posttoday

ศีลกถา ประโยชน์ของการรักษาศีล (1)

20 พฤษภาคม 2555

ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

สีเลนะ สุคะติ ยันติ สีเลนะโภคะสัมปะทา

สีเลนะ นิพพุติงยันติ อิมัสสะ ธัมมะปะริยา

ยัสสะ อัตโถ สาธายัสมันเตหิ สักกัจจัง ธัมโม โสตัพโพติ

ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงพระธรรมเทศนา พรรณนาธรรมะคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อฉลองศรัทธาชี้สัมมาปฏิบัติแด่ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลายที่มาประชุมกัน ณ ธรรมสภาศาลาที่นี้ โดยสมควรแก่เวลา เนื่องในวันนี้เป็นการทำบุญข้าวสาก อันเป็นวัฒนธรรมที่ดีของชาวพุทธอย่างหนึ่งที่กระทำกันทุกปี และวันข้าวประดับดินที่ผ่านมาแล้วก็ดี ทั้งสองวันนี้เป็นคัมภีร์ของพราหมณ์เขากล่าวไว้ บุญข้าวสาก บุญข้าวประดับดิน เป็นวันที่พระยายมบาลปล่อยสัตว์นรกให้กลับมาสู่มนุษย์ มาเพื่อเยี่ยมเยือนญาติพี่น้องของตนที่อยู่ภายหลังยังไม่ตาย เพื่อรับบุญรับกุศล เขาจึงมีพิธีว่าปล่อยสัตว์นรกขึ้นมาสู่มนุษยโลก พวกญาติพี่น้องที่อยู่ภายหลังยังไม่ตายก็จัดแจงอาหารหวานคาว ผลไม้ เป็นสำรับๆ ไว้ต้อนรับเปรตชนที่มาจากนรก เมื่อทำเสร็จแล้วเอาไปวางไว้ป่าช้า วางไว้กำแพงวัด วางในบริเวณวัด ทุกคนมีพี่น้องที่ตายไป ผู้ยังมีชีวิตอยู่จึงทำการเพื่อต้อนรับแขกผู้เป็นญาติเราที่มาจากนรก เพื่อจะได้กินอาหาร จึงจัดแจงภาชนะดังกล่าวนั้นมาวางไว้ เป็นการต้อนรับญาติพี่น้องที่เป็นสัตว์นรกนั่นเอง เสร็จจากนั้นแล้วก็พากันไปแม่น้ำคงคา เอาฝ่ามือทั้งสองกอบเอาน้ำให้สูงขึ้นเพียงตา แล้วก็หยาดน้ำลงมาทีละหยดๆ ลงในแม่น้ำคงคาอีก

การอุทิศส่งน้ำให้ญาติที่ตายไปแล้วนั้นคือพิธีของพราหมณ์ แต่ว่าพระพุทธศาสนาเกิดในภายหลัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เผยแผ่ศาสนาพุทธออกมาเพื่อบัญญัติเป็นข้อปฏิบัติว่าการทำเช่นนั้นครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นบิดามารดาครูบาอาจารย์ของพระกรรมฐาน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น และครูบาอาจารย์อื่นอีก ได้แนะนำสั่งสอนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับญาติพี่น้องก็ดี เกี่ยวกับประโยชน์ปัจจุบันก็ดี ว่าการทำเช่นนั้นเป็นการทำไม่ถูกต้อง

ธรรมดาว่าอาหารการกินที่เอาไปวางไว้ในลานวัด ในป่าช้า มันเป็นอาหารของสามัญชนมนุษย์ผู้มีชีวิตอยู่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้ถือว่าให้แก่ผู้ที่ลับโลกไปแล้วมารับเอา มันก็กินไม่ได้อยู่นั้นเอง เพราะเป็นอาหารของหยาบ มีแต่ดวงวิญญาณดวงจิตดวงใจขึ้นมาเยี่ยมมาเยือนเท่านั้น ก็คงไม่ได้รับ เพราะอยู่อีกภพหนึ่ง

