posttoday

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

30 เมษายน 2566

เอสโตเนีย ถูกยกให้เป็นประเทศต้นแบบ ในการนำเทคโนโลยีมาพลิกฟื้นประเทศ จากยากจน กลายเป็นเศรษฐกิจเติบโตก้าวกระโดด มีการพัฒนาระบบให้บริการของ e-Government ที่มีประสทธิภาพ มีข้อมูลเชื่อมต่อกันอย่างครอบคลุม สมบูรณ์ บัตรประชาชนใบเดียว สามารถทำธุรกรรมได้ทุกมิติ 24 ชม.

“เอสโตเนีย” ได้ขึ้นชื่อว่า เป็นประเทศแห่ง “เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และสังคมแห่งข้อมูล (Information Society) ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากประเทศเล็กๆ หนึ่งในทวีปยุโรป มีประชากรเพียง 1.3 ล้านคน อยู่ภายในการปกครองระบบคอมมิวนิสต์ ก่อนได้อิสระหลังจากโซเวียตล่มสลายในปี 2534 แต่ใช้เวลาไม่ถึง 30 ปี เอสโตเนีย สามารถพลิกฟื้นจากประเทศยากจน ให้มาเป็น “ประเทศพัฒนาแล้ว” โดยมีเศรษฐกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างไม่น่าเชื่อ หลายด้านน่านำศึกษา และนำมาปรับใช้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

ย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อน ประชากรเอสโตเนียได้รับเงินคนละประมาณ 10 ยุโร เพื่อเริ่มต้นชีวติใหม่  ประชากรมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 86,000 บาทต่อปี ขณะไทยมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 70,000 บาท ปัจจุบัน เอสโตเนีย ประชากรมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยอยู่ที่ 1 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ไทยมีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 270,000 บาทต่อปี หรือรายได้เพิ่มขึ้นเกือบ 12 เท่าเลยทีเดียว

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

 “การสร้างชาติ” ถือจุดเริ่มต้นของ “สังคมดิจิทัล” เอสโตเนีย หลังจากที่ผู้นำประเทศต้องการพลิกฟื้นประเทศขึ้นมาใหม่หลังจากภัยสงคราม การเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้มองเห็นถึงจุดเริ่มต้นและอนาคตประเทศ โดยเริ่มจากการมีรัฐบาลที่ศักยภาพ โปร่งใส เชื่อถือได้ แต่ภายใต้ข้อจำกัดด้านการเงิน และบุคคลกรที่มีเพียงหยิบมือ เอสโตเนีย จึงเลือก เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ เพื่อมุ่งสู่รัฐบาลอิเล็กทรนิกส์ (e-Government) จึงเป็นที่มาของโครงการ e-Estonia

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

เอสโตเนียต้องเผชิญความท้าทายด้านเศรษฐกิจ ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐานได้ ไม่มีแม้โทรศัพท์บ้าน ซึ่งแตกต่างจากประเทศฟินแลนด์ที่มีอาณาเขตติดกัน ทำให้ประชากรยังขาดความรู้ ความเข้าใจด้านไอที ทำให้เอสโตเนียผู้มาทีหลัง ต้องการที่จะก้าวกระโดด จึงเริ่มโครงการ “Tiger Leap”(เสือกระโดด) ขึ้น โดยมุ่งมั่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีทั่วประเทศ ด้วยการขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และคอมพิวเตอร์ ถึงขั้นยกให้เป็น “วาระแห่งชาติ” 

 

ปี 2543 ทุกสถานศึกษามีคอมพิวเตอร์ใช้  และมีการบรรจุในแผนการศึกษา ให้ทุกโรงเรียนมีหลักสูตรที่เน้นการสอนทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และออกแบบเขียนโปรแกรม โดยเริ่มสอนให้กับเด็กตั้งแต่อนุบาล เพื่อเป้าหมายสร้างพลเมืองใหม่ให้รองรับสังคมดิจิทัล  จนปี 2563 สื่อการเรียนการสอนของเอสโตเนีย ถูกเปลี่ยนไปเป็นดิทิทัลทั้งหมดเกือบ 100%

