posttoday

โค้ดดิ้ง (Coding) ภาษาใหม่ของเด็กยุคดิจิทัล

09 ตุลาคม 2562

เด็กๆ ในปัจจุบันเติบโตขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรที่ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่รอบตัวตอบสนองความต้องการของเราได้

เด็กๆ ในปัจจุบันเติบโตขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรที่ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่รอบตัวตอบสนองความต้องการของเราได้ คำตอบก็คือ การเขียนโปรแกรมหรือที่เรียกกันว่าโค้ดดิ้ง (Coding) นั่นเอง

ทุกวันนี้การเขียนโปรแกรม หรือที่เรียกกันว่า "โค้ดดิ้ง (Coding)" ถือเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่รู้ว่าโค้ดดิ้งคืออะไร และสำคัญกับเด็กๆ อย่างไร แต่งานเสวนาหัวข้อ “โค้ดดิ้งภาษาใหม่ที่เด็กทั้งโลกต้องตามให้ทัน การูด้า ลา ฟลอร่า หนังสือการ์ตูนความรู้ที่จะทำให้เด็กไทยรู้จักโค้ดดิ้งมากขึ้น” จากงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 24 (Book Expo Thailand 2019) ยกขบวนไปอิมแพ็ค ได้ขยายความให้เราเข้าใจมากขึ้น

โค้ดดิ้ง (Coding) ภาษาใหม่ของเด็กยุคดิจิทัล

วัชราภรณ์ ดอนแสง General Manager บริษัท โค้ดคิดส์ จำกัด เล่าว่า “ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมและก้าวตามให้ทัน เมื่อทุกสิ่งรอบตัวเราต่างเป็นเทคโนโลยีที่ถูกเขียนโปรแกรมขึ้นมาได้ ซึ่งโค้ดดิ้ง (Coding) คือหนึ่งในการเขียนชุดคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้โปรแกรมทำตามคำสั่งซึ่งหรือการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำตามที่เราต้องการด้วยการใช้ภาษาของคอมพิวเตอร์นั่นเอง โดยเด็กๆ สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป จะเริ่มด้วยการให้ฝึกคิดให้เป็นระบบช่วยให้เด็กคิดทุกเรื่องอย่างเป็นเหตุเป็นผลส่งผลให้เกิดทักษะการแก้ปัญหา นำปัญหามาแยกย่อยเป็นส่วนๆ รู้จักจัดลำดับความสำคัญเพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขในแต่ละส่วน อีกทั้งในแต่ละขั้นตอนของการเขียนโค้ดดิ้งจะได้เรียนรู้ระบบการวางแผน เมื่อฝึกฝนไปสักพักก็จะทำให้เข้าใจหลักการและจับประเด็นได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปต่อยอดได้ในทุกสาขาอาชีพไม่จำเป็นว่าเด็กๆ ที่เรียนจะต้องเป็นโปรแกรมเมอร์เพียงอย่างเดียว”

โค้ดดิ้ง (Coding) ภาษาใหม่ของเด็กยุคดิจิทัล

ด้าน ภาสกร กฤษสมัย Content Manager บริษัท อี.คิว.พลัส กรุ๊ป จำกัด เล่าว่า “โค้ดดิ้ง (Coding) ถือเป็นหนึ่งใน “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21stCentury Skill)” เป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับทั้งตัวผู้ปกครองและเด็กๆ เอง โดยสำนักพิมพ์ อี.คิว.พลัสต้องการที่จะสื่อสารและสร้างความเข้าใจในเรื่องโค้ดดิ้งผ่านการ์ตูนความรู้ สำหรับผู้ปกครองก็จะเป็นหนังสือเรื่อง “เตรียมลูกรักให้พร้อมรับ Coding” ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ "การเรียนเขียนโปรแกรม" หรือ "Coding" ว่ามีความจำเป็นและสำคัญต่อเด็กๆ ในปัจจุบันนี้และอนาคตอย่างไร ส่วนเยาวชนยังเพลินเพลินไปกับหนังสือการ์ตูนซีรีส์เสริมความรู้ในวิชาโค้ดดิ้ง อย่าง “โรงเรียนโรบอทถอดรหัสอัจฉริยะ การูด้า ปะทะ ยัยทิวาจอมป่วน” และ “7 ขั้นสุดง่ายสร้างเกมด้วย Scratch ตอน แผนพิชิตพลาสติกกลางทะเล”

จากการเสวนาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า “โค้ดดิ้ง (Coding)” เป็นอีกความรู้หนึ่งที่ไม่ใช่แค่การเรียนไปเพื่อจบมาเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่เป็นความรู้ทางกระบวนการคิดในแบบคอมพิวเตอร์ที่ได้ฝึกฝนระหว่างการโค้ดดิ้ง ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญและสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันได้

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาดีๆ อีกมากมาย อาทิ “การสร้างวิธีคิดและพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย” โดย ศศิประภา สุนทรพิธ ในวันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00 – 15.00 น. และ “ผจญภัยในโลกแฟนตาซีกับ a place called perfect และ nevermoor” โดย อลิสา สันตสมบัติ และ ทศพล ศรีพุ่ม ในวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2562 เวลา 14.00 – 15.00 น. พร้อมเดินช้อปหนังสือแวะชิมกาแฟกันได้ที่ “มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 24” ยกขบวนไปอิมแพ็ค (Book Expo Thailand 2019) หนังสือดีมีชีวิต – Bring Content to Life จนถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2562 เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ติดตามรายละเอียดได้ทาง Facebook Fanpage: Book Thai