การทำบุญอุทิศอย่างนั้นท่านว่าทำไม่ถูกทาง ท่านว่าไม่ได้รับมากินอย่างนั้นไม่สมควรกับบุคคล ผู้มีแต่วิญญาณ มีนามธรรมมารับ ควรจะทำบุญอย่างอื่น เป็นต้นว่าได้บุญแล้วส่งบุญไปให้ ท่านแนะนำอย่างนั้น เพราะว่าเปรตชนผู้เป็นเปรตเป็นสัตว์นรกอยู่ เป็นเพียงนามธรรมคือจิตใจเท่านั้น จะมากินอาหารที่หยาบๆ อย่างที่เรากินนี้ไม่ได้ อาหารเหล่านี้เป็นของมนุษย์ สัตว์ นก กา เป็นต้น ที่กินได้แต่เปรตรับไม่ได้เพราะว่าเป็นของหยาบ ต้องทำอาหารนั้นไปบริจาคทานแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ทรงศีล ได้บุญขึ้นมาจากการบริจาคทาน เกิดจากการรักษาศีล เกิดจากการเจริญภาวนา ได้บุญแก่ใจตนเองแล้วจึงแผ่อุทิศส่วนกุศลนั้นไปให้ภายหลัง ขอเดชะผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วนี้ จงไปถึงผู้นั้นๆ ที่เป็นเปรตชน เป็นบิดา มารดา และเป็นญาติของข้าพเจ้า ขอเชิญมาอนุโมทนาเถิด เปรตชนผู้เป็นแต่เพียงจิตวิญญาณนั้น เมื่อได้รับข่าวเช่นนั้นก็ดีใจ สาธุการ ประนมมือรับพร อย่างนั้นเขาจึงจะได้รับ

ที่เคยทำมานั้นครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนว่าผิดแบบ ท่านบอกให้เลิก เพราะฉะนั้นการที่เอาข้าวไปวางไว้ลานวัด วางไว้ตามป่าช้าก็ดี กำแพงวัดก็ดี จึงหยุดมาตั้งแต่บัดนั้น แต่ก็ยังมีบางบ้านที่ทำกันอยู่ ได้ทราบข่าวจากโยมว่าบ้านหนองแวงมากราบคารวะ บอกว่าการเอาอาหารไปวางไว้ในลานวัด ตามกำแพง หรือในป่าช้าก็ยังทำกันอยู่ แต่บ้านเรานั้นเลิกกันแล้ว

ตามคำสอนที่มีมาในศีลสารสูตรกล่าวถึงการเอาอาหารให้แก่ผู้ตายนั้นว่า ในครั้งพุทธกาล มีเศรษฐีผู้มีเงินมาก มีสมบัติพัสถานมาก ได้ลูกชายผู้หนึ่งเกิดมาเป็นแก้วตาดวงใจของบิดา รักอย่างสุดซึ้ง ต่อมาบุตรได้ตายลง ด้วยความวิปโยคโศกเศร้า จึงนำศพไปสู่ป่าช้าแล้วเผาศพ แล้วคิดว่าลูกชายที่ตายไปแล้วเขาคงจะหาอาหารการกินไม่มี จึงได้จัดแจงคนใช้ให้นำอาหารคาวหวาน ผลไม้ สำรับหนึ่งไปวางไว้ป่าช้าทุกวันตั้งแต่วันที่ตาย เพื่อหวังให้ลูกชายได้กิน ประมาณเดือนหนึ่งสองเดือนทำอยู่อย่างนั้น

ต่อมาวันหนึ่งเกิดฝนตก คนที่นำเอาอาหารไปให้ลูกชายเศรษฐีนั้นจึงไปหลบยังศาลาแห่งหนึ่ง เห็นภิกษุผู้ทรงศีลเดินมาจากป่ามาบิณฑบาต จึงสำคัญว่าท่านอยู่ป่าคงอยู่ใกล้กับที่เผาลูกเศรษฐี เราไปวันนี้ก็ติดฝนตก ไปไม่ได้ จึงขอฝากอาหารนี้ไปให้ลูกเศรษฐีบริโภคใช้กินตามความประสงค์ แต่ได้คิดว่าข้าพเจ้ามีความประสงค์นำอาหารนี้อุทิศแด่ลูกเศรษฐีผู้ตายแล้วในป่าช้า จึงวางอาหารทุกอย่างลงในบาตรของพระเถระ พระเถระก็กล่าวว่า “ยะถา วาริวหา ปูรา ปริ ปูเรนฺติ สาครํ” สิ่งที่ท่านปรารถนามานั้นจงสำเร็จเถิด