 

นอกจากนี้ ยังได้มีการสอนคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใหญ่ ที่ยังไม่รู้ไอทีอีกด้วย เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงระบบบริการของรัฐ ด้วยระบบอินเตอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ e-Estonia ส่งผลให้ประชากรเอสโตเนียใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น จาก 29% เป็น 91% ในปี 2559 ปัจจุบันพลเมืองเอสโตเนียใช้ Wifi ฟรีทุกคน

 

ต่อมา เอสโตเนียได้ทำโครงการ e-cabinet เพื่อลดขั้นตอน และลดการใช้กระดาษในระบบราชการ เช่น รัฐมนตรีสามารถทำงาน หรือพิจารณาวาระการประชุมได้ผ่านระบบออนไลน์แบบเรียวไทม์ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนของโลก หรือเวลาใด ระบบข้อมูลจะมีการอัพเดททันที รัฐมนตรีจะเห็นตาราง หรือวาระการประชุมล่วงหน้า รวมทั้งสามารถแสดงความเห็นแย้ง หรือแสดงมติเห็นชอบ ส่งผลให้การประชุมครม.ใช้เวลาลดลง ซึ่งระบบนี้มีความโปร่งใส มีประสิทธิ และลดเวลาการทำงานได้อย่างมาก 

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

เป็นที่น่าทึ่ง e-Government ของเอสโตเนีย ยังได้พัฒนาการให้บริการสาธารณะของรัฐ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เกือบทั้งหมด ตั้งแต่เกิด จนไปเสียชีวิต ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้เพียงบัตรประชาชนใบเดียว (e-Identification Card) ไม่ว่าเป็นการแจ้งเกิด ใบมรณะ บัตรประชาชน ธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร บัตรจอดรถ จดทะเบียนการค้า ตั้งบริษัท ซื้อสินค้า การซื้อขายที่ดิน ไปจนถึงการรักษา นัดแพทย์ ตรวจสอบประวัติสุขภาพ หรือ ขอใบสั่งยาแบบออนไลน์ ที่ให้บริการแบบไม่มีวันหยุด 

 

เช่นเดียวกับ การยื่นภาษีผ่านออนไลน์ คือหนึ่งในบริการแรกๆ ที่ใช้เวลาไม่เกิน 3-5 นาที หลังจากนั้นก็ลงนามในเอกสารด้วยลายเซ็นดิจิทัล ก็สามารถสำแดงภาษีเสร็จเรียบร้อย ทำให้แต่ละปีชาวเอสโตเนียมีการยื่นภาษีผ่านออนไลน์ถึง 95% ส่วนเรื่องเดียวที่ยังไม่สามารถทำได้ คือ การจดทะเบียนสมรส และการหย่าร้าง เพราะถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องการแสดงตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณได้ถึง 2% ต่อจีดีพีต่อปี

 

เอสโตเนีย ยังเป็นสวรรค์ของนักธุรกิจทางออนไลน์ และถูกขนานนามว่าเป็น “ซิลิคอนวัลเลย์แห่งยุโรป” เนื่องจากเอสโตเนียมีนโยบายเอื้อต่อการลงทุน และพัฒนาธุรกิจดิทิทัล โดยตัดความยุ่งยากต่างๆในการจดทะเบียนบริษัทออกไป และรัฐบาลยังช่วยอำนวยความสะดวกทางภาษีถึงระยะเวลา 9 ปี

 

และไม่ว่าสัญชาติใด หรือตัวอยู่ไทย ก็สามารถเข้ามาจดทะเบียนเปิดบริษัทที่เอสโตเนียได้อย่างง่ายดาย โดยผ่านระบบออนไลน์โดยใช้เวลา เพียง 18 นาทีเท่านั้น (แต่ไม่ได้สิทธิในการเดินทางหรือพักในเอสโตเนีย) ประเทศนี้จึงเป็นเริ่มต้นของสตาร์ทอัพระดับ ยูนิคอร์น  เช่น Skype, Playtech, Wise, Bolt, Pipedrive และ Zego  นอกจากนี้ก็ยังมีสตาร์ทอัพระดับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐอีกนับสิบรายที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศนี้ด้วย 

