posttoday

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

10 มีนาคม 2563

ชมความงดงามของคอลเลกชั่นผ้าไทยร่วมสมัย จากแบรนด์สายเลือดไทย WISHARAWISH ในโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2563

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

"ผ้าไทย" เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในงานช่างฝีมือที่สืบทอดกันมาแต่ช้านาน กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พร้อมด้วยแบรนด์ WISHARAWISH (วิชระวิชญ์) โดยนายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ ได้ดำเนินงานต่อยอดโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล ประจำปี 2563 เป็นปีที่ 2 เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทย รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานเครื่องแต่งกายที่ตัดเย็บด้วยผ้าไทยต้นแบบ

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

นายวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ดีไซเนอร์และเจ้าของแบรนด์ WISHARAWISH เผยว่า ในคอลเลกชั่น Post-Wore Delicacies (โพส วอร์ เดลิเคซี่) เป็นการเอาของในชีวิตประจำวันกลับมาทำให้มีชีวิตอีกครั้ง ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่เราพยายามทำอยู่ในตอนนี้ นั่นคือนำผ้าไทยกลับมาใช้ยังไงให้ดูตื่นเต้น โดยที่ไม่เชย หรือซ้ำซาก สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ ดูแลรักษาได้ง่าย และราคาสามารถสัมผัสได้

ส่วนดีไซน์ของเสื้อผ้าจะค่อนข้างเบสิก เน้นไปที่แมททีเรียล โดดเด่นด้วยนวัตกรรมเส้นใยที่เรียกว่า FILAGEN (ฟิลาเจน) และ Nanozinc (นาโนซิงค์) โดยในครั้งนี้เราได้ทำงานกับชุมชนถึง 14 ชุมชนทั่วประเทศไทย เราพยายามจะดึงจุดเด่นของแต่ละที่ออกมา ทำให้งานมีความน่าสนใจมากขึ้น และตรงตามความต้องการของตลาด ซึ่งผลตอบรับจากปีที่แล้วก็ถือว่าดีมาก ออเดอร์ผ้าจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามามากมาย ทำให้เห็นว่าผ้าไทยของเรายังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก และสำหรับปีนี้ 70 ลุคที่เราพยายามสร้างสรรค์ขึ้นมา ก็น่าจะสร้างความประทับใจให้กับทุกคน

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

สำหรับโครงการพัฒนามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าไทยสู่สากล เป็นการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงวัฒนธรรม คือการต่อยอดวัฒนธรรมด้วยการนำคุณค่าของวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม สนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ 5F (Film, Food, Festival, Fashion, Fighting) ในเรื่อง Fashion : การออกแบบและแฟชั่น โดยการบูรณาการและร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

ซึ่งในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการทั้ง 7 ชุมชน ประสบความสำเร็จในการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนตนเอง ได้แก่ การขยายฐานลูกค้าออกไปสู่ต่างประเทศ มียอดสั่งผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาลวดลายบนผืนผ้าใหม่ๆ การวางลายผ้าให้มีความทันสมัย ไม่ดูเชย มีความโดดเด่น เพิ่มมูลค่าให้กับผลงาน ได้รับเชิญเข้าร่วมงานแสดงเครื่องแต่งกายในงานแฟชั่นที่ต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสาธารณรัฐออสเตรีย ต่อยอดกับเทคโนโลยี เกิดเป็นนวัตกรรมเส้นใยผ้า ส่งผลให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ อาทิ กำจัดและปกป้องกลิ่นกาย ป้องกันรังสียูวี เนื้อผ้าไม่ยับง่าย ดูแลรักษาง่าย และสวมใส่สบาย มีรายได้ทั้งจากงานหัตถกรรมและนำไปสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ้ามิติผ้าไทย

นอกจากนี้ ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษา เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสร้างความมั่นคงผ่านแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภายในชุมชน/กลุ่มที่ทอผ้า/ผู้ประกอบการ ทั้ง 14 ชุมชน ได้แก่

  • ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จุฑาทิพ จังหวัดขอนแก่น
  • ผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข จังหวัดขอนแก่น
  • ไหมแต้มหมี่ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย จังหวัดขอนแก่น
  • ผ้าขาวม้า อิมปานิ จังหวัดราชบุรี
  • ผ้าฝ้ายทอมือ คอตตอนฟาร์ม จังหวัดเชียงใหม่
  • เรือนไหมใบหม่อน จังหวัดสุรินทร์
  • บาติกเดอนารา จังหวัดปัตตานี
  • ชาคราฟท์ จังหวัดแพร่
  • ผ้าซาโลมา ปาเต๊ะ จังหวัดนราธิวาส
  • ไฑบาติก จังหวัดกระบี่
  • ร้านฝ้ายเข็น จังหวัดอุบลราชธานี
  • บ้านหนองอีบุตร จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ฉัตรทองไหมไทย จังหวัดนครราชสีมา
  • ฅญา บาติก นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

โดยทั้ง 14 ชุมชนสามารถดำเนินการทอผ้าและสร้างสรรค์ผ้าไทยให้มีความแปลกใหม่ไปตามกระแสของวงการแฟชั่นที่ไม่เคยหยุดนิ่ง รวมไปถึงยังเป็นการสืบสานและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณี นำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านมิติผ้าไทย ซึ่งเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจบนรากฐานของวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนให้อยู่คู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน

ผลงานการออกแบบ

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล

'แฟชั่นผ้าไทย' จากองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่ความเป็นสากล