ต่อมาในกลางคืนวันนั้นเอง ลูกเศรษฐีมาปรากฏในฝันของบิดาของตนเอง ไปต่อว่าต่อขานกับบิดาว่า ท่านผู้เป็นบิดานี้ท่านไม่รักลูกเลย ผมตายมาแล้วตั้งสองเดือนไม่ได้กินอาหารเลย มาได้กินในเช้าวันนี้เอง นับแต่ตายมาได้สองเดือนแล้ว เศรษฐีจึงเอะใจว่าที่ใช้ให้คนเอาอาหารไปส่งในป่าช้านั้นเขาทำหรือเปล่า จึงให้อีกคนหนึ่งไปนับภาชนะดู เพราะภาชนะนั้นเมื่อใส่อาหารไปแล้วก็วางซ้อนกันอยู่วันละสำรับ คนไปนับสำรับก็พบว่าครบถ้วนบริบูรณ์ มิได้ขาด เหตุใดลูกจึงมาต่อว่าว่าไม่ได้รับ ได้กินอาหารเพียงเช้าวานนี้เอง จึงไปถามคนที่เอาภาชนะไปวางนั้น จึงเล่าตามเหตุการณ์ที่กล่าวมาแล้ว

ด้วยเหตุนี้จึงมีความสงสัยว่า เหตุใดอาหารการกินที่นำไปให้เปรตชนที่ป่าช้านั้นจึงไม่ได้รับ แต่เมื่อถวายพระแล้วจึงได้รับ ดังนี้แล้วจึงไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า ความจริงเป็นเช่นนั้น เพราะว่าผู้ที่ตายไปแล้วไม่มีร่างกายเหมือนสัตว์หรือมนุษย์ซึ่งเป็นของหยาบ แต่ผู้ที่ตายไปแล้วเป็นเพียงวิญญาณ เป็นเพียงแต่จิตประคอง เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง ต้องทำการกุศลเป็นต้นว่าให้ทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนา เป็นนามธรรมคือบุญเกิดที่ใจของผู้กระทำเช่นนั้น เมื่อได้บุญแล้วจึงส่งบุญไปให้ ซึ่งเป็นของนามธรรมเช่นเดียวกัน เหมาะเจาะแก่กัน ผู้รับเป็นเพียงวิญญาณ ผู้ส่งไปก็เป็นบุญ เมื่อได้รับข่าวแล้วก็โมทนาสาธุการไปเกิดเป็นมนุษย์อีก หรือเป็นเทวดา นี้เป็นการปฏิบัติถูกต้องตามทำนองของพระพุทธศาสนา

เพราะฉะนั้นการที่ทำดังกล่าวมาแล้วในเบื้องต้นนั้นจึงเป็นการทำที่ไม่ถูกต้อง ครูบาอาจารย์แนะนำสั่งสอนให้เลิกละพอสมควรแล้ว เราจึงถือปฏิบัติอย่างนี้ตลอดมา แม้แต่วันนี้คณะศรัทธาญาติโยมของวัดชัยมงคลที่มาทำบุญทุกบ้าน ทำบุญข้าวสาก ข้าวประดับดินที่ผ่านมาแล้ว จึงถือเป็นวันสำคัญที่ควรถือปฏิบัติสืบทอดเป็นของดี ทำดีไว้ให้ลูก ทำถูกไว้ให้หลาน ได้สืบทอดการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบต่อไป เพราะฉะนั้นวันเช่นนี้ได้เวียนมาถึงแล้ว ศรัทธาญาติโยมบ้านแพงมีกติกาสัญญากันว่าให้ฟังเทศน์แต่ละวัด รอบๆ กันไปถ้วนหน้า ครบรอบแล้วก็กลับมา ซึ่งในวันนี้เป็นวาระของวัดชัยมงคล วันนี้จึงเป็นการทำบุญทำกุศลที่สมควรจะทำให้เป็นประโยชน์คือ มีการฟังธรรมฟังเทศน์ เพื่อสนองศรัทธาประสาทะของญาติโยมทั้งหลายขอให้ตั้งใจฟังธรรมมะที่จะแสดงต่อไปนี้ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา ดังพระบาลีว่า “สุสุสฺสํ ลภเตปัญฺญํ ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา”

