนามในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2516 มีจุดมุ่งหมายที่จะสถาปนาสันติภาพและยุติสงครามในเวียดนาม ประเทศที่เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงดังกล่าวนี้มีทั้งสิ้น 4 ฝ่าย นั่นคือ  เวียดนามเหนือหรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม, เวียดนามใต้หรือสาธารณรัฐเวียดนาม, สหรัฐอเมริกา, และสาธารณรัฐเวียดนามใต้หรือพวกคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้

แค่เห็น 4 ฝ่ายที่ลงนามในข้อตกลงฯนี้ ก็เห็นภาพแล้วว่า อนาคตของสงครามเวียดนามจะออกมาอย่างไร !

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

ก่อนที่จะสามารถทำข้อตกลงสันติภาพกันได้นั้น ต้องมีการเจรจากันนานถึง 5 ปี และมีช่วงที่การเจรจาต้องสะดุดเป็นเวลานานอยู่หลายครั้ง  โดยผู้เจรจาหลักคือ นายเฮนรี คิสซิงเจอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ และนายเล ดึ๊ก เถาะ (Lê ??c Th?) สมาชิกโพลิทบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเหนือ  และทั้งสองได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี พ.ศ. 2516 แต่นายเล ดึ๊ก เถาะปฏิเสธที่จะรับรางวัล ขณะเดียวกัน ข้อตกลงดังกล่าวนี้ก็ไม่ผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาอเมริกันด้วย

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

มาตรการในทางปฏิบัติในข้อตกลงสันติภาพปารีสคือ ให้มีการถอนกองกำลังสหรัฐฯที่เหลือทั้งหมดออกจากเวียดนาม และสหรัฐฯจะต้องยุติการเข้าแทรกแซงทางการทหารในเวียดนาม และทั้งเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้จะต้องยุติการทำสงครามต่อกัน

สำหรับการถอนกำลังทหารของสหรัฐฯนั้น กล่าวได้ว่า ในปี พ.ศ.2516 กองกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐฯขณะนั้นไม่ได้มีส่วนร่วมในปฏิบัติการเชิงรุกโดยตรงมาเป็นเวลาสองปีแล้ว และได้เริ่มถอนกำลังไปอยู่ตามชายฝั่ง และอยู่ในสภาพที่ขวัญกำลังใจตกต่ำอย่างยิ่ง

และเมื่อสหรัฐฯจะต้องถอนกำลังทหารออกไป เพียงสองเดือนหลังการประกาศข้อตกลงสันติภาพ ทั้งเวียดนามเหนือและใต้ต่างละเมิดข้อตกลงฯทันที โดยทั้งสองฝ่ายเริ่มเปิดฉากทำสงครามอย่างเปิดเผยในเดือนมีนาคม พ.ศ.2516  และต่อมาอีกหลายครั้ง แต่ก็ไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบอย่างเป็นทางการใดๆจากสหรัฐฯ  และการรุกของเวียดนามเหนือได้ขยายตัวจนสามารถควบคุมพื้นที่ได้มากขึ้นในปลายปี พ.ศ.2516 และในปี พ.ศ. 2518 เดือนมีนาคม กองกำลังเวียดนามเหนือร่วมกับกองกำลังของกลุ่มประเทศลาวสามารถยึดเวียงจันทน์ได้ และต่อมาอีกหนึ่งเดือน พร้อมๆกับที่กลุ่มเขมรแดง (the Khmer Rouge) ได้ชัยชนะและยึดพนมเปญได้ เวียดนามเหนือก็สามารถยึดเวียดนามทั้งหมด  และต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 ก็สามารถรวมประเทศได้สำเร็จ โดยสถาปนา “สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม” ขึ้นหลังจากที่ถูกแบ่งแยกออกเป็นเวียดนามเหนือและใต้ตั้งแต่ พ.ศ. 2497 (22 ปี)                                                                                           

                      

45 ปี 6 ตุลาฯ (ตอนที่สิบ): The Third Force กับ รัฐประหารในลาว พ.ศ.2502

หนังสือ The Third Force in the Vietnam War ชี้ให้เห็นว่า สหรัฐฯในฐานะที่จะพยายามเป็น “กำลังที่สาม” ในการแก้ปัญหาในเวียดนาม นอกจากจะไม่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการแสวงหาสันติภาพในหมู่ประชาชนชาวเวียดตามกันเองอีกด้วย ถือเป็นข้อจำกัดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นหนึ่งตัวอย่างของความล้มเหลวในการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา