posttoday

ศีลกถา ประโยชน์ของการรักษาศีล ( 2 )

27 พฤษภาคม 2555

อุบาสก อุบาสิกานี้ ต้องมีความพร้อมด้วยองค์สมบัติของอุบาสก อุบาสิกา จึงเรียกว่า อุบาสก อุบาสิกา

โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

อุบาสก อุบาสิกานี้ ต้องมีความพร้อม‌ ด้วยองค์สมบัติของอุบาสก อุบาสิกา จึงเรียกว่า‌อุบาสก อุบาสิกา ผู้ปฏิญาณตนว่าถือพระพุทธ พระ‌ธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งอื่นไม่มี พระพุทธเจ้า‌เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ที่พึ่งอื่นไม่มีพระธรรมเจ้าเป็น‌ที่พึ่งของข้าพเจ้า ที่พึ่งอื่นไม่มี พระสงฆเจ้าเป็นที่พึ่ง‌ของข้าพเจ้า

นี้เป็นการปฏิญาณตน เช่นนี้แล้วก็จำเป็นต้องมี‌องค์สมบัติว่า อะไรเป็นผู้มีนามว่าอุบาสก อุบาสิกา

ต้องพร้อมด้วยองค์สมบัติ 5 ประการ เป็นหน้าที่‌ของผู้รักษาศีล 5 ประการนี้คือ

1.มีศรัทธาบริบูรณ์

2.มีศีลบริสุทธิ์

3.ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล

4.ไม่แสวงหาบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา

5.แสวงหาบุญแต่ในเขตพระพุทธศาสนา

ในองค์สมบัติอุบาสก 5 ประการนี้ ในข้อที่ว่าประกอบด้วยศรัทธานั้น เราเคารพนับถือ‌พระพุทธเจ้าตลอดชีวิต พุทธัง ชีวิตัง ยาวนิพพานัง ‌สรณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถือพระพุทธเจ้าตลอดชีวิตจนเข้าถึงพระนิพพาน ธรรมมัง ชีวิตัง ยาวนิพ‌พานัง สรณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถือพระธรรมเจ้า‌ตลอดชีวิตจนเข้าถึงพระนิพพาน สังฆัง ชีวิตัง ยาว‌นิพพานัง สรณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถือพระสงฆเจ้า‌ตลอดชีวิตจนเข้าถึงพระนิพพาน

ข้อ1 มีศรัทธาบริบูรณ์ผู้ที่มีศรัทธาเด็ดเดี่ยว‌ดังที่กล่าวมานี้ ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศรัทธาบริบูรณ์ใน‌พระพุทธศาสนา ไม่ละเลิกที่จะถอนตัวออกจาก‌พุทธบริษัท เรียกว่ามีศรัทธาบริบูรณ์ แม้ว่าอย่างไร ‌ถึงเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ตาม

เหมือนครั้งพุทธกาล วันหนึ่ง ทุกขตา คนทุกข์‌ยากเข็ญใจคนหนึ่งไปกินอาหารในวัด เกิดความ‌เลื่อมใสศรัทธา ปฏิญาณตนว่าขอถือพระพุทธพระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ด้วยความ‌มั่นเหมาะ เอาชีวิตเข้ากราบ เอาชีวิตเข้าแลกปฏิญาณตน เป็นคนทุกข์คนยากแต่ก็มีจิตใจที่ยอม‌รับในพระพุทธศาสนา บำเพ็ญตนเป็นพุทธบริษัท ‌พุทโธ ธรรมโม สังโฆ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอยู่ตลอดเวลา

 


พระมหากษัตริย์ได้ทดลองจิตใจของทุกขตาคนนั้น บอกว่าขอให้เธอเลิกคำว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แต่ให้พูดว่าข้าพเจ้าไม่พึ่งไม่ถือ‌พระพุทธเจ้า ไม่ถือพระธรรม ไม่ถือพระสงฆ์อย่างนี้เราจะให้เงิน บอกว่าให้ถอนคำพูด บอกว่า‌เป็นที่พึ่งไม่เอา ให้ว่าเลิกแล้ว ท่านให้เลิกอย่างนี้ ‌ทุกขตาบุรุษก็ไม่ยอมเลิก จะให้เงินเท่าไหร่ก็ไม่ยอม‌เลิก แม้จะฆ่าให้ตายก็ไม่ยอมเลิก จะทำอย่างไรก็ไม่‌ยอมเลิก อย่างนี้เรียกว่าศรัทธาในพระพุทธศาสนา‌ข้อ 1 สมบูรณ์แล้ว

เหล่าทายก ทายิกาทั้งหลายต่างปฏิบัติกันมา‌อย่างนี้ ไม่เคยละเลยเลิกละในการนับถือศาสนา‌พุทธ ก็สมควรเรียกว่าศรัทธามีความเชื่อสมบูรณ์‌แล้ว

ข้อ 2 มีศีลบริสุทธิ์นี่สำคัญ ข้อนี้แหละที่ว่าเป็นสมบัติของอุบาสก อุบาสกจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า‌เป็นคนยุ่งยากกับวัยอายุสังขารยังเล็กน้อย ยังมีธุระยุ่งอยู่ รักษาไม่ได้ หรือยังไม่แก่ไม่เฒ่า ไม่รักษา‌แล้ว เป็นการหนี ปลีกตัวไม่ได้ เพราะว่ามีศีลบริสุทธิ์ หมายถึงศีล 5 นี้เอง ศีล 5 นี้เป็นศีลประจำ ‌เพราะฉะนั้น จึงสมควรให้รักษาศีลตลอดเวลา

ข้อ 3 ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวพุทธบริษัทไม่ควรหูเบา ปัญญาเบา เชื่อคำโฆษณาว่าการต่างๆ คำยั่วยุ ในทางไม่ดี ทางไม่ชอบ ตื่นข่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้นี้เป็นผู้มีบุญเกิดแล้ว หรือมารดาไม่เห็นลูก บางทีก็เข้าไปในท้อง บางทีก็ออกไปจากท้องมารดา เป็นลูกผู้ประเสริฐ ตื่นกันขนาดหนักเมื่อ 20 ปีมาแล้วที่อุดรฯ นั่นเรียกว่าเชื่อมงคลตื่นข่าว หูเบาปัญญาเบา ไม่ใช้สติพิจารณาให้ถ่องแท้ ‌หลงใหลปฏิบัติในทางที่ผิด เข้าใจผิดเช่นนั้น เรียกว่าเชื่อมงคลตื่นข่าว ให้ใช้สติพิจารณาให้ถ่องแท้ อย่า‌หลงใหลในทางที่ผิด ต้องเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ‌เรียกว่าไม่เชื่อมงคลตื่นข่าวไม่เป็นคนหูเบา

ข้อ 4 ไม่แสวงหาบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา‌ได้แก่ความนิยมชมชอบในศาสนาอื่น...

ข้อ5 แสวงหาบุญแต่ในเขตพระพุทธศาสนา‌มีการให้ทาน รักษาศีล ใส่บาตร ถวายอาหารบิณฑบาต ถวายผ้าจีวร ถวายเสนาสนะ ถวายยา‌รักษาโรคแก่พระภิกษุสงฆ์ ทำอย่างนี้เรียกว่าแสวง‌บุญแต่ในพระพุทธศาสนา เป็นคุณสมบัติที่สมบูรณ์‌บริบูรณ์ทุกอย่าง องค์ 5 ประการนี้แหละเป็นการ‌บังคับว่าให้รักษาศีล แต่ก็คำที่ว่าเราไม่สมควรเป็นผู้รักษาศีล เรายังหนุ่มยังแน่น ยังมีภาระหน้าที่ไม่มีเวลารักษาศีล นั้นเป็นการเข้าใจผิด ควรรักษา‌อยู่ตลอดทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย รักษาศีล 5 ประจำ ‌เรียกว่านิจศีล

เพราะฉะนั้น การที่จะรักษาศีลให้ตลอดเวลานี้‌เราจะทำอย่างไรให้ปฏิบัติได้การที่จะเป็นผู้มีศีลนั้น‌จะต้องถูกต้องในองค์สมบัติ คือมีลักษณะว่าเป็นผู้มีศีล ศีลเกิดได้จากการตั้งใจรักษา ไม่ใช่ว่าเพียง‌แต่ไม่ทำ ไม่ชื่อว่าเป็นศีล

การที่ตั้งใจรักษาศีลต้องพร้อมด้วยองค์สมบัติ‌คือ

1.เป็นผู้มีเจตนาสัมปัตตวิรัติ มีความอยากจะ‌รักษาศีล ให้ศีลเกิดเฉพาะหน้าคือพบคนที่จะฆ่า‌เราก็ไม่ฆ่า พบยุงที่กัดเราเราก็ไม่ฆ่า มีใจคิดขึ้นมา‌เราจะไม่ฆ่า เราควรมีศีล งดจากการฆ่านั้นเอง‌ปัจจุบันทันด่วน นั่นชื่อว่าเกิดศีลขึ้นแล้วในใจ บุคคล‌พบของที่ควรลัก พบผู้หญิงที่ควรประพฤติผิดใน‌กาม ระหว่างผัวระหว่างเมียของกันและกัน สมควร‌จะทำได้แต่ก็ไม่ทำ เกิดความมีศีลขึ้นมาในใจ

อย่างนี้เรียกว่ามีศีลเกิดขึ้นเฉพาะหน้า ประสบ‌พบเหมาะกับสิ่งที่ทำให้ผิดศีลทั้ง 5 ข้อ แต่ก็ไม่ทำ ‌กำหนดจิตใจของตนให้ลด ละ เว้น ในการผิดศีลที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้านั้นเรียกว่ามีศีลอย่างหนึ่งเกิดเป็นศีลแล้วเรียกว่าสัมปัตตวิรัติ ละเว้นในการ‌เฉพาะหน้า

2.สมาทานวิรัติ ศีลจะเกิดขึ้นในจิตในใจได้ด้วย‌การสมาทานได้แก่การอาราธนาขอศีลจากภิกษุ‌สามเณรผู้ทรงศีล แล้วท่านก็กล่าวคำสิกขาบทให้ ‌แล้วรับเอาคำที่กล่าวดังเคยที่สอนกันมาและที่ปฏิบัติกันมาตลอดเวลานี้ เพราะฉะนั้น ศีลเกิดขึ้น‌โดยการสมาทาน ขอศีลแล้วท่านก็ให้ศีล ที่จริงท่าน‌ก็ไม่ให้หรอกศีลนั่น ท่านประกาศข้อห้ามให้รู้จักเองว่า นั่นคือข้อห้าม อันนี้เป็นศีล เว้นดังที่ประกาศ ‌ให้เราตั้งใจสมาทาน เกิดศีลขึ้นมาในใจ เพียงไม่ทำบาป เพียงไม่คิดบาป เพียงไม่พูดบาป ก็ถือว่า‌เป็นศีลไม่ได้ ต้องตั้งใจสมาทาน

3.เรียกว่าสมุจเฉทวิรัติ ถึงพร้อมด้วยความ‌
เด็ดขาดดังศีลของพระอริยะ

ทั้ง 3 ประการนี้ ลักษณะของศีลที่ต่างกัน ‌สมุจเฉทวิรัติเป็นศีลของพระอริยะ เป็นศีลที่‌เด็ดขาด เป็นศีลที่ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้น เกิดศีลขึ้นมาแล้วมีคำถามว่า วัว ควาย มันไม่เคยลัก‌ของใคร ไม่เคยฆ่าใคร ไม่เคยผิดลูกผิดเมียใครไม่เคยพูดปด ไม่เคยดื่มสุราเมรัย วัวควายนั้นจะมี‌ศีลหรือไม่ ถ้าทำนองนี้เรียกว่าไม่มีศีลเพราะมันไม่มีเจตนา ผู้ที่รักษาศีลนั้นต้องเป็นผู้มีเจตนาสังวร‌ละเว้น

แม้จะสมาทานจากพระโพธิสัตว์ ชุมชน หมู่มาก‌เต็มศาลาก็ตาม ประกาศศีลแล้ว กล่าว“มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเน นะสะหะ ปัญจะ สีลา นิยา จามะ”ก็ตาม ว่าตามไปแล้ว จบแล้ว ให้ศีลแล้วเกิดศีลได้หรือไม่ ไม่เกิด‌ศีล ไม่เป็นศีล ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เพราะว่าไม่ได้ตั้งเจตนางดเว้นต้องเจตนางดเว้น มีสัจจะ‌จริงใจขึ้นมา จึงชื่อว่าเป็นผู้มีศีลเหมือนกับการที่เราตั้งใจรักษาศีลก็รักษาศีล ตั้งใจงดเว้น มีความ‌คิดความอ่านที่เหมาะเจาะแน่วแน่เข้าไปในการ‌รักษาศีลจึงจะมีศีล เพียงแต่การสมาทานพูดตาม‌หมู่ไปเรื่อยๆ ก็ไม่ใช่ว่าเป็นศีลเพราะไม่มีเจตนา

ดังพระบาลีว่า“เจตนาหัง ภิกขะเว สีลังวะทามิ” ‌ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจตนางดเว้นอันเป็นตัว‌ศีล“เจตนาหะ กัมมัง วะทามิ”เจตนานั้นเป็นกรรม ‌หากไม่มีเจตนาก็ไม่เป็นศีล

ลักษณะของศีลเกิดขึ้นมาด้วยการอย่างนี้

เพราะฉะนั้น ศีลสำคัญคือศีล 5 ประการนี้ ‌จำเป็นอย่างไรที่จะรักษาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ตลอด‌เวลา อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นของคนแก่คนเฒ่าจึงเข้า‌วัดฟังธรรม เท่านั้นที่จะรักษาหรือเป็นพระเป็นเณร‌เท่านั้นจึงรักษาศีล ที่จริงเราเป็นพุทธบริษัทก็ต้องมี‌ศีลตลอด แม้ว่าเวลาใด วัยใด คนหนุ่ม คนแก่คนเฒ่า เด็กก็ตาม ต้องเป็นผู้มีศีลเพราะเรานับถือพระพุทธศาสนาแล้วต้องมีศีล มีคุณสมบัติดังกล่าว‌มาแล้วแต่สำคัญว่าเราจะปฏิบัติอย่างไร ที่จะให้‌ศีลเรามีตลอด หนทางปฏิบัตินั้นก็คือตั้งใจงดเว้น‌รักษา ด้วยการสมาทานก็ดี ด้วยการบังเกิดศรัทธา‌เฉพาะหน้า บำเพ็ญเฉพาะหน้าก็ดี เราตั้งใจรักษา‌แล้ว กล่าวแล้ว เว้นแล้ว ตั้งใจรักษาตลอดชีวิตจึงจะเป็นผู้มีความสุข หรือว่าเจตนานี้สำคัญที่จะต้องรักษาตลอดไปเพื่อไม่ให้ขาดสิกขาบทใด‌สิกขาบทหนึ่ง

การรักษาศีล 5 ที่เรียกว่านิจศีลคือรักษาศีลเป็นนิจนั่นเอง เพราะเป็นพุทธบริษัทแล้ว เป็นทายก ‌ทายิกา แล้วต้องเป็นผู้มีศีลเท่านั้น

เข้าใจอย่างนี้ชื่อว่าถูกต้องแต่ว่าเราเข้าทำนอง‌ว่าถือศีลเป็นพิธีกรรมเฉยๆ ทำไปตามประเพณีของ‌ตนไปแล้ว แต่การรักษาไม่มี ดังที่พระฝรั่งองค์หนึ่ง‌เห็นภิกษุรักษาศีล พัฒนาศีลทั้งหมดทุกๆ องค์นั้น ‌ไปที่ไหนก็เห็นอย่างนั้น จึงอัศจรรย์ใจว่าชาวพุทธ‌ไทยนี้ตั้งใจเด็ดเดี่ยวรักษาศีล สมาทานศีลทั้งหมด‌ทุกคน ไม่มีใครเว้นที่จะไม่รักษา เข้าใจว่าเป็นเช่น‌นั้น รักษากันจริง ปฏิบัติจริง แต่ก็ไปเห็นคนที่รักษา‌ศีลไปแล้วดื่มเหล้าเมาแค่นั้นเอง นั้นพระฝรั่งจึงแปลกใจว่าทำไมรักษาศีลอาราธนาศีลแล้วจึงยัง‌กินเหล้าอยู่เลย สมาทานขอศีลแล้วทำไมจึงยังมา‌กินเหล้าอีก พระฝรั่งจึงเอะใจว่าเป็นความเข้าใจผิด‌ของพระฝรั่งนั้นเอง ประเพณีการรักษาศีลของไทย‌เป็นเพียงประเพณีเท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ศีล 5 นะโม ตัสสะ เป็นของสำคัญ‌อย่างไรที่ขาดไม่ได้ในการงานทุกอย่าง จะถวาย‌อาหารก็ดีต้องรับศีลก่อน จะถวายกฐิน ผ้าป่าก็ดี‌ต้องรับศีลก่อน จะสวดมงคลบ้านหรือว่าอวหมงคล‌ก็ดี ก็รักษาศีลก่อน ต้องว่า นะโมก่อน เพราะอะไร‌จึงเอานะโมไว้ก่อน เพราะฉะนั้น จึงต้องเข้าใจ‌ปฏิบัติ เพราะว่า“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต”นี้ ‌เป็นการไหว้ครู บรมครูคือพระศาสดาของเรา ‌เหมือนกับนักมวยจะต่อยกันในสนามก็ต้องไหว้ครู‌ก่อน เราเป็นชาวพุทธจะทำกิจการใดก็ต้องไหว้ครู‌เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าก่อน เป็นที่พึ่งที่ระลึก ‌เป็นของที่แน่นอน จะลืมเลือนไปไม่ได้ต้องคิดตักเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าเป็นผู้ไหว้ครูแล้ว รักษา‌ศีล 5 แล้วตลอดชีวิต เราจะทำได้อย่างไรการทำไปดังกล่าวมาแล้วตั้งใจสมาทานสิกขาบททั้ง 5 ‌ประการ เราทุกคนคงจำกันได้หมดแล้วว่าจะรักษา‌ตลอดชีวิต