ศีลกถา ประโยชน์ของการรักษาศีล (1)

 

การที่ผู้ฟังธรรมนั้นฟังอย่างไรเรียกว่า ฟังด้วยดี เพื่อให้ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม หรือกติกาที่กำหนดไว้ คนฟังธรรมมีอยู่ 4 ลักษณะ

1.อุปมาเหมือนกับหม้อที่ปิดฝาแล้วไปวางไว้กลางแจ้ง ฝนตกทั้งคืนไม่สามารถที่จะให้น้ำเต็มหม้อได้ เพราะหม้อมันถูกปิดอยู่นี่อย่างหนึ่ง

2.อุปมาเหมือนหม้อที่เปิดฝาไว้แล้ว แต่หม้อก้นรั่ว เปิดฝาให้เม็ดฝนลงไปในหม้อเหมือนกัน แต่ก้นหม้อมันรั่ว มันก็ซึมซาบไหลไปหมด

นี่เป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง การทำให้ถูกต้องมีสองลักษณะเหมือนกันคือ

1.หม้อเปิดฝา และ

2.หม้อนั้นไม่รั่ว เปิดตั้งไว้ในที่แจ้งแล้ว เมื่อฝนตกลงมาในหม้อที่เปิดนั้น เป็นการรองรับน้ำฝน น้ำฝนก็เต็มหม้อ

ฉันใดก็ดี นี้เป็นอุบายเปรียบเทียบผู้ฟังธรรมทั้งหลายที่จะฟังด้วยดีนั้นคือ จะต้องเป็นลักษณะเปิดฝาหม้อออก หม้อก็ไม่ให้รั่ว เปิดฝานั้นหมายความว่า เปิดประตูใจรับฟังคำสั่งสอนของท่านผู้แสดงว่าธรรมมะ ที่ท่านแสดงนั้นหมายความลึกตื้นหนาบางอย่างไร มีความประสงค์อย่างไร มีอธิบายอย่างไร จดจำได้หมด ไม่เป็นเพียงแค่ว่านั่งในสมาคมของการฟังธรรมแล้วจิตใจไปห่วงหน้าห่วงหลัง ไปห่วงลูกห่วงหลานอยู่ในบ้านในเรือน คิดฟุ้งซ่านไปอย่างอื่น มีหูก็ไม่ได้รับฟังธรรมมะส่องเข้าไปในหูเลย เรียกว่าเหมือนกับหม้อที่ปิดฝา เป็นการฟังที่ไม่ตั้งใจฟัง แส่ใจไปทางอื่น ลักษณะที่สองแบบฟังแล้วตั้งใจฟัง แต่ว่าไม่ได้เก็บไว้ ลืมทั้งหมด เป็นคนหม้อก้นรั่ว รับเข้าไปแล้วแทนที่จะมีความคิดจดจำธรรมะคำสั่งสอนไปปฏิบัติ แต่ก็ลืมไปหมด พอออกจากวัดไป พ้นเขตวัดศีลก็คืนมาหมด ไปแต่ตัวเปล่า อย่างนี้เรียกว่าหม้อก้นรั่ว ไม่ได้ประโยชน์

