posttoday

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ภัยสุขภาพ เสี่ยงยีนส์กลายพันธุ์ก่อมะเร็งปอด

01 มีนาคม 2566

กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ และต้องอยู่กับมลพิษจากฝุ่นละออง โรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งในยุคนี้จึงหนีไม่พ้น ‘โรคมะเร็ง’ ซึ่งฝุ่นอย่าง PM2.5 ถือเป็นสาเหตุกระตุ้นและปัญหาเรื่อรังที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดในกลุ่มคนที่ไม่สูบบุหรี่

ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอัตราการเกิดโรคมะเร็งในไทยมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเมินได้จากจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ปีละมากกว่าแสนราย ขณะที่กลุ่มที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตยีงเฉียดหลักแสนรายด้วยเช่นกัน

มะเร็งปอดถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 ของคนไทย โดยในปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตประมาณ 14,586 คน หรือเฉลี่ย 40 คนต่อวัน 

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ภัยสุขภาพ เสี่ยงยีนส์กลายพันธุ์ก่อมะเร็งปอด

ฝุ่น PM 2.5 ตัวการกระตุ้นมะเร็งปอด

แม้ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเราจะมีสาเหตุมากมายที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด ไม่ว่าจะเป็นการรับควันบุหรี่มือ 2 การทำงานที่มีการสัมผัสกับแร่ใยหินในรูปแบบต่าง ๆ  รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอันเป็นสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ยาก

อย่างไรก็ตาม มลภาวะทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และสามารถลอยเข้าไปในหลอดลมจนถึงปอดได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว  ก็กลายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจาก PM2.5 แล้วกว่า 71,184 ราย (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) 

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ภัยสุขภาพ เสี่ยงยีนส์กลายพันธุ์ก่อมะเร็งปอด

นอกจากนี้ยังมีการเผยแพร่ข้อมูลใหม่จากการศึกษาวิจัยในงานประชุมวิชาการทางการแพทย์นานาชาติ European Society for Medical Oncology (ESMO) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งระบุว่ามลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการกลายพันธุ์ของยีนชนิด EGFR และ KRAS ในเซลล์ระบบทางเดินหายใจซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งปอดได้

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ภัยสุขภาพ เสี่ยงยีนส์กลายพันธุ์ก่อมะเร็งปอด

รู้เร็ว รักษาได้ ด้วยนวัตกรรม AI วินิจฉัยมะเร็ง 

มะเร็งปอดจะมีทั้งหมด 4 ระยะหลัก โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจพบเจอในระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายหรือในสภาวะที่โรคลุกลามแล้ว ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร 

แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน ทำให้มีการนำนวัตกรรม AI เข้ามาใช้ร่วมไปกับการตรวจสอบยืนยันผลจากรังสีแพทย์เพื่อคัดกรองมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพของผลการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงทีและตรงจุด 

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ภัยสุขภาพ เสี่ยงยีนส์กลายพันธุ์ก่อมะเร็งปอด

เมื่อเทียบผลของการรักษาจะพบว่า หากเจอมะเร็งปอดที่ระยะแรกจะมีโอกาสอยู่รอดใน 5 ปีสูงถึงร้อยละ 92 ในขณะที่ถ้าพบในระยะที่ 4 มีโอกาสอยู่รอดเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น 

จะเห็นได้ว่า “มะเร็ง รู้เร็ว รักษาได้” การได้รับผลวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งผลการรักษาที่ดีและเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้มากยิ่งขึ้น