posttoday

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ “Gaslighting” จะผิดกฎหมาย ?

14 ธันวาคม 2566

แม้ว่ากฎหมายไทยจะยังไม่ชัดเจนเรื่องฐานความผิดของการ “Gaslighting” (การปั่นหัว) แต่เรื่องนี้ก็ควรได้รับการถกเถียงและผลักดัน เพราะส่วนใหญ่ “Gaslighting” จะเกิดขึ้นภายในครอบครัว คนที่รักเคารพและไว้ใจ และกว่าที่จะรู้ตัวก็อาจจะสายไปแล้ว..

เพราะการถูกควบคุมทางจิตใจ เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เราเป็น คือ การถูกควบคุมอยู่และกลายเป็นเหยื่อจากคนที่เรารัก...

 

“Gaslighting” ถูกนิยามว่าอย่างไร ? ใครเป็นคนคิดคำนี้ ?

นิยามคำว่า “Gaslighting (การปั่นหัว) เริ่มต้นครั้งแรกจากภาพยนตร์ระทึกขวัญ “Gas Light”  โดยสามีใช้การหรี่ตะเกียงน้ำมันเพื่อที่จะควบคุมจิตใจให้ภรรยาของเขาเชื่อว่าเธอจิตไม่ปกติและใช้ประโยชน์จากเธอ 

 

ภาพจากหนังอเมริกัน Gaslight ภาพยนตร์เขย่าขวัญแนวจิตวิทยาปี 1944 กำกับโดย George Cukor

 

หลังจากภาพยนตร์เรื่องนี้ฉาย คำว่า “Gaslighting” ถูกทำใช้ในการเรียกขาน รูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางจิตวิทยา และการข่มขู่ คนๆหนึ่งว่าเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำผิดและสงสัยในสิ่งต่างๆที่ตัวเองทำ (กึ่งหลอนก็ว่าได้)

 

“Gaslighting” ผิดกฎหมายไหม? 

แม้ว่า Gaslighting จะเพิ่งถูกนำมาพูดถึงอย่างมากในปัจจุบัน แต่ความเข้าใจว่า Gaslighting ว่าส่วนหนึ่งของ “การกระทำโดยมิชอบภายในครอบครัว” เป็นเรื่องที่ยอมรับกันมานานแล้ว 

อย่างไรก็ตาม ในสหราชอาณาจักร ได้บัญญัติพฤติการณ์ “Gaslighting” ในกฎหมายอย่างเป็นทางการเมืองปี 2015 ข้อ 76 ของกฎหมายอาชญากรรมร้ายแรง ปี 2015 โดยระบุว่า พฤติกรรม “การควบคุม” หรือ “บงการ” ในลักษณะข่มขู่ สำหรับสมาชิกในครอบครัวถือเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งหมายความว่าในทางกฎหมายสหราชอาณาจักร “Gaslighting” ถือว่าผิดกฎหมาย ! 

และวันที่ 20 มกราคม ปี 2022 คำว่า “Gaslighting” ได้รับการยอมรับว่าเป็นความผิดเป็นครั้งแรกในศาลสูง

 

แต่สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดนิยามของคำว่า “Gaslighting” ในทางกฎหมาย และยังไม่ปรากฎเป็นคดีขึ้นสู่ศาล

 

“Gaslighting” ขนาดไหน ? ถึงดำเนินคดีเอาผิดได้ ? ( UK Law) 

เนื่องจากนิยามคำว่า “Gaslighting” กว้างมาก การจะระบุว่าพฤติการณ์แบบใดเข้าข่ายการ “บีบบังคับ” “ควบคุม” “บงการ” ในการดำเนินคดี เป็นเรื่องที่ต้องละเอียดเข้มข้น ( Serious Effect ) มาก 

สิ่งที่ต้องระบุอย่างละเอียดเข้มข้น ( Serious Effect) คือการระบุถึง ความกลัวของเหยื่อ อย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใต้การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง อีกด้านหนึ่ง สามารถเป็นความรู้สึกทุกข์ทรมานของเหยื่อจากการถูกกระทำอย่างต่อเนื่องและเป็นผลกระทบในการใช้ชีวิต สำคัญที่สุดคือ พฤติกรรมเหล่านั้นจะต้องต่อเนื่องถึงจะอ้างความผิดจาก “Gaslighting” ได้

 

เมื่อไหร่ “Gaslighting” จะเป็นความผิดในกฎหมายไทย ?

​จากกรณีที่เกิดขึ้นในสังคมที่สะเทือนวงการสื่อวิทยาศาสตร์ ที่มี “ไอดอลด้านวิทยาศาสตร์” ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรม “Gaslighting” ในช่วงที่ผ่านมา โดยเรื่องนี้เปิดเผยอย่างกล่างหาญโดยเหยื่อที่ถูกกระทำ และหลังจากเหยื่อคนแรกเปิดเผย ก็พบว่ามีคนที่ถูกกระทำ ( Victim) จำนวนหนึ่งออกมาเปิดเผยถึงพฤติกรรมลักษณะเดียวกัน แม้ว่า “ไอดอลวิทยาศาสตร์” คนนั้นจะออกมาโพสต์ขอโทษ และยังไม่มีใครดำเนินคดีทางกฎหมาย แต่ในทางสังคมเขาก็ถูกสังคมลงโทษแล้ว เพราะรายการต่างๆที่เขาทำ สำนักข่าวต่างๆ ก็เอาเนื้อหาเหล่านั้นออกทั้งหมด 

​อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวถึงการกระทำ “Gaslighting” เขาทำไม่ผิดกฎหมาย เอาผิดไม่ได้สำหรับกฎหมายไทย ซึ่งยังไม่การนิยามคำนี้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่จะปิดประตูไปเสียทั้งหมด เพราะหากการะทำเช่นนั้นมีผลเสียต่อสุขภาพ เสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน หรือ มีพฤติการณ์ข่มขู่ ก็สามารถนำพฤติการณ์เหล่านี้มาเอาผิดได้ ทั้งกฎหมายแพ่งและอาญา และหากนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจจะผิดพ.ร.บ.คอมฯไปด้วย ทั้งนี้ต้องดูพฤติการณ์เป็นรายกรณีไป และผู้เสียหายต้องนำคดีมาฟ้องร้องดำเนินคดี 

แม้ว่ากฎหมายไทยจะยังไม่ชัดเจนเรื่องฐานความผิดของการ “Gaslighting” แต่เรื่องนี้ก็ควรได้รับการถกเถียงและผลักดัน เพราะส่วนใหญ่ การ “Gaslighting” จะเกิดขึ้นภายในครอบครัว คนที่รักเคารพและไว้ใจ และกว่าที่จะรู้ตัวก็อาจจะสายไปแล้ว เพราะการถูกควบคุมทางจิตใจ เราอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าสิ่งที่เราเป็น คือ การถูกควบคุมอยู่และกลายเป็นเหยื่อจากคนที่เรารัก 

 

 

ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ “Gaslighting” จะผิดกฎหมาย ?

 

 

 

 

 

 

 

 

ปริม กุญชนิตา กุญชร ณ อยุธยา

Managing Partner STELO Entertainment Law 

[email protected]

Page : Stelo Entertainment Law ( https://www.facebook.com/STELOentertainmentlaw) 

 

ที่มา

https://www.howellslegal.co.uk/news/post/is-gaslighting-a-legal-concern