ต้องเปิดฝาให้ดี ฝาที่เปิดออกนั้นเรียกว่าตั้งใจฟัง จดจำธรรมะคำสั่งสอนของท่านที่แสดงอย่างไร ในการฟังธรรมนั้นต้องจับให้มันได้ เปิดประตูใจของเรา เปิดหู เปิดใจ ขึ้นมารับฟังธรรมคำสั่งสอน แล้วก็จดจำไว้ให้มั่นคง ไม่ให้หลงลืมเสียหาย กลับไปบ้านไปเรือนแล้วให้ยังนึกถึงธรรมะที่ท่านแสดงอยู่ตลอดเวลา เข้าใจความหมายแล้วก็ปฏิบัติตาม นี้ชื่อว่าฟังธรรมที่ดี เป็นหม้อเปิดฝาแล้วก้นไม่รั่ว จิตจำ ฟังธรรมแล้วปฏิบัติตามนั้น ชื่อว่าการฟังธรรมที่ถูกต้อง ต้องได้ปัญญาเกิดขึ้น

 

เพราะฉะนั้นธรรมมะที่จะแสดงต่อไปนี้จะได้ชี้แจงสิกขาบทคือศีลของภิกษุ สามเณรพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้รักษาศีล ภิกษุสงฆ์‌
นั้นต่างหาก ส่วนทายก ทายิกานั้น ยังไม่บวชให้มีศีลสองประการ คือ ศีล 8 และศีล 5 ศีล 8 ‌นั้นเป็นศีลอุโบสถก็มี เป็นศีล 8 ธรรมดาก็มี

ทำไมจึงเรียกว่าศีลอุโบสถ ศีล 8 คำว่า อุโบสถ นั้นเป็นชื่ออย่างหนึ่งของการบำเพ็ญพรต‌ของศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์ถือว่า‌
เดือนหนึ่งมี 4 ครั้ง ขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ แรม ‌8 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ เป็นวันอุโบสถ เขาให้ชื่อว่า วันอุโบสถ พวกพราหมณ์เขาก็ทำกันอย่างนั้น ‌
เมื่อถึงวันอุโบสถมาถึงเวลาใดก็ตามแล้ว ก็ออก‌จากบ้านเรือนเข้าไปสู่ป่าหาที่สงัด บำเพ็ญพรต‌ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เป็นต้นว่า ‌
อดอาหาร ไม่กลืนน้ำลาย ทรมานร่างกายต่างๆ ‌ตามคำสอนของศาสนาพราหมณ์ เขาทำอย่างนี้‌เรียกว่า ทำอุโบสถ ไปอุโบสถ

เพราะฉะนั้นพระพุทธศาสนาก็เอามาบัญญัติ‌เป็นการปฏิบัติว่าดี เดือนหนึ่งแบ่งเป็นสี่ครั้ง ทั้งสี่ครั้งนี้ก็คงพอดีกับการครองชีพของฆราวาส ‌
ที่ยังเป็นผู้วุ่นวายอยู่กับอาชีพการงาน เข้าวัดไม่ได้ตลอดทุกวัน เอาถือว่าเดือนหนึ่งเข้าวัดสี่วันก็แล้วกัน ก็เรียกว่า วันอุโบสถ

เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า วัน‌อุโบสถได้มาถึงแล้ว ฝ่ายภิกษุให้ทำปาติโมกข์เพื่อ‌ทบทวนสิกขาบทของตน ฝ่ายฆราวาสคือญาติ‌
โยมก็รักษาศีล 8 ประการ เรียกว่า ศีลอุโบสถ

ศีลอุโบสถกับศีล 8 ต่างกันอย่างไร มีความ‌หมายต่างกัน ถ้าผู้ใดรักษาศีล 8 ในวันขึ้น 8 ค่ำ ‌ขึ้น 15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ แรม 15 ค่ำ เรียกว่า
ถือศีล 8 อุโบสถ คำอาราธนาก็ต่างจากที่ถือศีล ‌8 เฉยๆ เรียกว่า อัฏฐะ หรือศีล 8 ประการ ดัง‌ที่แม่ชีรักษาเป็นนิจกาลนี้เรียกว่ารักษาศีล 8 คำ‌
อาราธนาก็ต่างกัน ถ้าวันใดเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ ขึ้น ‌15 ค่ำ แรม 8 ค่ำ แรม 15 ค่ำแล้ว มีคำอาราธนา‌ว่า “มยํ ภนฺเต ติสรเนน สห อฏฺฐํค สมณาคตํ ‌
อุโบสถํ ยาจามิ” นี่ชื่อว่ารักษาศีลอุโบสถ วัน 8 ‌ค่ำ วัน 15 ค่ำ ถ้ารักษาศีล 8 ธรรมดา คือวันที่‌ไม่ถูกกับวันอุโบสถ ก็อาราธนาว่า “มยํ ภนฺเต ‌ติสรเนน สห อฏฺฐ สีลานิยาจามิ” นี่คำอาราธนา‌
ก็ต่างกัน การปฏิบัติก็ต่างกัน

