posttoday

การฝึกโยคะลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

23 กันยายน 2560

การฝึกโยคะช่วยพัฒนาทั้งความจำและส่งผลดีอย่างไร สำหรับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s)

โดย ภัชภิชา แก้วสุวรรณสุข (ครูเจี๊ยบ) ผู้ก่อตั้ง Japayatri Yoga Style โยคะสุตรา สตูดิโอ www.YogaSutraThai.com 

การฝึกโยคะช่วยพัฒนาทั้งความจำและส่งผลดีอย่างไร สำหรับคนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s)

การฝึกโยคะลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

มีงานวิจัยจากต่างประเทศหลายตัว ที่ชี้ให้เห็นว่าการฝึกโยคะในแนวกุณฑาลิณี และภักติโยคะ เช่น เคอตันกริยา (Kirtan Kriya) การเปล่งมนตรา การสวดมนต์และฝึกสมาธิ ให้ผลที่ดี ในเชิงลึกมากกว่า การฝึกกระตุ้นสมองโดยเล่นเกมครอสเวิร์ด หรือเกมกระตุ้นความจำจากคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างงานวิจัยจากกลุ่มนักประสาทวิทยา ของ UCLA ได้นำผู้เข้าร่วมทั้งหมด 25 คน ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี ขึ้นไปที่มีปัญหาด้านความจำ ไม่ว่าจะเป็นลืมชื่อ ลืมที่อยู่บ้าน ชื่อถนน ลืมการนัดหมาย เข้าร่วมการทดลองโดยได้สแกนสมองและทดสอบความจำ ทั้งก่อนและหลังการทดลอง โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม

การฝึกโยคะลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

ในกลุ่มแรก มีจำนวน 11 คน ให้ใช้วิธีการกระตุ้นความจำด้วยการเล่นเกมและเทคนิคกระตุ้นความจำทั่วไปทุกวันเป็นเวลา 20 นาที และร่วมคลาสพิเศษอีก 1 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงให้ใช้วิธีการเพิ่มพูนความจำ

ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งมีทั้งหมด 14 คน เข้าร่วมฝึกโยคะแบบกุณฑาลิณี เป็นเวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ และฝึก เคอตันการเปล่งมนตราด้วยตัวเอง เป็นเวลา 20 นาทีที่บ้านทุกวัน (เป็นการใช้เทคนิคพลังแห่งเสียง โดยเปล่ง Saa Taa Naa Maa (ซ้า ทา หน่า มา) ให้เสียงวิ่งในลักษณะเหมือน ตัว แอล L เชพ คือเสียงวิ่งผ่านด้านบนของศีรษะและพุ่งออกที่จุดดวงตาที่ 3 จุดกึ่งกลางระหว่างคิ้ว พร้อมกับทำมือมุทรา เปลี่ยนให้ตรงกับมนตราขณะฝึก)

หลังจาก 12 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มให้ผลดีในเรื่องกระตุ้นความจำ แต่สำหรับกลุ่มที่ฝึกโยคะ ให้ผลที่มากกว่า ทั้งในเรื่องของความจำ การลดความกังวล ลดอาการซึมเศร้า 

การฝึกโยคะลดเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้ก็ตาม แต่การป้องกันและพัฒนาทั้งด้านความจำ อารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยย่อมสำคัญที่สุด ผู้ที่เป็นโรคหลงๆ ลืมๆ มักมีความกังวลใจ และมีความซึมเศร้าร่วมอยู่ด้วย ดังนั้นการฝึกโยคะ จึงเป็นทางเลือกเพื่อลดอาการของโรค และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและคนในครอบครัวและพวกเขาก็จะไม่รู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไป

พบกับคลาสพิเศษ Kirtan Concert เคอตันคอนเสิร์ต จัดเพียงปีละ 1 ครั้ง เท่านั้นในวันอาทิตย์ที่ 5 พ.ย.นี้ เวลา 14.00-16.00 น. รวมทั้งการเสวนาในหัวข้อพิเศษ “Self Development, Spirituality, Healing” (สำรองที่นั่ง รับจำนวนจำกัด) โทร. 02-636-6758-9

ขอบคุณข้อมูลจาก The Journal of Alzheimer’s Disease