การรักษาศีลของศรัทธาญาติโยมกับแม่ชีนั้น‌ต่างกัน แม่ชีนั้นบวชแล้วก็รักษาศีล 8 ตลอดชีวิต ‌ส่วนทายก ทายิกานั้น ยังไม่บวชก็รักษาศีล 5 ตลอด‌ชีวิตเช่นกัน เพราะฉะนั้น เพื่อความถูกต้อง

ศีลของแม่ชีกับศีลของฆราวาสต่างกันอย่างไร

ต่างกัน ศีลของแม่ชีหรือศีล 8 นี้ รักษาตลอด‌ชีวิต เป็นของรวมกัน ขาดข้อหนึ่งก็ขาดไปหมดศีลของภิกษุก็เช่นกัน 227 ข้อ สามเณร 10 ข้อ ‌เพียงขาดไปละเมิดสิกขาบทข้อเดียวศีลของพระ ‌227 ก็ขาดหมด เพราะเป็นสัจจะรวมขอบวชใน‌พระพุทธศาสนา พระภิกษุรับศีลในเวลาไหน ไม่มี‌การรับศีลของภิกษุผู้บวช เป็นการขออุปสมบทเป็น‌ภิกษุสงฆ์ โดยการกล่าวว่า

“สังฆัม ภันเต อุปสัมปะทัง ยาจามิ อุลลุมปะตุ‌

มัง ภันเต สังโฆอนุกัมปัง อุปาทายะทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิ


อุลลุมปะตุมัง ภันเต สังโฆอนุกัมปัง อุปาทายะตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง ยาจามิอุลลุมปะตุมัง ภันเต สังโฆอนุกัมปัง อุปาทายะ”

นี้เป็นคำขอบวชขอประพฤติพรหมจรรย์การ‌ประพฤติพรหมจรรย์ต้องมีศีล 227 ข้อกำกับ เพียง‌ข้อเดียวว่าข้าพเจ้าจะประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น ‌ก็เป็นอันว่าศีล 227 ข้อ อยู่ในใจผู้นั้นแล้ว

ฝ่ายอุบาสกก็เหมือนกันที่จะรักษาศีล 5 ก็ตั้งใจ‌จะรักษาศีล 5 ไว้ในใจของเราแล้ว เป็นของจำเป็น‌อย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจใหม่ ด้วยการสมาทานศีล 5 ‌แล้ว เป็นการรักษาตลอดเวลา ศีลของทายก ทายิกา‌ที่เป็นชาวบ้านนั้นต่างกันคือขาดข้อใด ก็เพียงข้อนั้น‌ขาด อีก 4 ข้อก็ยังอยู่ ขาด 3 ข้อ อีก 2 ข้อก็ยัง‌อยู่ ขาด 4 ข้อ ข้อ 5 ก็ยังอยู่ นี้ยังมีศีลอยู่ เพื่อจะให้ศีลของเราเต็มบริบูรณ์ตลอดเวลาทำอย่างไร ‌ก็ทำการสมาทานศีลใหม่ เมื่อมีการทำบุญทำทานใด‌ก็สมาทานขอศีลจากพระคุณเจ้าว่า

“มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะ นัตถายะ ติสะ‌ระเนนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะ นัตถายะ ‌ติสะระเนนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะ นัตถายะ ‌ติสะระเนนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ”

นี่เป็นการขอศีล ซึ่งกล่าวว่า“ข้าพเจ้าขอถือศีลต่างๆ กันในศีล 5 ประการนี้ ครั้งที่สองข้าพเจ้าขอถือศีลต่างๆ กันในศีล 5 ประการนี้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือศีลต่างๆ กันในศีล 5 ‌ประการนี้”

คำว่า วิสุง วิสุง นั้นแปลว่า ลักษณะต่างๆ กัน ‌มีความหมายอย่างไรว่ามีความหมายต่างๆ กันเช่นว่า โยม ก ขาดข้อ 1 โยม ข ขาดข้อ 2 โยม ‌ค ขาดข้อ 3 นาง ง ขาดข้อ 4 นาย จ ขาดข้อ 5 ‌มันขาดศีลไปแล้ว ล่วงไปแล้ว ข้าพเจ้าขอสมาทาน‌ศีลให้เต็มเหมือนเก่า ในลักษณะต่างกันหลายคนที่มาขอวันนี้ขาดไม่เหมือนกันนี้ความหมายเพื่อให้‌ศีลเราอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

เพราะฉะนั้น จึงเป็นศีลขึ้นมาเพียงแต่ไม่ทำ‌บาป ไม่ประพฤติผิดในกามเฉยๆ เหมือนกับวัว ‌ควาย ที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ไม่เป็นศีลอยู่เอง ไม่ได้ทำ‌อะไรก็ตาม แต่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป

เพราะฉะนั้น จึงสมาทานศีลด้วยตนเอง ‌เรียกว่าสัมปัตตวิรัติ ตั้งใจขอศีลด้วยตัวเอง ไม่ต้อง‌ขอจากพระจากเจ้าก็เป็นศีลขึ้นมา เพื่อให้ความ‌บริสุทธิ์ บริบูรณ์ทุกเวลาไม่ว่าจะนอนกราบไหว้‌แล้วกล่าว

“อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวา เทมิ สวากขาโต ภะคะวะตา ‌ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ สุปฏิปันโน ภะคะวะโตสาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ”

แล้วก็ต่อสมาทานขึ้นเลย“ปาณาติปาตา เวร‌มณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ อะทินนาทานา เวรมณี ‌สิกขาปะทัง สมาธิยามิ กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี ‌สิกขาปะทัง สมาธิยามิ มุสาวาทา เวรมณี สิกขา‌ปะทัง สมาธิยามิ สุราเมระยะมัชฌะปมา ทัฏฐานา ‌เวรมณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ”

จบลงเป็นศีล เพิ่มศีลต่อศีลเราอย่าให้มันขาด ‌แล้วจึงนอน

เพราะฉะนั้น การทำอย่างนี้เรียกว่าการรักษา‌ศีลของตนให้บริสุทธิ์ไม่ให้มันขาด ขาดข้อใดก็เพิ่ม‌เอาข้อนั้นใกล้จะนอนแล้วเรากราบไหว้สมาทาน‌ศีลให้มีศีลในร่างกาย มีศีลในจิตใจ แม้จะตายในคืนนั้นก็ได้ชื่อว่าตายอย่างมีศีล บุญกุศลที่รักษาไว้ผู้มีศีลบริสุทธิ์มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาไว้ให้ตลอด ไม่‌มีขาดตอน ก็มีวิธีอย่างนั้นที่ท่านปฏิบัติ ถ้าไม่มี‌โอกาสสมาทานจากพระเจ้าพระสงฆ์ก็สมาทานเอง‌ในที่นอนนั้นเอง ก็มีศีลไม่ขาดตลอดเวลา ตื่นขึ้นมา‌วันใหม่แล้วศีลของเรายังบริสุทธิ์อยู่ในกลางวันวันนี้‌เราจะทำบาปอะไรบ้าง ศีลของเราขาดตกบกพร่อง‌อะไรบ้าง ก็ตรวจตราก่อนจะนอนวันใหม่

อย่าให้ตก อย่าให้ขาดว่าง นี้เป็นวิธีที่จะทำให้‌ได้ศีล