เพราะฉะนั้นเป็นการบัญญัติคำสอนลงในคติ‌ของพราหมณ์ที่ทำกัน ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็ให้สวดปาติโมกข์ ท่องสิกขาบทวินัยของตน ฝ่ายคฤหัสถ์‌
ก็ให้รักษาศีลอุโบสถหรือศีล 8 หรือรักษาศีล 5

จำเป็นอย่างไรจึงต้องรักษาศีล 5 อันว่าศีล 5 นั้น เรียกชื่ออย่างหนึ่งว่า นิจศีล แปลว่า ศีล‌ที่ควรรักษาเป็นนิจ บางคนก็ว่าจะรักษาศีล 5 ให้‌
เป็นนิจอย่างไร เพราะว่ายากยุ่งอยู่กับอาชีพการ‌งานธุระหน้าที่ที่ทำอยู่ตลอดเวลา ไม่มีเวลาว่าง ‌
ไม่มีโอกาสจะรักษาเป็นนิจ ไม่แก่ไม่เฒ่าแล้วยัง‌ไม่สมควรจะเข้ามารักษาศีลธรรม คนแก่คนเฒ่า ‌
คนไม่มีงานจึงสมควรไปฟังเทศน์ฟังธรรมจำศีล

นี่เป็นความเข้าใจผิด

เพราะว่าศีล 5 เป็นนิจศีลสำหรับฆราวาสผู้ปฏิบัติให้รักษาเป็นนิจ จึงเรียกว่า นิจศีล เราจะ‌เข้าใจอย่างอื่นไม่ได้ จะหลีกเลี่ยงว่าไม่รักษาไม่ได้

ทายก ทายิกา อุบาสก อุบาสิกา ผู้ชาย ผู้หญิงในโลกนี้ ผู้ใดปฏิญาณตนว่า พุทธัง สรณัง ‌คัจฉามิ ธรรมมัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง ‌
คัจฉามิ เป็นผู้ถือพระศาสนาแล้ว ถ้าเป็นผู้ชายเรียกว่า อุบาสก ถ้าเป็นผู้หญิงเรียกว่า ‌อุบาสิกา ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง อุบาสก ‌
อุบาสิกานี้ ต้องมีความพร้อมด้วยองค์สมบัติ‌ของอุบาสก อุบาสิกา จึงเรียกว่า อุบาสก อุบา ‌สิกา ผู้ปฏิญาณตนว่าถือ พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ที่พึ่งอื่นไม่มี พระพุทธเจ้า‌เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ที่พึ่งอื่นไม่มี พระธรรมเจ้า‌เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ที่พึ่งอื่นไม่มี พระสงฆ์เจ้า‌
เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า นี้เป็นการปฏิญาณตน

เช่นนี้แล้วก็จำเป็นต้องมีองค์สมบัติว่าอะไร‌
เป็นผู้มีนามว่า อุบาสก อุบาสิกา

ต้องพร้อมด้วยองค์สมบัติ 5 ประการ เป็น‌
หน้าที่ของผู้รักษาศีล 5 ประการนี้ คือ

1.มีศรัทธาบริบูรณ์

2.มีศีลบริสุทธิ์

3.ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล

4.ไม่แสวงหาบุญนอกเขตพระพุทธศาสนา

5.แสวงหาบุญแต่ในเขตพระพุทธศาสนา