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

อีกสิ่งที่น่าเรียนรู้ และนำมาถอดแบบ คือ การลงคะแนนเสียงผ่านออนไลน์ (i-Voting) ผ่านระบบคอมพิมเตอร์โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว ที่เอสโตเนียใช้มาเกือบ 20 ปีแล้ว และการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เดือนมีนาคม 2566 พบว่า มีพลเมืองเอสเอสโตเนียลงคะแนนผ่าน i-Voting มากกว่าครึ่ง หรือ 51% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ส่วนที่เหลือยังคงใช้วิธีแบบดั่งเดิม คือไปโหวตที่คูหาเลือกตั้ง เพราะความคุ้นเคย หรือ กลุ่ม conservative มั่นใจว่าวิธีนี้ปลอดภัยกว่า  

 

ทั้งนี้ ในปี 2567 เอสโตเนีย ได้ตั้งเป้าเริ่มใช้การโหวตแบบโมบายไอดี คือ เป็นการเปิดโหวตทางโทรศัพท์ ที่มีไอดีการ์ด ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถโหวตได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถเปลี่ยนแปลงผลการโหวตได้ทุกเมื่อ โดยทางการจะนับผลการโหวตจากครั้งล่าสุด หลังจากการปิดโหวต 

 

สำหรับวิธีการโหวต ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือจากที่ไหนก็ได้ โดยเข้าสู่แอพพิเคชั่นของการเลือกตั้งโดยใช้บัตรประชาชาชน หรือโมบายไอดีเข้ามายืนยันตัวตน จากนั้นก็ลงลายเซ็นดิจิทัล ข้อมูลจะถูกลงรหัสไว้ เพื่อไม่ให้ใครรู้ข้อมูลของผู้ลงคะแนน จากนั้นจะมีการประทับเวลา และจะจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบบล็อกเชน เพื่อรักษาความปลอดภัย เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้ามาเปลี่ยนแปลงข้อมูลการลงคะแนน ดังนั้น"บล็อกเชน" จึงเป็นเทคโนโยสำคัญที่ทำให้เกิดความโปร่งใส จึงทำให้ประชาชนเอสโตเนียมีความเชื่อมั่นในระบบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ถอดแบบ "e-Estonia" จากประเทศยากจน สู่ต้นแบบ "สร้างชาติด้วยเทคโนโลยี"

เมื่อถามว่า อะไรคือ หัวใจสำคัญ ที่ทำให้ e-Estonia ประสบความสำเร็จมาจนถึงวันนี้ ตัวแทนของรัฐบาลเอสโตเนียระบุว่า นอกจากการส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดยมีการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว "ความมั่นใจ" และ "เชื่อใจ" ของประชาชน ที่มีต่อ e-Government ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะไม่ใช่เพียงรัฐบาลเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ แต่ประชาชนเองก็สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวได้เช่นกัน โดยเจ้าของข้อมูล สามารถทราบ และตรวจสอบได้ด้วยว่าใคร หรือหน่วยงานใดที่เข้าถึงข้อมูลของตน และนำไปทำอะไร หากไม่ยินยอมก็สามารถแจ้งความประสงค์เพื่อปฎิเสธได้   

 

แม้อดีตเอสโตเนียเคยถูก "โจมตีทางไซเบอร์" แต่เอสโตเนียก็เลือกที่จะเรียนรู้ สร้างทีมป้องกัน ไม่ยอมแพ้ที่จะพัฒนา และต่อสู่กับภัยคุกคราม โดยรัฐบาลได้ฝากข้อมูลสำรองทั้งหมดไว้ที่ “ลักเซมเบิร์ก” อีกแห่งหนึ่งด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาความมั่นคง สร้างความปลอดภัยของข้อมูลว่าจะไม่ถูกทำลาย หรือรั่วไหล ซึ่งได้สร้างความเชื่อมั่นใจให้กับประชาชน ที่มีต่อรัฐบาลเอสโตเนียได้อย่างมาก