posttoday

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

18 กรกฎาคม 2564

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แนะเทคนิคสร้างความผ่อนคลาย เพื่อป้องกันภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout)

ด้วยสถานการณ์การผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายบริษัทได้ปรับเปลี่ยนวิธีมาเป็นการทำงานที่บ้าน (Work from home) ส่งผลให้หลายคนต้องใช้เวลาทำงานยาวนานขึ้นและอยู่ในบรรยากาศเดิมๆทุกวันทำให้เกิดความเหนื่อยล้าสะสมจากการทำงานอย่างต่อเนื่องจนเริ่มมีอาการเบื่อหน่ายขาดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์ผลงานลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานจนนำมาสู่อาการหมดไฟในที่สุด

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

แบรนด์ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลสุขภาพผิวและเส้นผมจากสารสกัดธรรมชาติ ‘ธัญ’ (THANN)  เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ ร่วมแนะนำเทคนิคสร้างความผ่อนคลายระหว่างการทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout) พร้อมเผยผลิตภัณฑ์ Time to Refresh, เครื่องกระจายกลิ่นหอม, น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ 100%, ก้านไม้หอม และเทียนหอมไร้ควัน  ร่วมกับเซเลบริตี้สาวสวยมาร่วมเผยเคล็ดลับการรับมือกับภาวะหมดไฟ 

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

แพทย์หญิงดุจฤดี อภิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ได้แนะแนวทางสร้างบรรยากาศผ่อนคลายทางด้านอารมณ์ ป้องกันภาวะหมดไฟจากทำงาน (Burnout Syndrome)  ว่า ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดจากการทำงาน (Occupational Phenomenon) แต่ไม่ใช่โรค (not a medical diagnosis) เนื่องจากการขาดสมดุลของชีวิตและการทำงาน (Work-Life Balance) จนเกิดความเครียดสะสมเรื้อรังในสถานที่ทำงานโดยที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ และส่งผลกระทบต่อร่างกายตามมา

กลุ่มอาการภาวะหมดไฟจากการทำงาน (Burnout) มักเกิดจากภาระความรับผิดชอบในงานที่สูง รวมถึงปริมาณงานจำนวนมากที่มีความซับซ้อนและต้องทำในเวลาเร่งรีบ นอกจากนี้อาจเกิดจากปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน การขาดอำนาจในการตัดสินใจ หรือต้องทำงานที่ตนเองไม่ถนัด เป็นต้น ส่วนการสังเกตว่าตัวเรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟจากการทำงานสามารถประเมินได้จาก

อาการทางกาย : เหนื่อย หมดแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อบ่อย ไม่อยากอาหารหรือทานอาหารมากเกินไป ปวดท้อง คลื่นไส้ ความสามารถในการจำและการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

อาการทางจิตใจ : หดหู่ เบื่อ ขาดแรงจูงใจ ไม่มีความสุขในการทำงาน มองโลกในแง่ร้าย โกรธ หงุดหงิดง่าย รู้สึกโดดเดี่ยว สิ้นหวัง ไม่มีใครเข้าใจ ไม่พอใจในตัวเองและรู้สึกไม่ประสบความสำเร็จ

อาการทางด้านพฤติกรรม : พูดคุยกับคนรอบตัวน้อยลง ชอบแยกตัวไม่สุงสิงกับใคร ไม่อยากตื่นมาทำงาน มาทำงานสายแต่กลับบ้านเร็ว ขี้เกียจมากขึ้น ไม่กระตือรือร้น ไม่อยากพัฒนา เริ่มใช้สิ่งเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่

เราสามารถแก้ไขภาวะหมดไฟจากการทำงานเบื้องต้นได้ด้วยการเปลี่ยนทัศนะคติ ยอมรับปัญหา เปิดใจรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ไม่ทำงานหักโหมเกินเวลา รู้จักฝึกขอความช่วยเหลือหรือฝึกทักษะการปฏิเสธอย่างเหมาะสม แบ่งเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น หาเวลาทำกิจกรรมที่ช่วยสร้างความผ่อนคลาย เช่น แช่น้ำอุ่น ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยง หรือต้นไม้ ออกกำลังกาย ที่ใช้การฝึกลมหายใจร่วมด้วย เช่น โยคะ พิลาทิส รวมถึงการใช้กลิ่นหอมบำบัด (Aromatherapy) จากน้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติมาช่วยในการสร้างบรรยากาศความผ่อนคลายภายในบ้านซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถบรรเทาความเครียดได้เร็วที่สุด

เมื่อจมูกได้รับกลิ่นมาเพียงไม่กี่วินาที กลิ่นจะถูกส่งผ่านประสาทรับกลิ่น (Olfactory Nerves) ซึ่งอยู่เหนือโพรงจมูกไปยังกระเปาะรับกลิ่น (Olfactory Bulbs) และส่งต่อไปยังสมองส่วนควบคุมอารมณ์และความรู้สึก (Limbic System) อณูของน้ำมันหอมระเหยจะกระจายไปตามประสาทรับกลิ่นเข้าสู่สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก (Emotion Center หรือ Limbic System) โดยไปกระตุ้นให้สมองสั่งการไปที่ระบบต่อมไร้ท่อ เพื่อหลั่งสารที่มีประโยชน์ และมีอิทธิพลต่ออารมณ์และความรู้สึก ได้แก่ เอ็นโดฟิน (Endorphin) สารที่ช่วยลดความเจ็บปวด คลายความเครียด และความวิตกกังวล, เอนเคฟาลิน (Enkephalin) สารที่ช่วยลดอาการซึมเศร้า และเซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยทำให้สงบ เยือกเย็น และผ่อนคลายจากสภาวะเครียดได้”

