posttoday

พัฒนาศักยภาพเชิงรุก เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคอย่างยั่งยืน

15 มิถุนายน 2563

การรับมือกับปัญหาไวรัสโควิด 19 เชิงองค์รวม : การแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนเชิงรุก

โลกเปลี่ยนแปลงทุกขณะ ไม่แน่นอน อ่อนไหว ซับซ้อน และคลุมเครือ การอุบัติขึ้นของไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลก และปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมันได้คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 4 แสนคน

พัฒนาศักยภาพเชิงรุก เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคอย่างยั่งยืน

ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล จากสถาบันอินทรานส์ Hipot - การปฏิรูปศักยภาพมนุษย์อย่างบูรณาการ ศาสตร์ชีวิตองค์รวมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน เผยข้อมูลจาก OECD เตือนว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั่วโลกจะหดตัวมากถึง 7.6% หากมีการระบาดรอบสองในปลายปีนี้ และการฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างเชื่องช้าและผันผวน เพราะปัญหาไวรัสโควิด 19 นั้นซับซ้อน เราจึงต้องเปลี่ยนกระบวนการรับมือแบบเดิมๆ มาเป็นการพัฒนาเชิงรุกอย่างเป็นระบบ

พัฒนาศักยภาพเชิงรุก เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคอย่างยั่งยืน

การพัฒนาศักยภาพเชิงรุกคืออะไร?

การพัฒนาเชิงรุกมีเป้าหมายเพื่อการก้าวข้ามพ้นอุปสรรคและปัญหาสู่ความยั่งยืน มันเป็นการเน้นการปรับเปลี่ยนโดยเริ่มที่ตนเองเป็นหลัก ด้วยความเข้าใจถึงความหมายของศักยภาพที่แท้จริงสามารถระเบิดศักยภาพจากภายใน สามารถสร้างแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น แรงขับเคลื่อนภายในด้วยทัศนคติเชิงบวก รู้ว่าจะเลือกตอบสนองอย่างไรเมื่อมีอะไรมากระทบ

การเข้าถึงจุดนี้ได้ แรกเริ่มเลยคือ การสร้างการนำตนเอง (Self-directed) การจะนำตนเองได้ ต้องเริ่มที่การเปลี่ยนกรอบความคิดอันเป็นฐานรากชีวิต กรอบความคิดเป็นของตนเอง อำนาจการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ตนกำหนดได้เองทั้งสิ้น เราจึงต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อการเกิดขึ้นของไวรัสโควิด 19 และการรับมือเสียใหม่ เพราะเรื่องนี้เราห้ามไม่ได้ แต่เราสามารถปรับตัวได้เพื่อให้อยู่รอด เพราะมันไม่สำคัญว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่มันอยู่ที่เราว่าจะตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นอย่างไร

เมื่อเราสามารถควบคุมได้ เราจึงกำหนดได้ เราจึงเล่นเชิงรุกได้ และนี่คือศักยภาพที่แท้จริงที่บุคคลมี มันคือ ศักยภาพในการนำตนเองเชิงรุก มันคือการจัดการตนเอง รับรู้อย่างมีสติ ไม่ตื่นตระหนก มีความอดทน ดังนั้น ความสามารถในการนำตนเองเชิงรุกจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความยั่งยืน

มุมมองเชิงระบบที่ซับซ้อนคืออะไร?

มันเป็นความสามารถในการเข้าใจปัญหาต่างๆ ตามความเป็นจริงว่า ปัญหาใดๆ คือระบบ และทุกปัญหาล้วนเชื่อมโยงกันอย่างเป็นร่างแหสลับซับซ้อนและในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ นอกจากต้องพัฒนาศักยภาพในการนำตนเองแล้ว ทีนี่เราต้องแก้ปัญหาในการแก้ปัญหา เราต้องใช้ปัญญา ฐานรากของปัญญามาจากแนวคิดเชิงระบบแนวคิดเชิงระบบเป็นการพิจารณาทางออกของปัญหาต่างๆ ตามความเป็นจริงว่า ทางออกของปัญหาใดๆ เกิดขึ้นจากการเชื่อมโยงขององค์ประกอบ ดังนั้น ทางออกอย่างสร้างสรรค์หรือที่เรียกว่านวัตกรรมนั้น มันก็คือ การเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่างนั่นเองการแก้ปัญหาใดๆ จึงเป็นการคิดวิเคราะห์เพื่อหาองค์ประกอบที่แตกต่างและสร้างการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อสร้างทางเลือก หาทางออกใหม่ๆ เพื่อนำไปแก้ปัญหาความแตกต่างของปัญญาเพื่อความยั่งยืน มันก็อยู่ตรงนี้แหละ เพราะสรรพสิ่งเชื่อมโยง

แต่การแก้ปัญหาใดๆ มันมิได้ง่ายตรงไปตรงมาอย่างเป็นเส้นตรงเชิงเดี่ยวเพราะทุกปัญหามันซับซ้อน มันเป็นปัญหาซ้อนปัญหาที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ดังเช่นปัญหาไวรัสโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในเวลานี้ทางออกต่อมุมมองดังกล่าวจึงต้องพัฒนาปัญญาไปอีกขั้นหนึ่งที่เห็นความจริงของปัญญาบนฐานของระบบซ้อนระบบเห็นถึงความเชื่อมโยงที่สลับซับซ้อน เกี่ยวพัน ทับซ้อนกันของปัญหาต่างๆ ที่ต่างก็สัมพันธ์เชื่อมโยงกันในทุกระดับอย่างลึกซึ้งการแก้ปัญหาไวรัสโควิด 19 จึงไม่อาจทำได้ด้วยมุมมองเชิงเดี่ยวด้วยการแก้ที่องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งอย่างโดดๆแต่ต้องอาศัยทุกองค์ประกอบในทุกภาคส่วนของประเทศและโลกที่ต้องเชื่อมโยงช่วยเหลือกันอย่างเป็นหนึ่งเดียว อย่างมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลทั่วโลกกำลังเร่งดำเนินการอยู่ทุกวันนี้

พัฒนาศักยภาพเชิงรุก เพื่อก้าวข้ามอุปสรรคอย่างยั่งยืน

โดยสรุป ศักยภาพในการแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนเชิงรุกสามารถพัฒนาขึ้นมาได้ด้วยการผสานสองแนวคิดข้างต้นเข้าด้วยกัน กล่าวคือ การปรับมุมมองที่ว่าการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องเริ่มที่ตนเองก่อนเสมอเพื่อสร้างความสามารถในการนำตนเองด้วยการระเบิดศักยภาพจากภายในผ่านกรอบความคิดเชิงบวกที่เห็นความจริงว่าปัญหาใดๆ ล้วนเชื่อมโยงและทับซ้อนกันอย่างเป็นระบบซ้อนระบบเพื่อนำไปสู่การสร้างปัญญาและกระบวนการเรียนรู้และทางเลือกใหม่ๆ ที่มีคุณค่าเชิงเศรษฐกิจด้วยการสร้างการเชื่อมโยงที่หลากหลายขององค์ประกอบที่แตกต่าง

ด้วยความเข้าใจนี้เองสามารถนำมาปรับใช้กับการแก้ปัญหาใดๆ ในองค์กรรวมทั้งครอบครัว สังคม ชุมชน และประเทศชาติเพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกระดับ แม้แต่ที่ประชุม World Economic Forum เมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้ประกาศว่า “ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงซับซ้อน” เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นอันดับแรกในปี 2020

เราจึงจำเป็นต้องเตรียมคนให้พร้อมด้วยการยกระดับแนวคิดใหม่เพื่อรับมือกับความท้าทายในอนาคตที่ไม่อาจคาดเดาได้ด้วยกระบวนการแก้ปัญหาเชิงระบบที่ซับซ้อนเชิงรุก

เพราะเราไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ด้วยระดับความคิดตอนที่เราสร้างมันขึ้นมา We cannot solve our problems with the same thinking we used when we created them - (Einstein)