posttoday

สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 ก.พ. แนวโน้มลดลง

04 กุมภาพันธ์ 2566

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) ตรวจวัดได้ 24-58 มคก./ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 36.3 มคก./ลบ.ม. และ ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่เกินมาตรฐาน 2 เขตคือหนองจอกและลาดกระบัง

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) รายงานว่า 

  • ตรวจวัดได้ 24-58 มคก./ลบ.ม.
  • ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 36.3 มคก./ลบ.ม.
  •  ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง  

 

ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 24-58 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 2 พื้นที่ คือ 

1.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
2.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.

 

สำหรับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
       

คาดว่าอัตราการระบายอากาศในช่วงวันที่ 2 - 4 ก.พ. 66 จะไม่ดี/อ่อน เนื่องจากเพดานอากาศต่ำ เกิดสภาวะอากาศปิดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงสลับกันในช่วงนี้ 

 

สำหรับในช่วงวันที่ 5 - 8 ก.พ.66 คาดว่าอัตราการระบายอากาศจะดี มีฝนบางพื้นที่ จากทิศใต้ และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพัดเข้ามาปกคลุมแทนที่ลมหนาว ส่วนมวลอากาศเย็นที่แผ่ปกคลุมเริ่มมีกำลังอ่อนลง

 

ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีอุณหภูมิสูงขึ้น กลางวันอากาศร้อน ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 มีแนวโน้มลดลง และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่

 

แต่ช่วงวันที่ 4 ก.พ. 2566 พื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลควรเฝ้าระวังการสะสมของฝุ่นละออง เนื่องจากสภาพอากาศที่นิ่ง และปิด  โดยพื้นที่ที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพกลาง กรุงธนเหนือ และกรุงธนใต้ (พื้นที่ท้ายลม) 

 

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 จุด ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 02.08 น. บริเวณแขวงสามประเวศ เขตลาดกระบัง 


สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 ก.พ. แนวโน้มลดลง

 

สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 ก.พ. แนวโน้มลดลง

 

สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 4 ก.พ. แนวโน้มลดลง