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

ด้านเซเลบริตี้ต่างร่วมทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ พร้อมเผยเคล็ดลับการผ่อนคลายทางด้านอารมณ์ตามแบบฉบับตนเอง เริ่มที่ บงกชทิพย์ ภิรมย์ภักดี เผยว่า “ปกติแล้วบัวจะได้แรงบันดาลใจในการทำงานจากการเดินทาง แต่พอมาเจอช่วงโควิดก็ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ พยายามทำจิตใจไม่ให้เครียดด้วยการฝึกนั่งสมาธิเพื่อไม่ให้จิตใจฟุ้งซ่าน อย่างวันไหนคิดงานไม่ออกก็จะระบายอารมณ์ด้วยการวาดภาพ หากวันไหนเริ่มรู้สึกเบื่อขาดแรงบันดาลใจก็จะเพิ่มพลังด้วยกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ โดยจะวางไว้ทุกมุมภายในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอนก็จะวางก้านไม้หอมหรือไม่ก็จุดเทียนหอมไว้ ส่วนกลิ่นที่ชอบจะเป็นกลิ่นอีสเทิร์น ออร์ชาร์ด เพราะรู้สึกสดชื่น กระปรี้ประเปร่า พอร่างกายและจิตใจเราสดชื่นความคิดทางด้านบวกและแรงบันดาลใจก็จะตามมาเรื่อยๆ ทำให้เราสามารถสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ออกมาได้”

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

ต่อที่ บุญญาพร ศรีอรทัยกุล เล่าว่า “เพิร์ลเชื่อว่าเป็นเรื่องปกติที่เราทุกคนจะประสบปัญหาหมดไฟไม่ว่าจะเกิดจากการเรียนหรือการทำงานอย่างหนัก เพราะเพิร์ลเองก็เคยเป็นช่วงใกล้สอบ หรือไม่ก็ตอนทำโปรเจ็คใหญ่ๆ ช่วงนั้นรู้สึกเครียดมากๆ ทำให้ไม่มีสมาธิ ปวดหัว อ่อนเพลีย ขาดพลังและแรงบันดาลใจในการทำงาน แต่เราจะพยายามลดความเครียดด้วยการพูดคุยกับคนในครอบครัว ฟังเพลง ออกกำลังกาย และใช้กลิ่นหอมจากน้ำหอมระเหยธรรมชาติ เพื่อสร้างความผ่อนคลายไม่ว่าจะเป็น ไทม์ ทู รีเฟรช ที่พกติดตัวแบบขาดไม่ได้เลย เพราะถ้าอยากได้ความผ่อนคลายเมื่อไหร่ก็เอามาใช้ได้ทันที นอกจากนี้ก็จะวางเทียนหอม หรือ เครื่องกระจายกลิ่นหอม ที่ใช้คู่กับน้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ โดยหลักๆ ก็จะวางไว้ในห้องทำงาน และห้องนอน สำหรับกลิ่นที่ชอบก็คือ อะโรมาติก วูด เป็นกลิ่นหอมสดชื่น มีชิวิตชีวาของส้ม, แทนเจอรีน ผสมกับกลิ่นไม้หอมอย่างจันทน์เทศและแซนดัลวู้ด”

How to สร้างความผ่อนคลาย ทำงานได้ไม่ Burnout

ปิดท้ายกับ ณัชชา ธนากิจอำนวย เผยว่า “ชาช่ามุ่งมั่นกับการทำงานมาก เพราะอยากให้งานประสบผลสำเร็จอย่างที่เราตั้งใจไว้ จึงชอบตั้งเป้าหมายและวางแผนการทำงานไว้ล่วงหน้า เพื่อให้งานมีแบบแผนและทิศทางการทำงานที่ชัดเจน ทำให้เรามีแรงผลักดัน มีพลังในการทำงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่วางแผนไว้ ถ้าช่วงไหนที่ทำงานหนักมากๆ แต่ก็อาจทำให้เกิดความเครียด เหนื่อยล้า หรือคิดงานไม่ออก เราก็จะมีวิธีผ่อนคลายตัวเองด้วยการหยุดพักผ่อนสักสาม-สี่วัน เพื่อไปท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติ ไปอยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง เป็นการหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ แต่พอเกิดโควิดก็ไม่ได้ออกไปไหนเลย จึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีมาใช้กลิ่นหอมผ่อนคลายด้วยการใช้น้ำมันหอมระเหยธรรมชาติ ซึ่งที่บ้านจะวางก้านไม้หอมและชุด น้ำมันหอมระเหยไว้ทุกห้อง ไม่ว่าจะเป็นในห้องนอน, ห้องทำงานหรือโต๊ะกาแฟ เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี อย่างกลิ่นที่ชอบก็จะเป็นกลิ่นอีเดน บรีซ เป็นกลิ่นหอมที่ผสมระหว่างดอกมะลิและกุหลาบที่มอบความสงบผ่อนคลายให้เราได้ดี”